<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผลสำรวจใหม่เผยนักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่า ราคาของ Bitcoin จะลดลงอีกครึ่งหนึ่งสู่ระดับ $10,000

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การสำรวจใหม่ที่จัดทำโดย Bloomberg พบว่า 60% ของนักลงทุนที่ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่คาดว่า มูลค่าของเหรียญ cryptocurrency เบอร์หนึ่งจะลดลงอีกครั้งและจะลดลงอีกครึ่งหนึ่งเหลือเพียงแค่ 10,000 ดอลลาร์ ในขณะที่อีก 40% ที่เหลือเชื่อว่าราคา Bitcoin จะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 30,000 ดอลลาร์อีกครั้ง

นอกจากนี้ในส่วนของข้อมูลอื่น ๆ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า นักลงทุนรายย่อยมีความวิตกเกี่ยวกับ cryptocurrency มากกว่านักลงทุนสถาบัน โดยเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบสำรวจประกาศว่าสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นประเภท ‘ขยะ’ ในขณะที่นักลงทุนมืออาชีพเปิดใจให้กับสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น

โดยรวมแล้ว ผลลัพธ์การสำรวจยังคงถูกแบ่งเป็นออกเป็น 2 ฝั่ง ในขณะที่ 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามโดยรวมแสดงความมั่นใจอย่างยิ่งว่า cryptocurrency เป็นอนาคตของการเงิน ส่วนอีก 20% กล่าวว่า cryptocurrency เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีค่า

Jared Madfes หุ้นส่วนของ Tribe Capital บริษัทร่วมทุนกล่าวว่า “มันง่ายมากที่จะกลัวการลงทุนในช่วงเวลานี้ ไม่ใช่แค่เพียงแต่ในคริปโตเท่านั้น แต่รวมถึงตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วโลก” เขากล่าวว่าความเชื่อมั่นว่ามูลค่าของ Bitcoin ที่จะลดลงอีกครั้งนั้นสะท้อนให้เห็นถึง “ความกลัวโดยธรรมชาติของนักลงทุนในตลาด”

การล่มสลายครั้งใหญ่ของตลาด crypto มีแนวโน้มที่จะกดดันให้รัฐบาลฃเพิ่มกฎระเบียบที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้นให้กับอุตสาหกรรมคริปโต โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มองว่า การกำกับดูแลดังกล่าวเป็นไปในเชิงบวก เนื่องจากสิ่งนี้อาจเพิ่มความเชื่อมั่นและนำไปสู่การยอมรับในวงกว้างมากขึ้นระหว่างนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย

การแทรกแซงของรัฐบาลนั้นอาจจะได้รับแรงกระตุ้นมาจากความล้มเหลวของโปรเจกต์เหรียญ Stablecoin TerraUSD และแพลตฟอร์มให้กู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหญ่อย่างเช่น Celsius Network และ Voyager Digital Ltd.

แต่ถึงอย่างนั้นราคาที่ลดลงเมื่อเร็ว ๆ นี้ หรือความท้าทายในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากธนาคารกลาง ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้อุตสาหกรรมนี้พังทลายลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า Bitcoin หรือ Ethereum จะยังคงเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้กับอุตสาหกรรมในอีก 5 ปีข้างหน้า แม้ว่าอนาคตสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางจะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญก็ตาม

ที่มา finance.yahoo