<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Fed ประกาศอัดฉีดเงิน 3 แสนล้านดอลลาร์เข้าสู่ Balance Sheet มากที่สุดในรอบ 3 ปี

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อวานนี้ Fed ได้มีการเปิดเผย รายงานงบดุลที่เพิ่มขึ้นมากถึง 3 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งไม่แน่ว่าการที่งบดุลของเฟดที่เพิ่มขึ้นมาในครั้งนี้เป็นเพราะการที่เฟดทำ QE หรือ Quantitative easing หรือไม่และไม่แน่ว่าการเพิ่มงบดุลของเฟดในครั้งนี้อาจส่งผลให้ราคา Bitcoin พุ่งขึ้นไปยืนอยู่ในระดับราคาก่อนที่จะทำ QT ของเฟด 

โดยการทำ QT ครั้งแรกที่มีผลกระทบต่อราคา Bitcoin อย่างมากนั้น คาดน่าจะเป็นในช่วงปี 2021 ท้ายปีที่ราคา Bitcoin ได้ปรับฐานลงมา หลังจากพุ่งทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะในช่วงนั้นเฟดเริ่มเป็นกังวลกับอัตราเงินเฟ้อที่สุงเพิ่มขึ้นแล้ว

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เฟดต้องดำเนินตามนโยบายขั้นเด็ดขาด ในการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อที่สูงขึ้น สิ่งนี้ทำให้ความน่าสนใจของ Bitcoin ลดลงเพราะท่าทีที่เข้มงวดของเฟด

และเป็นไปได้หลังจากงบดุลของเฟดเพิ่มสูงขึ้นล่าสุดนี้ จะช่วยทำให้ราคา Bitcoin พุ่งกลับขึ้นไปในจุดที่มันควรจะอยู่ ในช่วงระดับราคา 40,000 ดอลลาร์อีกครั้ง

QE คืออะไร?

มาตรการ QE เป็นมาตรการที่มักจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในยามที่เกิดช่วงวิกฤตทางการเงินของสหรัฐฯ โดยหากดอกเบี้ยมีอัตราจนต่ำเกินไป หรือต้องการจะลดดอกเบี้ยลง จึงจำเป็นต้องทำ QE เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจขึ้นมา แต่จำต้องแลกกับตัวเลขในงบดุลที่จะเพิ่มขึ้น

ก่อนหน้านี้ในปี 2022 เฟดได้ทำ Quantitative Tightening หรือเรียกอีกอย่างว่าการทำ QT ก็คือการที่เฟดจะลดสภาพคล่องของตลาดพันธบัตร ซึ่งจะทำให้จำนวนตัวเลขลดลง นั่นหมายความการลงทุนนั้นอาจไม่ใช่คำตอบสำหรับนักลงทุนสายเก็งกำไร

ซึ่งแน่นอนว่าการทำ QT ของเฟดนั้นหรือ QT แบบอ้อม ๆ อย่างการปรับขึ้นดอกเบี้ย ก็ไม่ใช่ผลดีสำหรับตลาดคริปโตสักเท่าไร ในช่วงปีที่แล้วที่เฟดทำรวมกับวิกฤตต่าง ๆ ในตลาดคริปโตในช่วงกลางปี 2022 นั้น ทำให้ราคา Bitcoin ร่วงดิ่งไปที่ระดับราคา 17,000 ดอลลาร์

แต่อย่างไรก็ดีจากข้อมูลของเว็บไซต์ dailyfx ได้ออกมาอธิบายการเพิ่มงบดุลในครั้งนี้เพิ่มว่า แท้จริงแล้วการเพิ่มงบดุลในครั้งนี้ไม่ใช่มาตรการทำ QE แต่อย่างใด ซึ่งเขาได้ให้เหตุผลว่าแท้จริงแล้วเป็นเพราะสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ที่เพิ่มมากขึ้นของเฟด 

สำหรับอัตราการถือครองที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ มาจากการถือหลักทรัพย์โดยตรงของ Fed (ส่วนใหญ่เป็น Treasury) และหลักทรัพย์ที่มีการจำนอง (MBS) หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตามที่คาดไว้ภายใต้มาตรการ QT

นอกเหนือจากนั้นแล้วก็มีผู้มีความรู้ท่านหนึ่งออกมาบอกว่า การเพิ่มงบดุลครั้งนี้ไม่ใช่ QE เช่นกันแต่เป็นเพียงการให้กู้ยืมกับเงินธนาคารของเฟดมาเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องในช่วงนี้เท่านั้น ไม่เหมือนกับการอัดฉีด QE เหมือนครั้งก่อนที่นำไปสู่ช่วงขาขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยง หากต้องอ่านเพิ่ม คลิก!! 

ที่มา : dailyfx