<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Goldman Sachs ย้ำชัด ! Bitcoin เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด แซงหุ้นและทองคำ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ตามข้อมูลล่าสุดจาก Goldman Sachs ระบุว่า ศัพยภาพของ Bitcoin ได้แซงหน้าสินทรัพย์และการลงทุนแบบดั้งเดิม อย่างเทคโนโลยีและทองคำไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วในด้านผลตอบแทนที่แน่นอนแบบปีต่อปี (YTD) และผลตอบแทนที่ปรับลดตามความเสี่ยง 

Bitcoin ได้ให้ผลตอบแทนสัมบูรณ์อยู่ที่ 51% จาก YTD ซึ่งแซงหน้าหุ้นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ +16% บริการด้านการสื่อสารที่ +15% การตัดสินใจของผู้บริโภค +11% รวมถึง Russell 1000 Growth ที่มีตัวเลขอยู่ที่ +10% ทอง +4 % และดัชนีหุ้น S&P 500 ที่ +4%

ในขณะที่พลังงานและน้ำมันดิบมีตัวเลขลดลง 11% และ 14% ตามลำดับ ทั้งนี้ราคาน้ำมันได้ลดลงสู่ระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2020 เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานที่อ่อนตัวลงและความกังวลของตลาดในวงกว้าง

โดยพื้นฐานของตลาดจะขึ้นอยู่กับ OPEC+ และสหรัฐอเมริกา ในแง่ของผลตอบแทนที่ปรับตามความเสี่ยง ซึ่งวัดโดย Sharpe Ratio เหรียญ Bellwether ยังแสดงประสิทธิภาพที่แข็งแกร่งด้วยคะแนน 1.9 ซึ่งสูงกว่าหุ้นเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.5, Nasdaq 1.4 และการดูแลสุขภาพ -1.1

ทั้งนี้ด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นของ Bitcoin เมื่อเร็ว ๆ นี้มีสาเหตุมาจากแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่สุดท้ายก็เลิกใช้นโยบายการเงินแบบดุดันเสียที ซึ่งด้วยเหตุนี้เองทำให้ราคา Bitcoin เพิ่มขึ้น 35% ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม ซึ่งเป็นเวลาที่หน่วยงานกำกับดูแลปิดตัวธนาคาร Silicon Valley

แม้จะมีคำเตือนจากนักวิเคราะห์ตลาดถึงการปรับฐานที่อาจเกิดขึ้น แต่การดีดตัวกลับของ Bitcoin นั้นยังคงถือว่าแข็งแกร่งกว่าหุ้นจาก Wall Street  ในปัจจุบัน

การล่มสลายของ Terra, FTX และ Celsis, 3AC รวมถึงการเข้มงวดทางการเงินทั่วโลกทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลสั่นคล่อนอย่างมากในปี 2022 ซึ่งทำให้ราคา Bitcoin เผชิญกับช่วงเวลาของการปรับฐานครั้งใหญ่

อย่างไรก็ตาม Bitcoin ปิดสัปดาห์นี้มาด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นกว่า 34% ซึ่งนับว่าเป็นสัปดาห์ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2021 ท่ามกลางวิกฤตการธนาคารที่กำลังดำเนินอยู่ บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์การยอมรับและความเข้าใจของ Bitcoin

การเพิ่มขึ้นของราคาคริปโตเกิดขึ้นท่ามกลางช่วงวิกฤตธนาคารที่ปะทุอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ราคา Bitcoin ยังคงได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อและการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย

ที่มา : u.today