<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้ใช้บิทคอยน์รายใหม่อาจเพิ่มขึ้นมาอีก 2 ล้านคนจากสัญญาณ 92% วัยมิลเลเนียลไม่ไว้ใจธนาคาร

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อต้นปี 2016 นี้ ทางทีมวิจัยของเฟสบุคที่ชื่อว่า Facebook IQ ได้ตีพิมพ์สมุดปกขาวที่ชื่อว่า “Millennials + money: The unfiltered journey” เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อและแนวคิดของวัยรุ่นสมัยนี้เกี่ยวกับการเงินและระบบธนาคาร โดยงานวิจัยของพวกเขาค้นพบว่า 92 เปอร์เซนของกลุ่มมิลเลเนียลนั้นไม่มีความไว้วางใจต่อธนาคาร

โดยทางประชากรณ์ส่วนใหญ่รวมถึงวัยรุ่นยุคมิลเลเนียลเริ่มที่จะรู้ตัวถึงความไม่โปร่งใสในการจัดการการเงินของธนาคารที่ในบ่อยครั้งเอาเงินของประชาชนมาใช้ในทางที่ไม่ควรจะเป็น

เงินสดนั้นกำลัจะกลายเป็นอดีตในอีกไม่ช้านี้ เมื่อธนาคารและสถาบันทางการเงินส่วนใหญ่ในบางประเทศเริ่มกำจัดธนบัตรบางชนิดออกไป รวมถึงการจำกัดวงเงินการใช้จ่ายเงินสดด้วย

ธนาคารไม่เข้าใจพวกเรา

68 เปอร์เซนของกลุ่มมิลเลนเนียลจากงานวิจัยของพวกเขาบอกว่าธนาคารไม่เข้าใจและล้มเหลวในการให้บริการตามความต้องการของพวกเขา ระบบที่ล้าสมัยของธนาคารบางระบบนั้นไม่สามารถใช้การได้อย่างเต็มที่ในยุคปัจจุบัน

นอกจากนั้นทีม Facebook IQ ยังเผยให้เห็นอีกว่า 45 เปอร์เซนของกลุ่มมิลเลเนียลเต็มใจที่จะเปลี่ยนไปใช้ตัวเลือกอื่นที่ดีกว่า หากตัวเลือกนั้นตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาทางด้านความสะดวก และความยืดหยุ่น

ทางทีมวิจัยบอกว่า

“ตอนแรก พวกเด็กยุคมิลเลเนียลอยากให้เราเข้าใจพวกเขา และเราก็คิดว่ามันสำคัญที่จะทำเช่นนั้นเพราะเด็กๆกลุ่มนี้มีแนวโน้มถึง 1.4 เท่ามากกว่าคนเจ็นเอ๊กซ์และเบบี้บูมเมอร์ที่จะเปลี่ยนวิถีการใช้จ่าย โดย 45% ของพวกเขานั้นบอกว่าเขาเต็มใจที่จะเปลี่ยนธนาคาร, บัตรเครดิต, หรือบัญชีโบรคเกอร์ถ้าหากมีตัวเลือกใหม่ที่ดีกว่าเข้ามา”

ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเพื่อฝากเงิน

มีหลายๆธนาคารในทวีปเอเชีย, ยุโรป และอเมริกาที่มีการปรับดอกเบี้ยเงินฝากให้เป็นติดลบ โดยบังคับให้ผู้ฝากเงินต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการฝากเงินให้ธนาคารถึงแม้ว่าธนาคารนั้นจะได้ประโยชน์จากการที่มีคนนำเงินมาฝากอยู่แล้ว

ทาง Facebook IQ ได้ค้นพบว่าวัยรุ่นกลุ่มมิลเลเนียลได้เลือกที่จะเปลี่ยนวิธีการเก็บออมเงินโดยไม่พึ่งพาธนาคาร หรือสิ่งที่ทางทีมวิจัยเรียกมันว่า “อนาคตแห่งระบบการเงิน” โดยมีกลุ่มคนมากมายที่เลือกที่จะใช้บริการจากบริษัทประเภทฟินเทคเพราะพวกเขาเชื่อว่ามันสะดวก ปลอดภัยและโปร่งใส

