<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

นักวิเคราะห์ JPMorgan กล่าวว่า ตลาด Crypto กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ “Domino Effect Margin Call”

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ตลาด Crypto กำลังเผชิญหน้ากับสัปดาห์แห่งประวัติศาสตร์จากการร่วงลงของราคา ที่เกิดจากวิกฤตการณ์การล่มสลายของเว็บเทรดเบอร์สองของโลก FTX  ซึ่งทำให้ตลาดคริปโตเข้าสู่ช่วงกลียุค และอาจทำให้ Bitcoin ถึงขั้นร่วงแตะระดับ 13,000 ดอลลาร์ได้ นักยุทธศาสตร์จาก JPMorgan Chase & Co. กล่าว

“Domino Effect Margin call” มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง FTX บริษัทในเครืออย่าง Alamada Research และระบบนิเวศ Crypto ทั้งระบบ Nikolaos Panigirtzoglou หัวหน้าทีมยุทธศาสตร์กล่าวระบุ

“สิ่งที่ก่อให้เกิดการร่วงลงของราคาในครั้งนี้มาจากการที่การล่มสลายของ Alamada Research และ FTX ที่เป็นตัวสร้างปัญหา ในขณะที่จำนวนปริษัทที่มีงบดุลแข็งแกร่งที่สามารถช่วยเหลือบริษัทอื่น ๆ ในวงการ Crypto กำลังลดน้อยลง” ทีมยุทธศาสตร์กล่าวเมื่อวันพุธที่ผ่านมา

นักลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลยอมรับในชะตากรรมของ FTX ที่ล่มสลายอย่างกระทันหัน ความกังวลปรากฎขึ้นโดยรอบ Alameda Research ทั้งสองบริษัทที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Sam Bankman-Fried ชายวัย 30 ปี ที่มีข่าวลือว่า FTX กำลังจะล้มละลาย ซึ่งอาจจะนำไปสู่การล้มของบริษัท Crypto อื่น ๆ ตามมาเป็นโดมิโน่

ทีมยุทธศาสตร์ยังได้ชี้ว่า ต้นทุนการผลิตของ Bitcoin จะเป็นมาตรฐานในการกำหนดว่า Bitcoin จะร่วงลงไปได้มากขนาดไหน ต้นทุนการผลิตได้แก่ อัตราค่าไฟที่จำเป็นต่อการดำเนินการของคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพที่เพียงพอต่อการรันระบบ Bitcoin ทั้งระบบ

“ในขณะนี้ ต้นทุนการผลิตของ Bitcoin อยู่ที่ 15,000 ดอลลาร์ แต่ดูเหมือนราคา Bitcoin อาจจะร่วงลงไปแตะจุดต่ำสุดที่ 13,000 ดอลลาร์ภายในช่วงฤดูร้อนนี้” ทีมนักวิเคราะห์ของ JPMorgan กล่าว

Bitcoin ราคาร่วงลดลงมาเป็นวันที่สี่ และร่วงลงกว่า 16% ในวันพุธ แม้ราคาจะเริ่มปรับตัวขึ้นราว 3% มาอยู่ที่ 16,200 ดอลลาร์ในวันนี้ แต่อาจจะมีความเสี่ยงอื่น ๆ เกิดขึ้นในอนาคต

แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับ FTX เผยว่า Sam Bankman-Fried กล่าวกับนักลงทุนใน FTX ว่า หากไม่ได้รับการอัดฉีดทางการเงิน บริษัทอาจถึงขั้นต้องล้มละลาย

นี่เป็นความยุ่งเหยิงล่าสุดของการร่วงลงของตลาดคริปโต และถูกเร่งให้ทวีความรุนแรงมากขึ้ ภายใต้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกของ Fed 

ที่มา: