<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Celsius ยื่นคำร้องขอขาย Stablecoins ทั้งหมดในงบดุลเพื่อจ่ายเงินคืนให้กับลูกค้า

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Celsius Networks บริษัทสินเชื่อคริปโตตั้งใจที่จะรับสภาพคล่องและสนับสนุนการดำเนินงานด้วยเงินทุนจากการขาย stablecoins ออก ที่ผ่านมาบริษัทได้ระงับการถอนเงินในเดือนมิถุนายนและได้ดำเนินการยื่นล้มละลายตั้งแต่เดือนกรกฎาคม

ปัจจุบัน Celsius ได้ยื่นคำอนุญาตใหม่กับศาลสหรัฐฯ ในเขตทางใต้ของนิวยอร์กโดยต้องการให้ศาลอนุญาตให้ขายการถือครองเหรียญ stablecoins ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถสร้างสภาพคล่องเพื่อช่วย “สนับสนุนการจ่ายคืนเงินแก่เจ้าหนี้” ได้

ทีมกฎหมายของ Celsius ยื่นคำร้องจากสำนักงานกฎหมายเคิร์กแลนด์และเอลลิสเมื่อวันที่ 15 กันยายน การพิจารณาคดีที่ศาลจะยอมรับหรือปฏิเสธจะมีขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคมที่จะถึงนี้

ตามการยื่นฟ้อง Celsius มีการถือครอง stablecoins ไว้มากกว่า 23 ล้านดอลลาร์จากสกุลเงินที่แตกต่างกัน 11 สกุล ซึ่งหากมีการขายออกเหรียญเหล่านี้บริษัทกล่าวว่าจะนำเงินไปใช้สนับสนุนสภาพคล่องสำหรับการดำเนินการจ่ายคืนเงินแก่เจ้าหนี้ปัจจุบันของ Celsius โดยบริษัทได้อ้างถึงมาตรา 363 แห่งประมวลกฎหมายล้มละลาย ซึ่งมีรายละเอียดว่า

“มาตรา 363 แห่งประมวลกฎหมายล้มละลายได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการอนุญาตให้ธุรกิจดำเนินกิจการประจำวันต่อไปโดยปราศจากการกำกับดูแลของศาลหรือเจ้าหนี้มากเกินไป และปกป้องเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันและผู้อื่นจากการสูญเสียทรัพย์สินของอสังหาริมทรัพย์”

Celsius เพิ่งยื่นคำร้องโดยให้คำมั่นว่าจะคืนเงินบางส่วนให้กับลูกค้า อย่างไรก็ตามจะคืนเงินเฉพาะกับบัญชี Custody และ Withold และสำหรับสินทรัพย์การดูแลที่มีมูลค่าไม่เกิน 7,575 ดอลลาร์เท่านั้น

ทั้งนี้การเคลื่อนไหวดังกล่าวดึงดูดนักวิจารณ์จากผู้นำในอุตสาหกรรมคริปโตบางราย เนื่องจากข้อจำกัดดังกล่าวทำให้สามารถปล่อยเงินได้เพียง 50 ล้านดอลลาร์จากมูลค่าที่สูญเสียไปมากกว่า 210 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1 ใน 4 ของหนี้ทั้งหมดเท่านั้น

แรงกดดันต่อ Celsius ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในวันที่ 31 สิงหาคม กลุ่มเฉพาะของผู้ถือบัญชี 64 รายได้ยื่นคำร้องเพื่อเรียกคืนสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งนี้โจทก์ตั้งข้อสังเกตว่า Celsius “ไม่เคารพการถอนตัวจากโปรแกรมใดๆ” รวมถึงบริการดูแลเจ้าหนี้

อย่างไรก็ตามคำร้องเรียนนั้นขัดแย้งกับ “ข้อกำหนดการใช้งานของลูกหนี้” เนื่องจากพวกเขาให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ดูแล “อยู่กับผู้ใช้เสมอ”