ในงานวิจัยบอกว่า

“เด็กกลุ่มมิลเลเนียลรู้สึกว่าตัวเองถูกตัดออกมาจากระบบของอุตสาหกรรมการเงิน มีสถาบันทางการเงินเป็นจำนวนมากที่ตอนนี้ยังไม่รู้ตัวว่าวิธีการทำการตลาดกับเด็กกลุ่มนี้ของพวกเขาต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ โดยเปลี่ยนจากการแข่งขันกับคู่แข่งมาเป็นการทำความเข้าใจกับลูกค้าของพวกเขา”

เครดิตการ์ดเริ่มไม่มีประโยชน์

เฟสบุคมีระบบที่ชาญฉลาดและสะดวกมากในการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ข้อมูลที่พวกเขามีอยู่ในมือนั้น ทาง Facebook IQ ได้เลือกกลุ่มทดลองอายุ 21-34 ในสหรัฐอเมริกาและเด็กยุคมิลเลเนียลที่มีรายได้มากกว่า 75,000 ดอลลาร์ต่อปีเพื่อนำแนวคิดของพวกเขาเกี่ยวกับธนาคารและการเงินมาเปรียบเทียบกับคนยุคเบบี้บูมเมอร์ (อายุ 35-65 ปี)

ซึ่งทีมงาน Facebook IQ ได้ทำการใช้ข้อมูลบางส่วนโดยคิดเป็น 70 ล้านคนในวัยทำงาน และอีก 2 ล้านคนในยุคมิลเลนเนียลที่มีรายได้สูง

โดยสาเหตุที่ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินในบางประเทศเริ่มขจัดธนบัตรบางชนิดออก รวมถึงการจำกัดวงเงินในการใช้เงินสดนั้น อาจเป็นเพราะต้องการที่จะเอาใจเด็กยุคมิลเลนเนียลที่กำลังจะเติบโตมาเป็นอนาคตของชาติก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม ทางงานวิจัยของ Facebook IQ ได้แสดงให้เห็นว่ายังมีอีก 30 เปอร์เซนของกลุ่มมิลเลเนียลที่ไม่เข้าใจถึงประโยชน์ของบัตรเครดิตหรือเดบิต และมีมากกว่า 57 เปอร์เซนที่ยังเลือกที่จะใช้เงินในการใช้จ่ายประจำวัน และที่สำคัญที่สุดคือ 46 เปอร์เซนของเด็กยุคมิลเลเนียลเชื่อว่าบัตรเครดิตนั้นมีไว้ใช้เพื่อสร้างเครดิตของพวกเขาเท่านั้น และยังบอกอีกด้วยว่าการใช้บัตรเครดิตนั้นไม่ค่อยสะดวกเท่าไรนัก

ทางออกคือบิทคอยน์

ทางผู้เขียนเชื่อว่าตอนนี้บิทคอยน์และกระเป๋าบิทคอยน์คือทางออกของเด็กยุคมิลเลนเนียลหรือเด็กนักเรียนทั่วโลก เพราะสะดวกและปลอดภัย เพราะมีสภาพคล่องทีสูงกว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่สเถียรกว่า และที่สำคัญคืออิสรภาพในการใช้จ่ายที่ไม่ต้องกลัวว่าทางธนาคารหรือรัฐบาลจะเข้ามายุ่ง

เมื่อถึงเวลาที่เด็กยุคมิลเลเนียลนับล้านเริ่มเปลี่ยนไปใช้ระบบการเงินที่ใช้ blockchain เช่นบิทคอยน์แล้ว เด็กยุคหลังๆก็จะตามมาใช้เอง

รวมถึงการที่มีเหตุการณ์ทางด้านความล้เหลวทางการเงินที่ทางผู้ใหญ่ได้ก่อไว้ให้เด็กๆได้เห็น จะเป็นแรงผลักดันให้พวกเขานับล้านคนเปลี่ยนไปใช้ตัวเลือกที่ดีกว่าอย่างบิทคอยน์หรือ cryptocurrency ตัวอื่นๆอย่างไม่ลังเล

ภาพจาก i-grafix

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น