<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Optimism คืออะไร และจะช่วยแก้ไขปัญหาเครือข่ายแออัดของ Ethereum แบบยั่งยืนได้อย่างไร

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

แม้ว่าปัจจุบัน Ethereum จะยังคงเป็นหนึ่งในเครือข่ายสัญญา Smart Contract ชั้นนำที่มีการใช้งานมากที่สุด แต่กระนั้น Ethereum ก็กำลังประสบปัญหากับการทำธุรกรรมที่ล่าช้าและมีค่าธรรมเนียมราคาแพง ซึ่งไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ในฐานะเครือข่ายการเงิน ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกในวิสัยทัศน์ดังกล่าว หลายโปรเจกต์จึงได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับโซลูชันการปรับขนาด และหนึ่งในโซลูชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือโซลูชันแบบ rollup เช่น Optimism

Optimism คือโซลูชันการปรับขนาดแบบ rollup ซึ่งจะเข้ามาช่วยลดค่าธรรมเนียม Gas ให้ถูกลงและช่วยย่นเวลาในการทำธุรกรรมให้เร็วขึ้น

ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง Optimism ว่ามันทำงานอย่างไร และปัญหาใดบ้างที่โซลูชันนี้สัญญาว่าจะทำการแก้ไข 

Layer 2 (L2) หมายถึง โซลูชันที่ใช้ในการปรับขนาดแอปพลิเคชัน โดยการประมวลผลธุรกรรมจาก Ethereum Mainnet (Layer 1) ในขณะที่ยังคงรักษาความปลอดภัยและการกระจายอำนาจให้อยู่ในระดับเดียวกันกับเครือข่ายหลัก

เนื่องจากจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องบนเครือข่ายของ Ethereum สิ่งนี้จึงได้การสร้างข้อจำกัดบางประการ ด้วยเหตุนี้โซลูชัน Ethereum L2 จำเป็นต้องสร้างความแตกต่าง

โซลูชันเลเยอร์ 2 จะช่วยปรับปรุงปริมาณงาน (ความเร็วการทำธุรกรรม) นอกจากนี้ ยังช่วยลดค่าธรรมเนียม Gas อีกด้วย ตัวอย่างของโซลูชัน Ethereum Layer 2 นั่นได้แก่ Immutable X, Arbitrum , Polygon และ Optimism

สำหรับปัญหาด้านประสิทธิภาพของเครือข่าย โซลูชันการปรับขนาด Ethereum Layer 2 อาจมีความสำคัญเป็นอย่างมาก  ปัจจุบันมีตัวเลือกมากมายสำหรับโซลูชั่นการปรับขนาด ที่กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการทดสอบ โซลูชั่นเหล่านี้จะใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการ ซึ่งตอนนี้ Ethereum ดูเหมือนจะมีสองทางเลือกก็คือการใช้ Layer 2 และ sharding โซลูชันเหล่านี้จะช่วยจัดการกับปัญหาการทำธุรกรรมที่ล่าช้า, ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่สูง และเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดให้กับเครือข่าย

โซลูชันเลเยอร์ 2 ทำงานอย่างไร ?

ในขณะที่โซลูชันเลเยอร์ 2 กำลังมองหาการปรับปรุงปริมาณงานที่ถูกสร้างขึ้นบนเครือข่าย Ethereum ขณะเดียวกัน Ethereum ก็กำลังพิจารณาใช้โซลูชั่นการแบ่งกลุ่มเป็นตัวเลือก  สิ่งนี้จะเกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกเครือข่าย Ethereum ออกเป็นหลายเครือข่ายที่เรียกว่า “Sharding” อย่างไรก็ตามกระบวนการนี้อยู่ห่างไกลจากความเป็นจริง

Layer 2 นั้นหมายถึงเครือข่ายชั้นที่ 2 ที่ทำงานซ้อนทับอยู่บนเลเยอร์ชั้น 1 หรือเครือข่าย Ethereum : สัญญา Smart Contract จะจัดเก็บโซลูชันเลเยอร์ 2 ไว้บนเครือข่ายของ Ethereum เพื่อใช้ในการโต้ตอบกับเครือข่ายหลัก สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องแก้ไขโปรโตคอลพื้นฐานใด ๆ เพิ่มเติม โซลูชันการปรับขนาด Layer 2 จะมีฟังก์ชันที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงการคำนวณข้อมูลภายนอก Chain หรือความสามารถในการปรับขนาดสำหรับระบบการชำระเงิน

Optimism คืออะไร ?

