Utility token โทเค็นที่ใช้เพื่อการระดมทุนสำหรับบริษัทสตาร์ทอัพหรือโครงการต่าง ๆ ที่สามารถใช้เพื่อเป็นส่วนลดค่าธรรมเนียมหรือรับสิทธิพิเศษ ปกติแล้วมักจะไม่ถูกจัดเป็นประเภทโทเค็นเพื่อการลงทุน และได้รับการยกเว้นจากกฎหมายของหลาย ๆ ประเทศ
และสำหรับประเทศไทยเองก็เพิ่งได้กำหนดให้ “Utility token พร้อมใช้” ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลออกเสนอขายโทเค็นเช่นกัน แต่จะทำการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจแทน โดย Utility token พร้อมใช้ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ Utility token พร้อมใช้กลุ่มที่ 1 เป็น Utility token ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น บัตรกำนัลดิจิทัลและโทเค็นที่สามารถใช้แลก NFT และ Utility token พร้อมใช้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นโทเค็นที่ใช้แทนใบรับรองหรือแสดงสิทธิต่าง ๆ
สำหรับ Utility token พร้อมใช้กลุ่มที่ 1 จะต้องไม่สามารถเปิดให้ stake ได้ เพื่อมอบผลตอบแทนได้ เว้นเสียแต่เป็นการ stake เพื่อโหวตหรือเข้าร่วมกิจกรรม และไม่สามารถนำมาจดทะเบียนเพื่อซื้อขายได้
ที่น่าสนใจคือ Utility token พร้อมใช้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็น โทเค็นที่สามารถให้สิทธิในการเข้าถึงสินค้าและบริการของ DTL หรือ DeFi, โทเค็นที่ใช้เพื่อชำระค่าธรรมเนียม เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียมธุรกรรม หรือสะสมเพื่อเลื่อนระดับสมาชิกประจำกระดานเทรด, โทเค็นที่ใช้ในการโหวตเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ หรือโทเค็นที่ให้บริการเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะ CeFi สามารถนำไปจดทะเบียนเพื่อซื้อขายบนกระดานเทรดต่าง ๆ ได้
อย่างไรก็ตาม Utility token พร้อมใช้กลุ่มที่ 2 ที่ผู้สร้างประสงค์จะให้มีการซื้อขาย จะต้องได้รับการอนุญาตจากก.ล.ตก่อน และต้องไม่รับ stake เว้นเสียเป็นการ stake เพื่อยืนยันธุรกรรม โหวต เข้าร่วมกิจกรรม หรือรับผลตอนแทนจากกิจกรรมในระบบนิเวศของกระดานเทรดแห่งนั้นเท่านั้น
ในขณะนี้ ก.ล.ต. กำลังอยู่ในช่วงการเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างประกาศเกี่ยวกับการกำกับดูแล Utility token พร้อมใช้ โดยผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นได้ในเว็บไซต์ของก.ล.ต. หรือส่งอีเมลไปได้ที่ [email protected], [email protected] หรือ [email protected] ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ปี 2023
ที่มาภาพ: PPTV HD 36
อ้างอิง: