<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Zipmex ชี้แจงความคืบหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดของบริษัทฯ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

สืบเนื่องจากสถานการณ์ของบริษัท ซิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) จํากัด (“บริษัทฯ”) ที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางบริษัทฯ ขอชี้แจง ข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความกระจ่างให้แก่ลูกค้า นักลงทุน ประชาชน สื่อมวลชน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของ ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนบนสื่อโซเชียลมีเดีย ตลอดจนเพื่อแสดงความโปร่งใสอย่างตรงไปตรงมา ในการเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น

โดย ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง Zipmex Thailand กล่าวว่า “ผมต้องขอขอบพระคุณลูกค้า ทุกท่าน สื่อมวลชน และทุกคนที่สนับสนุนชิปเม็กซ์มาโดยตลอด ในวันนี้ ผมต้องการชี้แจงข้อมูลเพื่อสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยผมขอยืนยันว่า ชิปเม็กซ์มีความตั้งใจอย่างสุดซึ้ง ที่จะเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆ ผมยึดถือคําพูดของผมเสมอ ว่า สินทรัพย์ของลูกค้าคือสิ่งสําคัญที่สุด ดังนั้น วันนี้ผมจึงขอชี้แจงข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ด้วยความโปร่งใสเท่าที่ผมจะสามารถ เปิดเผยได้ โดยไม่ให้กระทบต่อข้อกฎหมาย หรือกระบวนการทางกฎหมายที่กําลังเกิดขึ้น และภายในระยะเวลาเกือบ 2 สัปดาห์ที่ ผ่านมา ทางบริษัทฯ มีการจัดตั้งศูนย์บริการลูกค้าพิเศษ (Hotline) ขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า รวมไปถึงบริษัทฯ จะยังมี การทยอยเปิดให้บริการ Z Wallet โดยจะเป็นการเครดิตไปที่ Trade Wallet เริ่มจาก 5 เหรียญ ได้แก่ ADA, SOL, XRP, BTC และ ETH ภายใน 2 สัปดาห์นี้

ทั้งนี้ เพื่อไขข้อความสงสัย ทางบริษัทฯ ขอชี้แจงเป็นประเด็น ดังต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1: ที่มาของปัญหา และรายละเอียดของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

สืบเนื่องจากที่ทางบริษัทฯ มีการ “ฝากเงิน” ไว้กับบริษัทฯ ที่เป็นคู่ค้าทางธุรกิจ ได้แก่บริษัท เซลเซียส เน็ตเวิร์ก (Celsius Network) (“บริษัท Celsius” หรือ “Celsius”) ซึ่งจากสถานการณ์ความผันผวนของตลาดคริปโตฯ ในปีนี้ ทางบริษัท ได้รับทราบข้อมูล ว่า Celsius เผชิญหน้ากับปัญหาสภาพคล่อง ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา และมีการประกาศล้มละลายในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ในทันที่ที่เกิดสถานการณ์นี้ขึ้น คณะกรรมการด้านความเสี่ยง และคณะผู้บริหารของซิปเม็กซ์ได้มีการหารือ ร่วมกันทันที โดยทางบริษัทฯ พบว่า ณ วันที่ Celsius ประกาศล้มละลาย ทางบริษัทฯ มีเงินฝากคงค้างอยู่กับ Celsius โดยประมาณ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวกับ Celsius ทางบริษัทฯ จึงรีบตรวจสอบ “เงินฝาก” ที่ทางบริษัทฯ ได้มีการฝากไว้กับคู่ค้า ทางธุรกิจอีกราย ได้แก่ บริษัท บาเบล ไฟแนนซ์ (Babel Finance) (“Babel Finance”) และพบว่า ซิปเม็กซ์มีเงินฝากอยู่กับ Babel Finance อยู่ที่ราว 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในปัจจุบัน Babel Finance ยังคงดําเนินกิจการ และอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างทาง ธุรกิจ โดย Zipmex Asia ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้มีการเจรจาหารือร่วมกับ Babel Finance มาโดยตลอด และพยายามผลักดันให้เกิด ข้อสรุปในด้านต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์เศรษฐกิจมหาภาค และความผันผวนของตลาดคริปโตฯ ที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะ ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ในเช้าวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ซิปเม็กซ์จึงตัดสินใจรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงข้อมูลเรื่อง การฝากคริปโตฯ กับ Babel Finance และ Celsius ให้กับสํานักงาน ก.ล.ต. ทราบ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส และชัดเจน

