ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทักษะการใช้ AI โดยเฉพาะ ChatGPT กลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคน เพราะ ChatGPT ไม่เพียงแต่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานและชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเรียนรู้ ChatGPT ของผู้คน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้เปิดตัว Chula MOOC Snap ซึ่งเป็นคอร์สเรียนออนไลน์ที่รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับ ChatGPT ไว้มากมายถึง 13 คอร์ส คอร์สเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนทุกระดับสามารถเข้าใจและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย พร้อมทั้งมีเอกสารประกอบและแบบทดสอบให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้ด้วยตนเอง ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาตามความสะดวก นอกจากนี้เมื่อผู้เรียนผ่านการเรียนและทำแบบทดสอบสำเร็จ ยังจะได้รับใบประกาศ (Certificate) ที่ดาวน์โหลดได้ทันทีอีกด้วย
1.Generative AI และ ChatGPT ทำงานอย่างไร?
- สอนโดย : อาจารย์ ดร.เอกพล ช่วงสุวนิช
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ ChatGPT ว่ามีที่มาอย่างไร มีความสามารถทำอะไรได้บ้าง มีข้อจำกัดอะไรบ้าง และข้อควรระวังในการนำ ChatGPT ไปใช้งาน
2. ChatGPT ช่วยทำวิจัยได้ไม่ต้องเหนื่อยแทบตาย (ในทุกขั้นตอน)
- สอนโดย : รศ. ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ ChatGPT เป็นตัวช่วยในการเขียนงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกหัวข้องานวิจัย ขอบเขตงานวิจัย การช่วยทำแบบสอบถาม การหาแหล่งข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงบทบาทของ ChatGPT ในเชิงจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่า ChatGPT สามารถเป็นตัวช่วยทำวิจัยได้จริงหรือไม่
3 แท็กติกการสอนในยุคคิดอะไรไม่ออกบอก ChatGPT
- สอนโดย : ศ. ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ ChatGPT เป็นตัวช่วยในการสอน เพื่อให้ผู้สอนสามารถนำ ChatGPT ไปเป็นตัวช่วย ในเรื่องการหาข้อมูล การสร้างไอเดีย ช่วยสรุปวรรณกรรม บทความ งานวิจัย ข้อมูลพื้นฐาน การตั้งคำถาม รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล และสิ่งสำคัญในการนำ ChatGPT ไปใช้ผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีเสียก่อน จะเป็นอย่างไรนะ เมื่อเจ้า ChatGPT เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเรียนการสอนยุคนี้
4 ChatGPT กับเศรษฐกิจยุคใหม่เหนื่อยน้อยลง เเต่ได้ผลมากขึ้น
- สอนโดย : รศ. ดร.วรประภา นาควัชระ
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ การใช้ ChatGPT ช่วยเพิ่ม Productivity ได้จริงหรือ ใช้เวลาลดลง ผลผลิตเพิ่ม และ New Disruptive Technology คนทำงานจะต้องปรับตัวอย่างไร ต้องมีความรู้พื้นฐานหรือไม่ ต้องศึกษาและสะสมประสบการณ์เพิ่มเติม หรือต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ
5 เขียนโค้ดคู่กับ AI เสร็จไว + ไม่ตกเทรนด์
- สอนโดย : ผศ. ดร.ฑิตยา หวานวารี
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ การเขียนโค้ดแบบ AI Pair Programming ฟีเจอร์ช่วยเขียนโค้ดล้ำ ๆ จากความสามารถของ AI สาธิตการเขียนโค้ดภาษา Python คู่กับ AI แนะนำการสมัครและใช้ GitHub Copilot สำหรับคณาจารย์และนิสิต นักศึกษา แนะนำเครื่องมือทางเลือกอื่น ๆ เช่น Google Bard AI และ AWS Code Whisperer และข้อความระวังในการใช้บริการ AI Pair Programming และต่อไปนี้การเขียนโค้ดจะสะดวกมากขึ้นแล้ว
6 เย่! ไม่ต้องเรียน Python เเล้ว (หรือเปล่านะ) มี ChatGPT เเล้วนี่นา