‘Optimism’ คือบล็อกเชน Layer 2 ที่สามารถรองรับ Dapps บน Ethereum ได้ทั้งหมด โดยดำเนินการคำนวณธุรกรรมภายนอกบล็อคเชนหรือที่เรียกว่า off-chain ซึ่งจำเป็นต่อการเพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรมและช่วยลดต้นทุนค่าธรรมเนียมธุรกรรม

ในภาพรวม Optimism จะไม่ใช้สมการทางคณิตศาสตร์ใดๆ แต่จะช่วยยืนยันธุรกรรมก่อนที่จะส่งข้อมูลปลายทางไปยัง Ethereum Mainnet

สำหรับเหตุผลที่ Optimism ต้องไปทำ Layer 2 บน Ethereum ก็เพราะในปัจจุบัน Ethereum ยังคงสามารถรองรับธุรกกรรมได้น้อยมาก ๆ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 30 ธุรกรรมต่อวินาที (TPS) เท่านั้น

ในขณะที่บล็อคเชนของคู่แข่งที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น Ethereum Killer อย่าง Cardano สามารถทำได้อยู่ที่ 250 ธุรกรรมต่อวินาที, Polkadot มากกว่า 1,000 ธุรกรรมต่อวินาที หรือ Solana ที่มากถึง 65,000 ธุรกรรมต่อวินาที

ด้วยเหตุนี้ Optimism มองเห็นช่องทางที่ยกระดับ Ethereum ขึ้นไปอีกขั้น โดยการเข้ามาช่วยทำให้ Ethereum นั้น “มีค่าธรรมเนียมธุรกรรมราคาถูกขึ้น และทำธุรกรรมได้รวดเร็วขึ้น” 

อย่างไรก็ตามปกติแล้ว ราคาแก๊ส (Gas price) และแก๊สที่ถูกใช้ในการทำธุรกรรมจะเป็นตัวกำหนดค่าธรรมเนียมเฉลี่ยบนเครือข่ายของ Ethereum แต่สำหรับการคำนวณค่าแก๊สบน Optimism นั้นจะมีความซับซ้อนยิ่งกว่า เพราะต้องพิจารณาต้นทุนจากการดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมบน L1 (หรือที่เรียกว่า call data) ดังนั้นการทำธุรกรรมบน Optimism จึงมีค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมเพิ่มเติม (แต่ก็ยังถูกกว่าการทำธุรกรรมบน Ethereum หลายเท่าตัว)

Optimism ทำงานยังไง ?

ตามที่กล่าวไปข้างต้น Optimism คือโซลูชันแบบ Rollup ดังนั้นเมื่อผู้ใช้งานได้ส่ง transaction หรือการทำธุรกรรม ข้อมูลธุรกรรมจะถูกบันทึกไว้บน L1 แต่การทำธุรกรรมนั้นจะถูกประมวลผล โดยคอมพิวเตอร์หลักเครื่องเดียว ที่เรียกว่า “The Sequencer” (แทนที่จะเป็น จำนวนที่มากกว่าพันเครื่อง ที่ใช้บน Ethereum L1) ซึ่งช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมเป็นอย่างมาก และในระหว่างที่ต้องเจอกับปัญหา ระบบกลไกนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า the sequencer จะมีความเที่ยงตรง

