<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ถอดรหัส กู้พอร์ตติดดอย 400 ล้าน ตามแบบฉบับ “บอย ท่าพระจันทร์”

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

‘อรรถวัติ ศิริสิทธิธงไชย’ หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนาม ‘บอย ท่าพระจันทร์’ นั้นเรียกได้ว่าเป็นเซียนพระเครื่องชื่อดังที่สุดคนหนึ่งในยุคนี้เลยก็ว่าได้ แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากจะเป็นเซียนพระแล้ว เขายังเป็นนักลงทุนด้านเทคนิคอีกด้วย โดยตัวเขาเองเป็นถึงลูกศิษย์เอกอีกคนของเสี่ย-ป๋องวัชระ แก้วสว่าง นักลงทุนด้านเทคนิค เจ้าของพอร์ตลงทุน ‘หลักพันล้าน’ เลยทีเดียว 

ซึ่งวันนี้จะเราจะพาทุกท่านมาถอดบทเรียนครั้งใหญ่ของคุณบอยที่เกือบติดหนี้ 400 ล้าน แต่เขาก็สามารถกู้พอร์ตกลับมากำไรได้เหมือนที่เห็นกันในทุกวันนี้

เรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่ถือเป็นวิกฤติที่หนักที่สุดในชีวิตของเขาเพราะเขาเกือบเป็นหนี้โบรกเกอร์เกือบ 400 ล้านบาท เพราะหุ้น SET INDEX ปรับตัวลงสู่จุดต่ำสุด ซึ่งตอนนั้นด้วยความประมาท หรืออย่างไรก็ตาม คุณบอยตัดสินใจที่จะ “กู้บัญชีมาร์จิน” มาเป็นจำนวนมาก โดยหวังเพียงแค่จะให้หุ้นในพอร์ตกลับมาให้ผลตอบแทนเป็น สอง-สามเด้ง แต่กลับกลายเป็นขาดทุนยับ

คุณบอยมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่า ‘ถ้าอยากจะรวยในตลาดหุ้นต้องอัดมาร์จิ้นให้มากที่สุด’ นั่นทำให้เขาอัดมาร์จิ้นในหุ้นตัวเดียวกว่า 90% ของมูลค่าพอร์ต 

โดยเป็นการซื้อด้วยมาร์จินมูลค่า 200 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าตลาดหุ้นกลับ ‘ร่วงหนัก’ อยากจะเทขายก็ขายไม่ได้ เพราะว่าสภาพคล่องไม่มีเลย  

เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้เขากำลังจะถูก Force sell และโบรเกอร์ก็ต่างโทรมาถามว่าจะเติมเงินเข้าพอร์ตไหม ณ ตอนนั้นเองเขาจึงเริ่มรู้สึกตัวว่าลงทุนผ่านมาร์จิ้นมากไปแล้ว ซึ่งพอมาลองดูหุ้นหลายตัวในพอร์ตก็พบว่าสามารถขายได้ตัวเดียวคือ บมจ. บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ หรือ BAM เพราะเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง  

ทว่า เงินที่ขายหุ้น BAM ก็ยังไม่เพียงพอกับสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตมาร์จิ้น เพราะกู้มาร์จินมาค่อนข้างมาก เนื่องจากไม่คาดคิดว่าจะมีเหตุการณ์โควิด-19 เกิดขึ้น ทำให้เขาหมดทางเลือกและทำการตัดสินใจขาย’พระเครื่อง’ เพื่อนำเงินมาเติมพอร์ตบัญชีมาร์จิ้นเป็นมูลค่ากว่า 200-300 ล้านบาท เพราะหากปล่อยให้โดน Force sell ไปหนึ่งบัญชีเขาเชื่อว่าบัญชีอื่นๆ ก็จะต้องตามมาเป็นแถว จึงยอมปล่อยของรักเพื่อไม่ให้กลายเป็นหนี้

ทว่าพระเครื่องที่ขายไปก็ขายไปในราคาที่ต่ำเพราะเศรษฐกิจไม่ดีทำให้คนไม่ค่อยอยากซื้อแต่ก็ต้องจำใจขาย เพราะมีสภาพคล่องมากกว่าหุ้น และเหตุการณ์นี้ได้ทำให้เขาตระหนักรู้ถึงข้อเสียของการลงทุนแบบเร่งรีบแล้ว และเปลี่ยนมาค่อย ๆ ซื้อเผื่อว่าตัวไหนผิดพลาดจะได้ cut loss ได้ทัน จนในปัจจุบันมูลค่าพอร์ตลงทุนของเขากลับมาบวกได้เหมือนเดิมแล้ว 

อย่างไรก็ตามกรณีของคุณบอย ยังถือเป็นเรื่องที่โชคดีมากเพราะเขายังสามารถขายสินทรัพย์อื่น ๆ เพื่อมาโปะหนี้ตรงหนี้ได้ ไม่อย่างงั้นชีวิตของเขาอาจจะต้องล้มเป็นแน่แท้ ดังนั้นเราควรลงทุนอย่างมีสติ ศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุน และยอมรับความเสี่ยงให้ได้ว่าการลงทุนนั้นอาจเสียเงินได้ทั้งจำนวน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรือคริปโตก็ตาม

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