ในขณะเดียวกัน ด้วยสภาพคล่อง และการดําเนินงานของซิปเม็กซ์ในเวลานั้น ทาง Zipmex Asia ตั้งใจที่จะรับภาระในกรณี ที่เกิดขึ้นจาก Celsius และยังคงมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการเจรจาร่วมกับ Babel Finance เพื่อที่จะนําสินทรัพย์ที่ฝากไว้ กลับคืน จนกระทั่งบริษัทฯ มั่นใจว่า Babel Financel จะยังไม่สามารถคืนสินทรัพย์ให้กับบริษัทฯ ในเวลาที่กําหนดได้ และอาจส่งผล กระทบต่อการดําเนินธุรกิจของซิปเม็กซ์ บริษัทฯ จึงได้ตัดสินใจแจ้งกับสํานักงาน ก.ล.ต. และมีการหยุดการให้บริการผลิตภัณฑ์ ZipUp+ เป็นการชั่วคราว

ในส่วนของคําถามที่เกิดขึ้น ว่าเหตุใด ซิปเม็กซ์จึงมีการนําเงินไปฝากกับสองบริษัทอย่าง Babel Finance และ Celsius นั้น สืบเนื่องมาจาก ทางบริษัทฯ มีการไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน และมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของคู่ค้าทางธุรกิจทุกรายอย่างละเอียด อีกทั้ง ทั้งสองบริษัทนี้ ยังเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก และมีผลประกอบการที่ดีในช่วงเวลาก่อนหน้าที่จะเกิดปัญหาจากภาวะ เศรษฐกิจมหภาค และความผันผวนในตลาดคริปโตฯ ในส่วนของสินทรัพย์ที่ทางบริษัทฯ นําไปฝากกับ Babel Finance นั้น มีมูลค่า น้อยกว่า 5% จากสินทรัพย์ทั้งหมดของ Babel Finance

ข้อตกลงระหว่าง ซิปเม็กซ์ และบริษัทคู่ค้า ซึ่งเป็นในรูปแบบของ Yield Program ที่มีลักษณะเดียวกันกับ Celsius และ Babel Finance ถือเป็นการให้บริการที่ปกติ ที่เกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมคริปโตฯ ซึ่งซิปเม็กซ์เองมีการคํานึงถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ สามารถเกิดขึ้นได้ โดยทางบริษัทฯ มีการทํา Due Diligence เพื่อบริหารความเสี่ยงก่อนหน้าที่จะมีการทําข้อตกลงใด ๆ ซึ่งจากการ ทํา Due Diligence ในครั้งนั้น มีผลออกมาว่า ทั้งสองบริษัทฯ มีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง โดยทั้งสองบริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจ จากนักลงทุนดังทั่วโลก และมีการระดมทุน ดังนี้

  • Celsius Network 

๐ มีการระดมทุนกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการระดมทุนรอบ Series B เมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา โดยท้ายที่สุดแล้ว ได้รับเงินลงทุนสูงถึง 864 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (จากเบื้องต้นเพียง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

  • Babel Finance 

๐ มีการระดมทุนกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการระดมทุนรอบ Series B เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2565 ทําให้มีมูลค่าสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเด็นที่ 2 : กระบวนการยื่นขอพักชําระหนี้ หรือ Moratorium Relief ของ บริษัท ซิปเม็กซ์ จํากัด (Zipmex) ประเทศ สิงคโปร์

