<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สหรัฐฯ เตรียมแบน TikTok ต้อนรับการมาของ Web 3.0 ซึ่งอาจนำไปสู่การลุกฮือของเหล่าครีเอเตอร์

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ข้อเสนอล่าสุดโดยสมาชิกของคณะกรรมาธิการการสื่อสารสหพันธรัฐแห่งสหรัฐอเมริกา (FCC) ในการสั่งห้ามผู้ที่มีชื่อเสียงให้ไม่สามารถเข้าถึง TikTok ได้ โดยถ้าหาก FCC ดำเนินการแบนได้สำเร็จ ผู้สร้าง TikTok อาจสูญเสียฐานแฟน ๆ และกระแสรายได้อย่างมหาศาลได้ในชั่วข้ามคืน

ผู้มีชื่อเสี่ยงและผู้ที่ชื่นชอบชีวิตในโลกดิจิทัลหลายคนไม่เต็มใจที่จะยอมรับยุคสมัยของ Web 3.0 ที่กำลังจะมาถึง เนื่องจากพวกเขาประสบความสำเร็จอย่างมากในยุค Web 2.0 และพวกเขาก็เชี่ยวชาญการสร้างรายได้บนแพลตฟอร์ม Web 2.0 ยอดนิยม เช่น TikTok Twitch และอื่น ๆ พวกเขาจึงสงสัยว่าทำไมตนเองถึงจำเป็นต้องเรียนรู้กฎของโลกใบใหม่

การอภิปรายด้านกฎระเบียบในปัจจุบันเกี่ยวกับการจำกัดการเข้าถึง TikTok ในสหรัฐอเมริกา เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความเสี่ยงเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม Web 2.0 แม้ว่าการใช้ Web 3.0 จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีชื่อเสียงก็ตาม 

แต่ข้อห้ามในการเข้าถึง TikTok นี้อาจนำไปสู่ปลุกระดมผู้มีอิทธิพลจากทุกที่ รวมถึงอินฟลูเอนเซอร์และแฟน ๆ ของพวกเขา แต่ถ้าหากข้อห้ามดังกล่าวได้รับการประกาศในวันนี้ เหล่าผู้ที่มีชื่อเสี่ยงก็อาจจะไม่ได้ปฏิเสธมันในทันทีเพียงเพราะพวกเขาประสบความสำเร็จ

มีความเข้าใจผิดทั่วไปว่า Web 3.0 จะเข้ามาเพื่อแทนที่ Web 2.0 แต่แทนที่จะคิดว่า Web 3.0 เป็น “อินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่” ทุกคนควรคิดว่า Web 3.0 เป็นช่องทางใหม่ที่จะทำให้เหล่าครีเอเตอร์สามารถสร้างรายได้จากแพลตฟอร์มได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ในโลก Web 3.0 ที่เนื้อหาดิจิทัลสามารถแปลงเป็น NFT ได้ ครีเอเตอร์สามารถกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินของตนเองได้ และแฟน ๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของรายการดิจิทัลที่ตนจ่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ วิดีโอ ชิ้นส่วน ของเพลง ฯลฯ สิ่งที่มีลิขสิทธิ์สามารถกลายเป็น NFT ได้ทั้งหมด ดังนั้นครีเอเตอร์และนักสะสมจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากรายได้ในตลาดรอง และรายได้ที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ไม่มีอยู่ในแพลตฟอร์ม Web 2.0 แบบเดิม

สำหรับผู้ที่ประสบความสำเร็จในโลกโซเชียล การเซ็นเซอร์และการเลิกใช้แพลตฟอร์มเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อรายได้ของพวกเขา แต่ครีเอเตอร์จำนวนมากมองว่านี่เป็นความเสี่ยงที่เป็นนามธรรม พวกเขาโต้แย้งว่าการลบเนื้อหาที่ไม่ดีเป็นสิ่งจำเป็น และสามารถพึ่งพาการตัดสินใจที่สมเหตุสมผลของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ได้ อย่างไรก็ตาม ครีเอเตอร์ที่ปฏิบัติตามกฎอย่างพวกเขาจะยังเชื่อว่าแพลตฟอร์มอย่าง Twitch, TikTok และ Instagram ประสบความสำเร็จอย่างมากจนอยู่ได้ตลอดไป ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ไม่มีข้อโต้แย้งในประเด็นนี้

แต่อันที่จริงแพลตฟอร์มยอดนิยมดังกล่าวไม่สามารถคงอยู่ตลอดไป และผู้สร้างเนื้อหาที่ปฏิบัติตามกฎจะถูกเซ็นเซอร์ตลอดเวลา อีกทั้งบริษัทต่าง ๆ จะต้องพึ่งพาโซลูชันอัตโนมัติที่มักมีข้อผิดพลาดเนื่องจากแพลตฟอร์มมีเนื้อหาและผลงานจำนวนมาก และจำเป็นต้องมีการกลั่นกรองเพื่อบังคับใช้ ซึ่งส่งผลเสียต่อชุมชนออนไลน์ แต่สำหรับครีเอเตอร์เจ้าของผลงานที่มีคุณค่าและต้องการเก็บรักษาอย่างถาวร มีโอกาสที่ผลงานของพวกเขาจะสูญหายหรือไม่พร้อมใช้งานสำหรับแฟน ๆ

อย่างไรก็ตาม Web 3.0 นั้นแตกต่าง เนื่องจากถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชน ซึ่งสามารถเพิ่มข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถลบหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายความว่าข้อมูลจะถูกทำให้มีความโปร่งใส และแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแฮ็กหรือเสียหาย

ตัวอย่างของความยืดหยุ่นของแพลตฟอร์ม Web 3.0 เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว เมื่อผู้ก่อตั้งตลาด NFT ของ Tezos Hic et Nunc ตัดสินใจปิดโครงการทันที และเหลือ NFT ครึ่งล้านอยู่ในโลกดิจิทัล แต่เนื่องจาก Tezos เป็นบล็อกเชนสาธารณะ และเนื่องจากแพลตฟอร์มนี้สร้างขึ้นบนหลักการโอเพนซอร์สของ Web 3.0 ชุมชนผู้ใช้ Hic et Nunc จึงสามารถเปิดใหม่ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยไม่ทำให้ยอดขายหยุดชะงัก

แม้ว่า TikTok ที่เทียบเท่ากับ Web 3.0 โดยตรงจะยังไม่มีอยู่จริง แต่ก็เป็นเพียงเรื่องของเวลาเท่านั้น และตอนนี้ Web 3.0 ก็ทำให้ครีเอเตอร์ในโลกดิจิทัลสามารถขยายตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้และการมีส่วนร่วมของผู้ชมผ่าน NFT และกลไกอื่น ๆ ได้แล้ว ครีเอเตอร์ควรใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มให้ได้มากที่สุด เนื่องจาก Web 3.0 คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และจะมาเร็วกว่าที่ทุกคนคิด

ที่มา: cointelegraph