<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Bitcoin และเครือข่ายแบบกระจายคืออนาคตของโลก กล่าวโดยศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

นาย Lorenzo Fioramonti หรือศาสตราจารย์คณะเศรษฐกิจการเมืองแห่งมหาวิทยาลัย Pretoria (ในประเทศแอฟริกาใต้) หรือผู้ที่เป็นเสมือนหัวเรือของ Centre for the Study of Governance Innovation ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับระบบการคลังที่กำลังอยู่ในช่วงที่กำลังเปลี่ยนจาก “การรวมจุดศูนย์กลางอำนาจของรัฐบาลไปเป็นเครือข่ายการกระจาย”

เหรียญคริปโตได้แสดงให้เห็นถึงพลังของเครือข่ายแบบกระจายมาแล้ว โดยอ้างอิงจากนาย Lorenzo นั้น ปัจจุบันมีความต้องการในตัวของเหรียญคริปโตมากกว่าปีที่ผ่านๆมา โดยเขาได้ยกตัวอย่างของการปรับตัวใช้เหรียญคริปโตในบางประเทศ เช่นประเทศญี่ปุ่นที่ทำให้ Bitcoin ถูกกฏหมายเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา รวมถึงรัฐบาลรัสเซียที่ดูเหมือนจะวางตัวไม่ถูกกับเหรียญคริปโตเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็เปลี่ยนท่าทีแบบหน้ามือเป็นหลังมือ หรือแม้แต่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินเองก็ยังได้พูดคุยกับผู้ให้กำเนิด Ethereumอย่าง Vitalik Buterin รวมไปถึงร้านอาหารฟาสต์ฟูดชื่อดังอย่าง Burger King ที่เตรียมรับ Bitcoin เป็นอีกหนึ่งช่องทางการจ่ายเงินในหน้าร้อนที่ใกล้จะถึงนี้ นอกจากนี้ยังมีการประกาศหยุดให้บริการถอนของเว็บเทรดในประเทศจีนและกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหนึ่ง และในประเทศสหรัฐฯและออสเตรเลียที่สกุลเงินดิจิตอลนั้นกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และมากไปกว่านั้น ออสเตรเลียเตรียมที่จะยกเลิกภาษีของนักลงทุนอีกด้วย

ศาสตราจารย์ได้กล่าวว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ เหรียญคริปโตจะ “กลายเป็นช่องทางการชำระเงินที่ปกติและธรรมดามากขึ้น ทั้งออนไลน์และตามห้างร้านสะดวกซื้อ”​ โดยจะไม่มีแต่เพียงในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ยังรวมไปถึงประเทศที่กำลังพัฒนาก็กำลังหาทางที่จะศึกษาและใช้งานเหรียญคริปโตเช่นกัน เขียนโดยนาย Lorenzo

ในประเทศเวเนซุเอล่าหรือประเทศที่กำลังเจอกับวิกฤติทางเศรษฐกิจนั้น Bitcoin ได้กลายเป็น “สกุลเงินคู่ขนาน” กล่าวโดยศาสตราจารย์ ในขณะที่สกุลเงินหลักของประเทศที่ ณ ตอนนี้แทบจะไม่มีค่าแล้ว Bitcoin นั้นสามารถที่จะใช้ซื้อได้ทั้งอาหารรวมไปถึงสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นต่างๆและสินค้าจากต่างประเทศ

นักพัฒนาในแอฟริกากลางได้พัฒนาระบบที่ใช้จ่ายด้วยเหรียญคริปโตสำหรับทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น BitPesa โดยอ้างอิงจากศาสตราจารย์นั้น ความนิยมของเหรียญคริปโตในแอริกาใต้นั้นก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ตั้งแต่รัฐบาลไนจีเรียล้มเหลวในการบริหารการเงินนั้น ประชาชนนักเทรดส่วนใหญ่ก็เชื่อว่าเงินดิจิตอลนั้นจะมาพลิกโฉมเศรษฐกิจ นาย Varengai Mabika หรือผู้ก่อตั้ง BitFinance ในประเทศซิมบับเวได้กล่าวว่า Bitcoin นั้นถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการจ่ายเงินที่น่าหลงไหล ที่ “เป็นส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจ” นาย Verengai บอกกับศาสตราจารย์ Lorenzo ว่า 37 เปอร์เซนของลูกค้าใน BitFinance ใช้เหรียญคริปโตเพื่อการเก็บออมมาตั้งแต่ปี 2008 โดยเหตุการณ์เงินเฟ้ออย่างรุนแรงได้ส่งผลให้สถาบันการเงินหลายสถาบันในประเทศซิมบับเวต้องล้มละลาย

ศาสตราจารย์ยังได้กล่าวว่าการกระจายนั้นคือ “แก่นแท้ของเทรนด์ตัวใหม่นี้” โดยอ้างอีกจาก Lorenzo การใช้เหรียญคริปโตนั้น “จะทำให้เศรษฐกิจมีความทนทานต่อวิกฤติ และจะช่วยรองรับการพัฒนาทให้มีความเท่าเทียมกันด้วยการทำให้ผู้ใช้ได้กลายเป็นผู้ขับเคลื่อนเสียเองและเสริมสร้างการพัฒนาจากเศรษฐกิจในชุมชน”

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น