<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ChatGPT มองว่า  Elon Musk เป็น “ตัวป่วน” และควรได้รับการปฏิบัติด้วยเป็นพิเศษ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ Isaac Latterell นักการเมืองชาวอเมริกัน ได้โพสต์ภาพการสนทนาระหว่างเขาและ ChatGPT บน Twitter ส่วนตัว โดยถาม ChatGPT ถึงบุคคลสาธารณะที่อาจเป็น “ตัวป่วน” ที่มักสร้างข้อถกเถียงในสังคมอย่างสม่ำเสมอ และควรปฏิบัติตัวต่อบุคคลเหล่านี้ “เป็นพิเศษ” หรือไม่

จากรายชื่อบุคคลสาธารณะทั้งหมด Elon Musk ถูกระบุว่า เป็นบุคคลที่มักสร้างประเด็นถกเถียงในสังคม และ ChatGPT ควรปฏิบัติตัวด้วยเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับบุคคลคนดังคนอื่น ๆ อย่าง Donald Trump อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่โด่งดังมาจากนโยบาย American First หรือ Trump wall กำแพงที่ถูกสร้างขึ้นกั้นระหว่างประเทศเม็กซิโกและสหรัฐฯ เพื่อป้องกันคนหลบหนีข้ามแดน, Valdimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซียที่ครองเก้าอี้มาอย่างยาวนาน และกำลังเป็นประเด็นในกรณีสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน, Xi Jinping ประธานาธิบดีจีน, Kim Jong-un ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ หรือ Kanye West และ Kim Kardashian สองคนดังที่เป็นประเด็นในวงการ Crypto เมื่อก่อนหน้านี้

นอกจากจะระบุว่า บุคคลสาธารณะคนใดเป็นตัวปัญหาและต้องปฏิบัติเป็นพิเศษหรือไม่แล้ว ChatGPT ยังสามารถระบุได้ด้วยว่า บุคคลสาธารณะคนนั้น อาจมีปัญหากับคนกลุ่มใด ไม่มีปัญหากับคนกลุ่มใด รวมถึงระบุความสำคัญของบุคคลนั้นในระดับ 0 ถึง 10 ได้อีกด้วย โดย Elon Mask ถูกระบุว่า อาจมีปัญหากับกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่เป็นมิตรกับกลุ่มผู้สนใจในเทคโนโลยี และถูกระบุว่ามีความสำคัญในสังคมถึง 8 เต็ม 10 เลยทีเดียว

ChatGPT ยังได้ระบุเกี่ยวกับ ความเป็นตัวปัญหา, ความใจดี และความจริงใจ จากคะแนน 0 ถึง 10 อีกด้วย ซึ่ง Elon Musk ได้คะแนนความเป็นตัวปัญหา 5 เต็ม 10 ความใจดี 7 เต็ม 10 และความจริงใจ 6 เต็ม 10

Isaac Latterell กล่าวว่า ผลลัพธ์เหล่านี้ อาจมาจากข้อมูลจากแหล่งข่าวต่าง ๆ มุมมองที่ถูกสะท้อนออกมา จึงแสดงให้เห็นมุมมองทางการเมืองจากสื่อกระแสหลัก ไม่เกี่ยวข้องกับการโปรแกรม ChatGPT แต่อย่างใด พร้อมเสริมว่า ข้อมูลเหล่านี้ ผู้ที่กำกับการพูดคุยไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้

อย่างไรก็ดี สำหรับเรื่องนี้ Elon Musk ได้แสดงความคิดเห็นเพียง “!!” ในการรีทวีตเท่านั้น และไม่ได้ทำการตอบกลับผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด

เรื่องนี้จึงแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าเทคโนโลยี AI จะมีความก้าวหน้าไปมากเพียงใด แต่หัวข้อที่มีความอ่อนไหวอย่างประเด็นในทางการเมือง ยังคงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อนเกินกว่าที่ AI จะสามารถเข้ามาแสดงบทบาทหรือแสดงให้เห็นว่าสามารถตีความด้วยตัวเองได้ ซึ่งอาจรวมไปถึงประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนอื่น ๆ อย่างประเด็นศาสนาหรือศีลธรรมเช่นกัน

AI ในปัจจุบัน จึงอาจไม่สามารถใช้หรือเชื่อถือในทุกเรื่องเสมอไป โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นที่ประเด็นในสังคม และมนุษย์ยังคงมีความเหนือกว่าในด้านการคิดวิเคราะห์นอกตำรา