- สอนโดย : รศ. ดร.วีระ เหมืองสิน ผศ. ดร.สุกรี สินธุภิญโญ และ ผศ. ดร.นัทที นิภานันท์
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ การนำ Chat GPT มาช่วยในการเขียนโปรแกรม โดยจะกล่าวถึง ข้อดี และข้อเสีย ของการใช้ AI ในการเขียนโค้ด กระบวนการทำงานร่วมกับ AI และศักยภาพในการทำงานของ AI
7 ChatGPT ถอยไปมาปล่อยพลัง AI ด้วย MICROSOFT x GPT4
- สอนโดย : คุณโอม ศิวะดิตถ์
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอการพัฒนาฟีเจอร์ของ Microsoft ที่ได้อัปเกรด Bing โฉมใหม่ในรูปแบบแชตบอตอัจฉริยะ ถามอะไรตอบได้! รวมถึงวิธีการเข้าใช้งาน Bing รู้จักคุณลักษณะของ Bing ว่าเหมาะสำหรับเป็นตัวช่วยในการปกป้องข้อมูล ป้องกันข้อมูลไม่ให้ถูกนำมาเทรน AI และข้อกำหนดสำคัญ ๆ ของ Bing ว่ามีอะไรบ้าง
8 การสอนในยุค AI จะเกิดอะไรขึ้น เมื่ออาจารย์ใช้ออกข้อสอบและเด็กใช้ทำข้อสอบ
- สอนโดย : ดร.วิโรจน์ จิรพัฒนกุล
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับข้อควรระวังในการใช้งาน ข้อดีและข้อเสีย โดยผู้สอนจะต้องรู้ถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานให้เหมาะสมว่าต้องการจะออกข้อสอบเพื่อทดสอบหรือวัดอะไรจากนิสิต และสำหรับนิสิตเองควรจะต้องรู้ว่า ถามอย่างไรจึงจะได้คำตอบที่ชัดเจน ตรงประเด็นมากที่สุด
9 Visual Storytelling with Ai
- สอนโดย : คุณตุลย์ เล็กอุทัย นักสื่อสารด้วยภาพ ผู้ก่อตั้ง Pictures Talk และ อ.วรรษยุต คงจันทร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ AI เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการสังเกต วิเคราะห์ ทำความเข้าใจ เรียนรู้ และประเมิน ได้อย่างเป็นขั้นตอน รวมถึงได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของคนและ AI ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
10 ประเด็นจริยธรรมของ ChatGPT ที่ควรใส่ใจ
- สอนโดย : รศ. ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการนำ ChatGPT มาใช้งานเพื่อหาข้อมูลการอ้างอิงจากแหล่งต่าง ๆ ประเด็นด้านจริยธรรมจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงประเด็นเรื่องผลกระทบของการใช้ ChatGPT เพื่อทำหน้าที่บางอย่างแทนมนุษย์ต่อการพัฒนาทักษะของมนุษย์
11 การเงินกับ AI สองเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน
- สอนโดย : รศ. ดร.คณิสร์ แสงโชติ
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการนำ AI มาช่วยในการพิจารณางานด้านการเงิน เช่น ประเมินความเสี่ยงทางการเงิน ตรวจจับการฟอกเงิน ปล่อยเงินกู้ วิเคราะห์ตลาดการเงิน สรุปงบการเงินหรือการลงทุน เป็นต้น
12 AI กับการตลาด 6.0: เปลี่ยนและปรับอะไรในสังคม
- สอนโดย : ผศ. ดร.เอกก์ ภทรธนกุล
- เนื้อหา : เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ AI ในยุคที่การตลาดเกิดความเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี
13 การปรับตัวใช้เครื่องมือ GenAI เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า
- สอนโดย : ดร.อวิรุทธ์ ฉัตรมาลาทอง
- เนื้อหา : เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ Generative AI จะเข้ามีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวันและการทำงาน รวมถึงการแนะนำ 5 เครื่องมือ Generative AI ที่จะเป็นตัวช่วยในการสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น, 8 ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการ Transform สู่ AI – driven Organization, 9 กลยุทธ์ สร้างองค์กรด้วย Generative AI
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ลิงก์เว็บไซต์ mycourseville