<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

5 วิธีที่ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งมาก ๆ จะทำลายเศรษฐกิจโลก

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักของโลกในปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดแตะระดับที่ไม่เคยเห็นในรอบ 20 ปี โดยเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์อังกฤษ เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับยูโร และเพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่น

ดอลลาร์เป็นสกุลเงินสำรองของโลก ซึ่งหมายความว่าใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศส่วนใหญ่ เป็นผลให้การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของมันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกทั้งหมด ดังนั้น 5 วิธีต่อไปนี้ จะเป็นวิธีที่ค่าเงินดอลลาร์จะทำลายเศรษฐกิจ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า 1977-2022

กราฟนี้แสดงความแข็งแกร่งของค่าเงินดอลลาร์ตั้งแต่ปี 1980 ดัชนีดอลลาร์สหรัฐหรือ DXY คือ ดอลลาร์สหรัฐที่วัดเทียบกับ basket of world currencies

1. เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

น้ำมันเบนซินและสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ เช่น โลหะหรือไม้ซุง มักจะซื้อขายในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นเมื่อเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น สินค้าเหล่านี้จะมีราคาสูงขึ้นในสกุลเงินท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ในสกุลเงินปอนด์ของอังกฤษ น้ำมันมูลค่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะแพงขึ้นในปีที่ผ่านมาจาก 72 ปอนด์กลายเป็น 84 ปอนด์ และเนื่องจากราคาน้ำมันต่อลิตรในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันตอนนี้เพิ่มเกือบสองเท่า

เมื่อพลังงานและวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ราคาสินค้าอื่น ๆ ก็เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ยกเว้นแค่ในสหรัฐที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำให้การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาถูกลง ดังนั้นจึงสามารถช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐได้

2. ประเทศที่มีรายได้ต่ำจะอยู่ภายใต้การคุกคาม

ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ติดหนี้เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งปีนี้มีหนี้ค้างชำระเป็นจำนวนที่มากกว่าปีที่ผ่านมา เป็นผลให้หลายคนต้องดิ้นรนเพื่อหาจำนวนสกุลเงินท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อชำระหนี้ของพวกเขา

เราเคยเห็นปัญหานี้มาแล้วในประเทศศรีลังกา และประเทศอื่นๆ อาจตามมาในไม่ช้า พวกเขาจะต้องเก็บภาษีจากเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้อาจจะเกิดภาวะถดถอย, ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง, วิกฤตหนี้สาธารณะ หรือทั้งสามอย่างรวมกัน ขึ้นอยู่กับเส้นทางที่เลือก ประเทศกำลังพัฒนาที่ตกอยู่ในวิกฤตหนี้สาธารณะอาจจะต้องใช้เวลาหลายปีหรือหลายสิบปีกว่าจะฟื้นตัว ซึ่งจะทำให้เกิดความลำบากอย่างร้ายแรงต่อประชาชน

3. สหรัฐฯ ขาดดุลทางการค้ามากขึ้น

ประเทศอื่น ๆ จะซื้อสินค้าสหรัฐน้อยลงอันเป็นผลมาจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า ปัญหาการขาดดุลทางการค้าของสหรัฐฯ ทำให้ส่วนต่างระหว่างปริมาณการส่งออกและนำเข้าพุ่งเกือบถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ก่อนหน้านี้ทางประธานาธิบดี Joe Biden และ Donald Trump ให้คำมั่นว่าจะลดระดับความต่างดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจีน นักเศรษฐศาสตร์บางคนกังวลว่าการขาดดุลทางการค้าจะผลักดันการกู้ยืมของสหรัฐฯ และสะท้อนถึงความจริงที่ว่าสายการผลิตส่วนมากได้ย้ายไปต่างประเทศ

การขาดดุลทางการค้าของสหรัฐฯ ในรูปแบบ %GDP

source : tradingeconomic

4.De-globalisation ทำให้ทุกอย่างแย่ลง

นโยบายทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนที่สุดในการป้องกันการขาดดุลทางการค้าจากการเติบโต คือ นโยบายการจัดการกับการเก็บภาษี โควตา หรืออุปสรรคอื่น ๆ ในการนำเข้า และประเทศอื่น ๆ มีแนวโน้มที่จะตอบโต้การกีดกันดังกล่าว โดยเพิ่มภาษีของตนเองและอุปสรรคอื่น ๆ ต่อผลิตภัณฑ์ของสหรัฐฯ ในยุคที่ De-globalisation ได้เริ่มขึ้นแล้วเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกกับรัสเซียและจีนแย่ลง ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และเพิ่มแรงกระตุ้นทางการเมืองที่จะปกป้องและคุกคามระบบการค้าโลก

