<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

SEC โต้ Ripple ! เคยเตือนแล้วว่า “การเสนอขาย Crypto นั้น ผิดต่อกฎหมายหลักทรัพย์”

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา (SEC) ได้ยื่นตอบกลับจดหมายของ Ripple Labs เกี่ยวกับอำนาจเพิ่มเติมในคดี Bittner และ Voyager หลังจากก่อนนี้มีรายงานว่าผู้พิพากษา Voyager ได้พบคำพูดที่รุนแรงสำหรับสถานการณ์ด้านกฎระเบียบที่ไม่ชัดเจนของอุตสาหกรรมคริปโตของสหรัฐฯ

Ripple ยื่นคำรายงานดังกล่าวเพื่อเป็นข้อโต้แย้งสนับสนุนสำหรับการป้องกันการแจ้งเตือนอย่างยุติธรรม (fair notice) โดยชี้ไปที่การเขียนสำนวนของผู้พิพากษาล้มละลาย Michael Wiles เกี่ยวกับ “ความไม่แน่นอนที่มีมาอย่างยาวนาน” สำหรับอุตสาหกรรมคริปโตที่แม้แต่หน่วยงานกำกับดูแลก็ยังไม่เห็นด้วย

ข้อสรุปเรื่องการใช้อำนาจเพิ่มเติมของหน่วยงานกำกับดูแลในกรณีคดี Bittner ของ Ripple ที่ออกมาเมื่อต้นเดือนมีนาคม อ้างอิงถึงคำตัดสินของศาลฎีกาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ในคดี Bittner เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ซึ่งศาลฎีกาได้เน้นย้ำว่า “Fair Notice ควรถูกประกาศออกมาในภาษาที่สาธารณะชนสามารถทำความเข้าใจได้” ซึ่ง SEC ไม่ได้ทำเช่นนี้กับ Ripple

ในการตอบโต้สั้น ๆเมื่อวานนี้ ก.ล.ต. สหรัฐฯ ยืนยันว่า การตัดสินใจทั้งสองไม่ถือเป็นสนับสนุนการป้องกัน Fair Notice ของ Ripple และไม่มีผลต่อการตัดสินคดี “อันที่จริง การตัดสินใจทั้งสองไม่เกี่ยวข้องกับ Fair Notice แต่อย่างใด” ก.ล.ต. กล่าว

นอกจากนี้ SEC ยังกล่าวด้วยว่า หน่วยงานได้ “ให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง” ว่า การเสนอขาย Crypto นั้นผิดต่อกฎหมายหลักทรัพย์ “เมื่อบริษัทเหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเสนอหรือข้อตกลงในการลงทุน”

“Voyager ไม่ได้มีส่วนช่วยจำเลยเช่นกัน” SEC ระบุในการโต้แย้งว่า “SEC ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแผนการล้มละลายเพื่อเสนอขาย Crypto ให้แก่บริษัทอื่น” ตามที่ Ripple กล่าวอ้าง

“จำเลยได้บิดเบือนลักษณะของแถลงการณ์ในคดีการล้มละลายของ Voyager อย่างไร้ยางอาย และเลือกดึงวลีออกมาจากบริบทเพื่อสร้างความเข้าใจผิด เพื่อเพิ่มความชอบธรรมต่อการปกป้องตัวเองจาก Fair Notice” SEC กล่าว พร้อมระบุว่า ไม่มีคำสั่งใดของผู้พิพากษา Michael Wiles ที่แสดงให้เห็นว่า “แนวทางสำหรับผู้เข้าร่วมตลาดโดยทั่วไปมีอยู่อย่างจำกัด”

ขณะนี้ XRP ถูกเทรดอยู่ที่ 0.42 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับราคาที่ไม่เคยเห็นมาก่อนนับตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนปี 2022

ที่มา: Bitcoinist