จากที่หลาย ๆ สื่อลงข่าว ว่า ซิปเม็กซ์มีการยื่นล้มละลายต่อศาล ข้อความดังกล่าว เป็นการรายงานข่าวที่คลาดเคลื่อน ไปจากความจริง ทุกบริษัทในเครือของ ซิกเม็กซ์ ไม่มีการขอยืนล้มละลายต่อศาลแต่อย่างใด

โดยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ Moratorium หรือที่เรียกว่า การยื่นขอพักชําระหนี้ ที่ทางกลุ่มบริษัท Zipmex ได้ยื่นขอพักชําระหนี้ ต่อศาลสิงคโปร์ ถือเป็นการปฏิบัติตามคําแนะนําของทนายความที่ปรึกษา เพื่อช่วยลดผลกระทบในระยะสั้น และให้บริษัทฯ สามารถ มีระยะเวลาในการจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการอํานวยความสะดวกในการทํา Due Diligence ของการระดมทุน

ทั้งนี้ การยื่นต่อศาลสิงคโปร์ในครั้งนี้ ไม่ได้มีผลกระทบต่อบริษัท ซิปเม็กซ์ ประเทศไทย หรือประเทศอื่น ๆ แต่อย่าง ใด เพียงแต่ทางบริษัทฯ มีการชี้แจง หรือประกาศในเว็บไซต์ของบริษัทฯ แต่เพียงเท่านั้น เพื่อสร้างความโปร่งใสต่อการดําเนินงาน โดยกระบวนการดังกล่าวจะทําให้ “เจ้าหนี้ ที่เกี่ยวข้อง มีสิทธิยื่นคําแถลงการณ์ภายในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 โดย ซิปเม็กซ์ ประเทศสิงคโปร์ จะเป็นผู้นําส่งเอกสารต่อศาล ภายในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565 และศาลประเทศสิงคโปร์ ได้มีการกําหนดนัด พิจารณาคําขอพักชําระหนี้ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565 นี้

ทางบริษัทฯ ขอแจ้งว่า บริษัทฯ ไม่ได้มีเจตนาที่จะปกปิดข้อเท็จจริงแต่อย่างใด แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตาม กระบวนการของศาล ซึ่งหากมีความคืบหน้าที่ชัดเจน ทางบริษัทฯ จะมีการแจ้งให้ทราบในลําดับถัดไป

ประเด็นที่ 3: การดําเนินการแก้ไขปัญหา

ในขณะที่บริษัทฯ กําลังประสานงานกับ Bable Finance เพื่อให้ได้สินทรัพย์กลับมา แนวทางการแก้ไขปัญหาอีกทางหนึ่ง คือ การที่บริษัทฯ มีการเร่งระดมทุนเพื่อนําเงินเข้ามาหมุนเวียนในบริษัทฯ โดยที่ไม่ต้องรอให้สถานการณ์ของ Babel Finance ดีขึ้น ซึ่งในขณะนี้ ทางบริษัทฯ ได้มีการหารือร่วมกับนักลงทุนหลายราย และได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง หรือ MOU ร่วมกับนักลงทุนที่มี ความสนใจจริง ๆ ทั้งหมด 2 ราย ตามที่ทางบริษัทฯ ได้ออกแถลงการณ์ไปเบื้องต้น ซึ่งในตอนนี้ บริษัทฯ ได้เข้าสู่กระบวนการสอบทาน หรือ Due Diligence ซึ่งคือหนึ่งในขั้นตอนของการลงทุน โดยขั้นตอนดังกล่าว ต้องใช้เวลาในการดําเนินงานระยะหนึ่ง ซึ่งทางบริษัทฯ เองมีการเดินหน้าเร่งกระบวนการดังกล่าวให้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีโดยเร็วที่สุด