5.ความกลัวของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป หรือ Eurozone

ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่อ่อนแอ เช่น โปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีซ และไซปรัส มีความเสี่ยงน้อยกว่าประเทศสมาชิกที่แข็งแกร่ง เนื่องจากหนี้ของประเทศส่วนใหญ่อยู่ในมือของ European Stability Mechanism (ESM) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือพวกเขา และธนาคารเพื่อการลงทุนใน Eurozone ก็ช่วยเหลือเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นกำลังสร้างแรงกดดันให้ธนาคารกลางยุโรปขึ้นอัตราดอกเบี้ยของตนเองเพื่อหนุนค่าเงินยูโรและลดต้นทุนการนำเข้าและทั้งพลังงาน ซึ่งจะกดดันประเทศในกลุ่ม Eurozone ที่มีหนี้ที่สูงมาก ตัวอย่างเช่น อิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของโลก และรัฐบาลมีหนี้อยู่ที่ 150% ของ GDP ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะรอดไปได้หากสถานการณ์ไม่สามารถควบคุมได้

เมื่อนำ 5 ข้อนี้มารวมกัน ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่ามากในช่วงนี้ถึงทำให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอย อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้เข้าไปเบียดรายได้ของผู้บริโภค และการกีดกันทางการค้าสามารถลดการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้ และวิกฤตหนี้สาธารณะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงสำหรับประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่ง และอาจรวมถึง Eurozone ด้วย

ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งขึ้นเรื่อย ๆ หรือไม่?

ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์การเมือง ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังและได้ย้อนกลับนโยบายการสร้างเงินผ่านมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE ทั้งนี้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากปัญหาอุปทานของ Covid-19, สงครามในยูเครน และมาตรการการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ Quantitative Easing

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเป็นผลข้างเคียงของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากตอนนี้เงินดอลลาร์ให้ผลตอบแทนสูงเมื่อฝากในธนาคารของสหรัฐฯ มันจึงเป็นการสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติขายสกุลเงินท้องถิ่นของตนเพื่อมาซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นก็เพราะว่ามันเป็นที่หลบภัยแบบคลาสสิกเมื่อโลกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบันน่าจะทำให้นักลงทุนหันมามองเงินดอลลาร์มากขึ้น แต่ค่าเงินยูโรกำลังได้รับความเดือดร้อนจากความใกล้ชิดของสหภาพยุโรปกับสงครามในยูเครน เนื่องทางยุโรปรับพลังงานส่วนใหญ่มาจากรัสเซีย

เงินปอนด์อังกฤษได้รับผลกระทบจาก Brexit และกำลังเผชิญกับการลงประชามติของสกอตแลนด์ครั้งที่สอง และผลกระทบจากสงครามการค้าที่อาจเกิดขึ้นกับสหภาพยุโรปเหนือและไอร์แลนด์เหนือ และในที่สุด เงินเยนก็เรื่อยที่จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจอย่างช้า ๆ ญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่วัยชราและยังไม่ค่อยโอเคกับการย้ายถิ่นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต เงินเยนที่อ่อนค่าลงยังเป็นราคาที่ญี่ปุ่นต้องจ่ายสำหรับการทำ QE อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อหนี้ของรัฐบาล

เป็นการยากที่จะคาดการณ์ทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐฯในอนาคต เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลกระทบกับมัน แต่เมื่อเรามองไปที่อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อมาสู้กับมัน และเมื่อรวมกับผลกระทบทางการเมืองจากสงครามและการผิดนัดชำระหนี้ ก็อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์สูงขึ้นได้ และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าเป็นการบอกว่าตอนนี้เศรษฐกิจโลกกำลังมีปัญหา

บทความนี้เผยแพร่จาก The Conversation โดยสามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่
Source : cryptonews