หากใครได้ติดตามข่าวสารในเดือนที่ผ่านมา จะเห็นว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้มีคำให้การต่อวุฒิสภาสหรัฐ ฯ ในประเด็นการปล่อยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานจำนวน 87 ล้านรายหลุดไปยัง Cambridge Analytica และนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ด้านพาณิชย์ต่อ
อ้างอิงจากนโยบายของ Facebook พวกเขามีสิทธิที่จะใช้ข้อมูลที่มีการแชร์กันในแพลฟอร์มของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นรูปที่คุณโพส หรือข้อมูลของการคลิก Like ในรูปสินค้าและบริการที่คุณถูกใจ พวกเขามีสิทธิที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปขายต่อให้กับผู้ที่ต้องการลงโฆษณาที่ให้ราคามากที่สุด
จากข้อมูลดังกล่าวเราจะทราบเลยว่า ข้อมูลทั้งหมดของผู้ใช้จะขึ้นตรงกับทาง Facebook พวกเขาไม่สนใจว่าความเป็นส่วนตัวของเรานั้นจะสำคัญขนาดไหน ถึงแม้ว่าเราจะสามารถใช้บริการ Facebook ได้ฟรี ๆ แต่พวกเราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการฝากข้อมูลไว้ที่ Facebook นั้นมีข้อเสียอยู่ในตัวด้วยเช่นกัน แต่ข่าวดีคือปัญหาเหล่านี้จะสามารถแก้ได้ด้วยเทคโนโลยี Blockchain
ป้องกันการขโมยตัวตน
หนึ่งในปัญหาที่ผู้ใช้ Facebook พบเจอคือ พวกเขาถูกปลอมแปลงโปรไฟล์บน Facebook เนื่องจาก ข้อมูลที่แชร์ใน Facebook ของพวกเขาสามารถถูกคัดลอกได้ เช่น รูปภาพโปรไฟล์ และ ข้อมูลต่าง ๆ ทำให้มีเหตุการณ์ของการขโมยตัวตนเกิดขึ้น คือการที่ผู้ใช้ Facebook คนหนึ่งสร้างบัญชี Facebook ใหม่ขึ้นมา โดยการนำรูปและข้อมูลของผู้ใช้คนอื่นมาใช้เป็นรูปของบัญชีตนเอง ซึ่งส่งผลให้เกิดความสับสนและความเสียหายต่อผู้ใช้คนอื่นเช่น ผู้ที่สร้าง Facebook ปลอมคนนั้นอาจจะนำ Facebook ไปหลอกคนอื่น ๆ ให้โอนเงินไปให้ โดยผู้ที่โอนเงินคิดว่าเป็นคนในรูปจริง ๆ ซึ่งผู้ใช้งาน Facebook ได้รายงานถึงความไม่พอใจนี้ไปกับทาง Facebook แต่เหมือนพวกเขาจะไม่สามารถป้องกันอะไรได้
แต่ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ข้อมูลจะมีความเฉพาะตัว กล่าวคือ คนอื่น ๆ จะรู้ได้ทันทีว่าใครเป็นใคร ข้อมูลจะไม่สามารถถูกคัดลอกได้ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลรูปโปรไฟล์ถูกบันทึกลงใน Blockchain ทำให้ข้อมูลของรูปนั้นเกิดความเฉพาะตัวขึ้น เมื่อมีใครนำรูปไปใช้หลอกคนอื่น ก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าไม่ใช่คนเดียวกัน ส่งผลให้ให้ไม่มีเหตุการณ์ขโมยตัวตนเกิดขึ้น
ความเป็นส่วนตัว
ในขณะที่ Facebook ผูกขาดอำนาจการใช้ข้อมูลทั้งหมดไว้ที่พวกเขา พวกเขานำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ไปหาผลประโยชน์ต่อ เพื่อแลกกับการที่ผู้ใช้จะสามารถให้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายต่อไปได้ เทคโนโลยี Blockchain ทำในสิ่งตรงกันข้าม มันคืนอำนาจการตัดสินใจให้กับผู้ใช้ ผู้ใช้สามารถควบคุมได้ว่าอยากจะให้ข้อมูลของพวกเขาปลอดภัยขนาดไหน จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร เช่น แพลตฟอร์ม Social Media ที่ทำงานอยู่บน Blockchain นาม Steemit ที่ผู้ใช้งานสามารถโพสเนื้อหา (Content) เพื่อที่จะหารายได้จาก Content เหล่านั้นได้ และข้อมูลของพวกเขาถูกควบคุมโดยตัวของพวกเขาเอง จะไม่มีเหตุการณ์การรั่วไหลของข้อมูลเกิดขึ้นเช่น Facebook
นาย Matis Travazino ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของ Wibson ได้กล่าวถึงประเด็นการหารายได้จากข้อมูลส่วนตัวของตนเองว่า :
“เรามองเห็นถึงวิธีการที่แวดล้อมของการเก็บข้อมูลส่วนตัวจะสามารถพัฒนาได้ เราใช้เทคโนโลยี Blockchain เพราะว่า เราสนับสนุนการ Decentralized ผู้ใช้งานทุกคนควรที่จะสามารถควบคุมข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้ และสามารถทำธุรกรรมกับผู้ที่ต้องการซื้อข้อมูลของตนเองได้ ตอนนี้เป็นเวลาที่ผู้บริโภคจะตื่นตัว และเล็งเห็นถึงทางเลือกเหล่านี้ได้แล้ว ผู้บริโภคเป็นเจ้าของข้อมูล และพวกเขาควรได้รับกำไรจากมัน”
การตื่นตัวของยักษ์ใหญ่ ?
ตอนนี้ทุกคนคงทราบกันดีว่า Facebook สามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้ทุกตัวอักษร ไม่เว้นแม้แต่สิ่งที่เราไม่ได้แชร์ต่อสาธารณ เช่น ข้อความใน Messenger จะถูกตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา และอาจจะถูกระงับไว้ถ้าผิดนโยบายของบริษัท
หากยังไม่มีนโยบายหรือกฎหมายอะไรออกมาควบคุมถึงปัญหาเหล่านี้ ในอนาคตมีสิทธิที่ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มจะหนีไปใช้แพลตฟอร์มทางเลือกอื่นที่พวกเขาคิดว่าดีกว่า ก็เป็นได้ เช่น แพลตฟอร์ม Social Media ที่ทำงานบน Blockchain ซึ่งให้ความปลอดภัยและส่วนตัวกับผู้ใช้ที่มากกว่า
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น