<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Vitalik Buterin ยกย่อง ‘TiTok AI’ เทคโนโลยีบีบอัดภาพเพื่อจัดเก็บข้อมูลบนบล็อกเชน !

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Vitalik Buterin ผู้ก่อตั้ง Ethereum ได้ให้การสนับสนุนวิธีการบีบอัดภาพแบบ Token for Image Tokenizer หรือ TiTok สำหรับการใช้งานบนบล็อกเชน

เพื่อป้องกันไม่ให้สับสนกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังอย่าง TikTok วิธีการบีบอัดภาพแบบ TiTok ตัวนี้ จะช่วยลดขนาดของไฟล์รูปภาพได้อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้การจัดเก็บข้อมูลมีความเหมาะสมมากขึ้นสำหรับใช้บนบล็อกเชน

Vitalik เน้นย้ำถึงศักยภาพบล็อกเชนของ TiTok ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแบบกระจายศูนย์อย่าง Farcaster โดยระบุว่า “ขนาด 320 บิต มันก็เหมือนแฮช (Hash) นี่แหละ มันเล็กพอที่จะเก็บไว้บนเชน สำหรับผู้ใช้งานทุก ๆ คน”

การพัฒนาครั้งนี้อาจจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการจัดเก็บภาพดิจิทัล สำหรับพวกภาพโปรไฟล์ (PFPs) หรือ กลุ่มสินทรัพย์ดิจิทัล NFT

ที่มา: Thomas

การบีบอัดภาพแบบ TiTok 

เทคนิคการบีบอัดภาพแบบ TiTok ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยจาก ByteDance ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่ง Munich ช่วยให้สามารถบีบอัดภาพลงเป็นชิ้นข้อมูลขนาดเล็ก (bits) จำนวน 32 ชิ้น โดยยังคงคุณภาพเดิมของภาพไว้ได้

ตามเอกสารวิจัยของ TiTok เทคนิคการบีบอัดภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขั้นสูง ช่วยให้ TiTok สามารถบีบอัดภาพขนาด 256×256 พิกเซล ให้กลายเป็น “โทเค็นแยกส่วนจำนวน 32 ชิ้น” 

TiTok เป็น เฟรมเวิร์คในการแบ่งโทเค็นภาพแบบ 1 มิติ (1D) ที่ “ทำลายข้อจำกัดแบบ grid ที่มีอยู่ในวิธีการแบ่งโทเค็นแบบ 2 มิติ ออกไป” ซึ่งจะส่งผลให้ภาพที่ได้จาก TiTok มีความยืดหยุ่นและขนาดกะทัดรัดมากขึ้น

บทความวิจัย TiTok แสดงการเปรียบเทียบขนาดของการบีบอัดภาพ ที่มา: TiTok

การประมวลผลภาพด้วย Machine Learning

TiTok ใช้ประโยชน์จาก Machine Learning และ AI ขั้นสูง โดยใช้โมเดลที่อิงจาก Transformer ในการแปลงภาพเป็นชุดของโทเค็น

เทคนิคนี้ใช้ “ความซ้ำซ้อนของแต่ละส่วนในภาพ” หรือ region redundancy ซึ่งหมายถึง การระบุและใช้ข้อมูลที่ซ้ำกันในส่วนต่าง ๆ ของภาพ เพื่อลดขนาดข้อมูลโดยรวมของภาพที่ได้

“ความก้าวหน้าล่าสุดในโมเดลการสร้างภาพได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของการแบ่งภาพแบบ tokenization ในการสังเคราะห์ภาพความละเอียดสูงอย่างมีประสิทธิภาพ”

ตามเอกสารวิจัยของ TiTok สามารถสร้าง “การแทนค่าหรือผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่าเทคนิคดั้งเดิมอย่างมาก”

(a) การแสดงภาพการสร้างใหม่ และ (b) การสร้าง (c) ด้วยกรอบการทำงานของ TiTok  ที่มา: TiTok

อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum อย่าง Vitalik Buterin ออกโรงด้วยตัวเอง เพื่อเน้นย้ำถึงศักยภาพของ TiTok บนโลกบล็อกเชน ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับวิธีการบีบอัดภาพด้วย AI รูปแบบใหม่นี้เป็นอย่างมาก โดยที่ชุมชนอาจต้องรอติดตามกันต่อไปว่า TiTok จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการบล็อกเชนอย่างไรในอนาคต

ที่มา:cointelegraph