<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Vitalik Buterin ท้าทายระบบเผด็จการ! เปิดตัว “เครื่องมือโหวตออนไลน์” แบบไม่ระบุตัวตน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Vitalik Buterin ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ได้เปิดตัวเครื่องมือใหม่สำหรับการลงคะแนนเสียงออนไลน์แบบไม่ระบุตัวตน โดยเครื่องมือนี้ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท Rarimo ในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ซึ่งเครื่องมือตัวนี้ถูกตั้งชื่อว่า “Freedom Tool”

เครื่องมือนี้ใช้เทคโนโลยีการพิสูจน์แบบ Zero-Knowledge Proof เพื่อให้พลเมืองรัสเซียสามารถพิสูจน์สัญชาติและลงคะแนนเสียงออนไลน์ได้โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน ระบบนี้จะเข้ามาทำให้ผลการลงคะแนนปลอดภัยและไม่สามารถถูกควบคุม หรือ แทรกแซงจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้  

ภาพแสดงการทำงานของ Freedom Tool ที่มา: Freedom Tool

ทั้งนี้ ตัวของ Vitalik Buterin และนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Noah Smith ได้รับเชิญเข้ามาเป็นแขกในรายการพอดแคสต์บน Youtube ที่ชื่อ “Can Authoritarianism Win the 21st Century?” โดยผู้ดำเนินรายการ Ryan Sean Adams และ David Hoffman ได้พูดถึงข้อได้เปรียบของระบอบเผด็จการในปัจจุบัน พวกเขาได้กล่าวถึงประเทศจีน และรัสเซียว่า มีประเทศที่ใช้เงินจำนวนมากในการส่งเสริมนโยบายของพวกเขา ในขณะที่ระบอบประชาธิปไตยอย่าง สหรัฐอเมริกามีแนวทางที่ตรงกันข้าม

มากไปกว่านั้น Vitalik Buterin ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ระบอบเผด็จการจะสามารถแข่งขันกับระบอบประชาธิปไตยเสรี โดย Smith ให้เหตุผลว่า ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ระบอบประชาธิปไตยเสรีถูกมองว่า เป็นโมเดลสังคมที่ดีที่สุดตามแนวคิดของ Francis Fukuyama ในหนังสือ “The End of History” แต่ทว่าเหตุการณ์ในปัจจุบันได้ท้าทายแนวคิดดังกล่าว โดยการขึ้นมาของจีน ความอ่อนแอในสหรัฐอเมริกา และผลกระทบของอินเทอร์เน็ต เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้

Vitlaik Buterin กล่าวว่า ระบบที่รวมศูนย์มักจะเก่งในด้านการสกัดกั้นมากกว่าการผลิต ซึ่งจุดนี้อาจทำให้รัฐเผด็จการสามารถแข่งขันกับระบบเสรีนิยมได้มากกว่าในเรื่องของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม โดยเขากล่าวเสริมว่า การกำหนดความสำเร็จโดยพิจารณาจากผลผลิตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวอาจมองข้ามผลกระทบที่กว้างขึ้นต่อความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์

อย่างไรก็ตาม Vitalik Buterin ผู้สร้าง Ethereum ยอมรับว่าเทคโนโลยี Blockchain อาจไม่จำเป็นสำหรับชาวอเมริกันที่มีเสรีภาพในการพูด แต่บล็อกเชนอาจมีความสำคัญสำหรับผู้คนในรัฐเผด็จการ เพราะมันสามารถช่วยให้พวกเขามีช่องทางการสนทนาที่ปลอดภัยและเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ต้องเผชิญ

ที่มา:cryptopolitan