<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

มาตรฐาน “ERC-4337” คืออะไร ? สามารถ “กู้คืน Private Key” บน Ethereum ได้จริงหรือ ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

หลังจากที่ ERC-4337 มาตรฐานตัวใหม่ของ Ethereum ได้กลายเป็นประเด็นดราม่าในวงการคริปโตมาได้สักพักหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังคงมีหลายคนที่กำลังสงสัยว่า “ERC-4337” คืออะไรกันแน่ ? ทำไมอาจารย์ตั๊ม พิริยะ กับคุณหนึ่ง ปรมินทร์ ถึงให้ความสนใจกับสิ่งนี้? หรือเราจำเป็นต้องจด seed phrases อยู่ไหม? ดังนั้นในวันนี้ทางสยามบล็อกเชนจึงจะมาพาทุกคนทำความรู้จักกับ ERC-4337 ไปพร้อมกัน

ก่อนหน้านี้ บล็อกเชน Ethereum ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า “Account Abstraction” หรือในอีกชื่อหนึ่งที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี คือ “ERC-4337” ซึ่งฟีเจอร์นี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถกู้คืน Crypto ได้ง่ายขึ้นถ้าหากทำ private key หาย 

ERC-4337 ใช้งานผ่าน smart contract ที่เรียกว่า EntryPoint ซึ่งจะทำให้ smart contract นี้สามารถเข้าถึงเงินใน account ของเราได้ เพื่อลดโอกาสที่กระเป๋าเงินของเราจะโดนโจมตี ดังนั้นสรุปง่าย ๆ คือ Account Abstraction หรือ ERC-4337 จะเปลี่ยนกระเป๋าเงินของผู้ใช้ให้เป็น smart contract account

ERC-4337 เกี่ยวข้องกับ private key อย่างไร?

กระเป๋าเงินที่ได้รับการตั้งฟีเจอร์ ERC-4337 จะรวม account ทั้ง 2 ประเภทมาสร้างเป็น account ใหม่ที่ไม่มี private key แต่เราสามารถเข้าถึงได้ด้วยการยืนยัน 2 ขั้นตอน (2FA) หรือการยืนยันตัวตนด้วยการสแกนลายนิ้วมือหรือใบหน้า (Biometric) และสามารถเปิดใช้งานกลไก “กู้คืน private key” ได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีฟีเจอร์ ERC-4337 แต่เราก็ยังคงจำเป็นต้องจด seed phrases อยู่ดี เพราะ account ที่สร้างใหม่นั้นถือเป็น account ของผู้ใช้ที่อยู่ภายนอก หรือ account ที่ผู้ใช้เก็บไว้ ดังนั้นจะต้องมีการรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเอาไว้ด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นได้แก่ Ethereum address, private key และ public key ฉะนั้นจึงหมายความว่าการทำ Account Abstraction ยังจำเป็นต้องมี private key นั่นเอง

โดยสรุปแล้ว ERC-4337 เป็นเวอร์ชันปรับปรุงของ Contract Address เพื่อให้เรามีโอกาสกู้คืน private key ได้ในกรณีที่ทำหาย แต่ในอีกด้านหนึ่ง ฟีเจอร์นี้ก็ยังคงมีข้อเสียด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเลือกการยืนยันตัวตนแบบ Biometric ด้วยลายนิ้วมือ แล้ววันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุจนไม่สามารถใช้นิ้วมือยืนยันตัวตนได้ ก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเข้าถึงเงินของตนเองได้อยู่ดี

ที่มา: beincrypto, coindesk