The Sequencer บน Optimism  จะทำการคำนวณข้อมูลแบบ off-chain จากนั้นพวกมันจะทำการบีบข้อมูลธุรกรรมเพื่อเผยแพร่ไปยังสัญญา Smart Contract บน Ethereum on-chain เป็นระยะ ๆ เนื่องจากการคำนวณข้อมูลต้องใช้ทรัพยากรสูง โซลูชั่นนี้จึงสามารถปรับขนาดได้โดยการส่งข้อมูลจาก Ethereum L1 ไปยัง L2 ก่อนที่จะทำการบีบอัดธุรกรรมแล้วจึงส่งกลับมาที่ L1 อีกครั้งหนึ่ง

ทุกครั้งที่ The Sequencer เผยแพร่ข้อมูลธุรกรรม จะมีหน้าต่างที่ทุกคนสามารถเรียกดูการคำนวณเพื่อตรวจสอบได้ว่าข้อมูลธุรกรรมนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ตรวจสอบจะสามารถตรวจสอบข้อมูล และจะได้รับส่วนหนึ่งของเงินฝากเป็นรางวัลสำหรับการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ในขณะที่ส่วนที่เหลือจะถูกเผา จากนั้น The Sequencer ใหม่จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลในขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่ส่งไปยัง On-chain

โดยสรุปแล้ว Optimism สามารถเรียกใช้โซลูชันการปรับขนาดเลเยอร์ 2 ได้โดยใช้ความสามารถในการคำนวณได้ทั้งแบบ on-chain และ off-chain นอกจากนี้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่อยู่บน Ethereum ยังจะสามารถทำงานบน Optimism ได้อีกด้วย ดังนั้นผู้ใช้ก็จะได้ไปทั้งความเชื่อมั่นของการทำงานบน Ethereum พร้อมโซลูชั่นของ Optimism ที่ช่วยให้ทำธุรกรรมได้ “ถูกขึ้น และเร็วขึ้น” ไปพร้อม ๆ กัน

Optimism คืออนาคตของเครือข่าย Ethereum หรือไม่?

ปัจจุบันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะไม่เปรียบเทียบความสำคัญของ Optimism กับเครือข่ายหลัก เนื่องจากโซลูชั่นนี้ได้ช่วยให้เครือข่าย Ethereum ได้รับความนิยมและสามารถปรับขนาดได้ ซึ่งหมายความว่า สามารถจัดการธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วและมีต้นทุนค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ราคาไม่แพง

นอกจากนี้ Optimism ยังส่วนช่วยในการทำงานร่วมกันและข้อเสนอการปรับปรุงที่ดำเนินการโดยสมาชิกภายในชุมชน แอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (dApp) สามารถรันบน Optimism และได้รับประโยชน์จากคุณสมบัติไม่ต่างอะไรจากการรันบนเครือข่าย Ethereum 

ทั้งนี้ตัวผู้เขียนเชื่อว่า การพัฒนาที่สม่ำเสมอของเครือข่าย Ethereum พร้อมกับการยอมรับที่เพิ่มมากขึ้น จะช่วยทำให้ Optimism กลายเป็นหนึ่งในโปรเจกต์คริปโตที่โดดเด่นในอนาคตได้ไม่ยาก

การเปิดตัวเหรียญของตัวเองครั้งแรก

Optimism เพิ่งจะมีการเปิดตัวเหรียญของตัวเองครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา และเว็บเทรดคริปโตทั่วโลกต่าง ๆ ก็ไม่พลาดทำการลิสต์เหรียญของ Optimism ขึ้นบนกระดานของตน รวมไปถึง Binance, Huobi, Kucoin, Gate.io, OKX, Bybit เป็นต้น

การเปิดตัวเหรียญของตัวเองครั้งนี้ของ Optimism ได้กลายเป็นกระแสฮือฮาอย่างมาก และเรียกได้ว่าเป็นบิ้กโปรเจกต์ที่จะมาเขย่าวงการคริปโตในอนาคตเลยทีเดียว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเหรียญคริปโตที่ทุกคนควรจับตามอง

ที่มา : beincrypto