ในขณะเดียวกันซิปเม็กซ์ยังได้รับความไว้วางใจจาก ผู้ถือหุ้นปัจจุบัน ที่มีการลงทุนเพิ่มเติมในเหรียญ ZMT สิ่งนี้ตอกย้ำให้ เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่ยังเชื่อมั่นในศักยภาพของเหรียญ ZMT และ Ecosystem ของทางบริษัทฯ ที่ให้บริการอย่างหลากหลาย

นอกจากนี้ ในส่วนของแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ ZMT ยังคงเดินหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อดําเนินการตาม Roadmap ให้ มากที่สุด ตามที่บริษัทฯ ได้แจ้งกับลูกค้าทุกท่านไว้

ประเด็นที่ 4: การชี้แจงข้อมูลจากแถลงการณ์ผ่าน Facebook Live ของสํานักงาน ก.ล.ต.

จากประเด็นบนสื่อโซเชียลมีเดียที่เกิดขึ้นภายหลังจากการไลฟ์แถลงการณ์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ทางบริษัทฯ ขอเรียนให้ ทราบว่า ตั้งแต่ชิปเม็กซ์เปิดกิจการ จนถึงเริ่มให้บริการในประเทศไทย บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามคําแนะนําของสํานักงาน ก.ล.ต. และ หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ อย่างเคร่งครัด ผ่านหน่วยงาน Compliance ของบริษัทฯ ทั้งในแง่ของการประสาน และการขอคําปรึกษาจาก สํานักงาน ก.ล.ต. ในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการออกผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ ZipUp ในอดีต หรือ ZipUps ในปัจจุบัน ซึ่งทาง บริษัทฯ ถือว่า การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นสิ่งสําคัญที่บริษัทฯ ยึดเป็นรากฐานในการดําเนินกิจการมาโดย ตลอด โดยบริษัทฯ มีการประสานงานทั้งในรูปแบบของลายลักษณ์อักษร และทางวาจาอย่างโปร่งใส ขอให้ทุกท่านมั่นใจว่า ซิปเม็กซ์ ให้ความสําคัญสูงสุดต่อการปฏิบัติในกรอบกติกาของกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ประเด็นที่ 5: ความคืบหน้าภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

ภายในระยะเวลาเกือบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะผู้บริหาร รวมถึงทีมงานซิปเม็กซ์ทุกคน ทํางานอย่างหนักหน่วง เพื่อเร่ง แก้ไขปัญหาดังกล่าว ผ่านการเจรจาร่วมกับนักลงทุน การประสานกับหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนการมุ่งหน้าให้บริการลูกค้าอย่างสุด ความสามารถ โดยทางบริษัทฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด และทางบริษัทฯ มีการจัดตั้งศูนย์บริการลูกค้าพิเศษ

(Hotline) ขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า รวมไปถึงบริษัทฯ จะยังมีการทยอยเปิดให้บริการ ZWallet โดยจะเป็นการเครดิต ไปที่ Trade Wallet เริ่มจาก 5 เหรียญ ได้แก่ ADA, SOL, XRP, BTC และ ETH ภายในสองอาทิตย์นี้ โดยลูกค้าทุกท่านสามารถ ติดตามกําหนดการเปิดของแต่ละเหรียญอย่างเป็นทางการได้ผ่านทางเว็บไซต์ และช่องทางอื่น ๆ อย่างเป็นทางการของซิปเม็กซ์

อย่างไรก็ตาม คณะผู้บริหาร และทีมงานซิปเม็กซ์ทุกคน ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัทฯ ทราบดีว่าเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ได้สร้างความลําบากใจให้ลูกค้าเป็นอย่างมาก ทางบริษัทฯ ขอยืนยันว่าจะรีบดําเนินการเปิดให้บริการการใช้งานบน แพลตฟอร์มตามปกติโดยเร็วที่สุด เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และคลายความกังวลให้แก่นักลงทุนทุกราย