หน่วยงานกำกับดูแลเตรียมที่จะเพิ่มความเข้มงวดเกี่ยวกับข้อกำหนดในการยืนยันตัวตนสำหรับการสร้างบัญชีที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ คริปโต
ตามรายงานจาก Bangkok Post เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของประเทศ (ปปง.) ได้ประกาศว่าจะมีการนำระบบ “Dip-Chip” มาใช้ในการตรวจสอบตัวตนลูกค้าใหม่ของแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนคริปโต โดยคาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ในเดือนกันยายนนี้
โดยในปัจจุบันผู้ใช้สามารรถยืนยันตัวตนกับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโต ผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย แต่วิธีการยืนยันตัวตนแบบใหม่ทำให้ผู้ใช้จำเป็นต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนที่มีชิปที่ฝังอยู่ในบัตรจริง ไปยืนยันตัวตนที่เครื่องสแกนเพื่อดำเนินการตรวจสอบตัวตน โดยกฎใหม่นี้เป็นการป้องกันนักลงทุนต่างชาติในการเข้าถึงการแลกเปลี่ยนในประเทศ
กฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความนิยมที่มากขึ้นของสินทรัพย์คริปโตในประเทศไทย โดยในปี 2020 มีจำนวนบัญชีผู้ใช้จำนวน 160,000 บัญชี และในเดือนพฤษภาคมได้มียอดบัญชีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 7 แสนบัญชี โดยผู้บริหารในอุตสาหกรรมคริปโตได้แสดงความกังวลว่ากฎใหม่จะเป็นการขัดขวางการเติบโตของสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย
“แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่ยังคงโฟกัสอยู่กับการจัดการระบบให้รองรับจำนวนผู้ใช้ที่มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเติบโตของคริปโตในประเทศไทยอาจจะถูกจำกัดจากการยืนยันตัวตนที่ซับซ้อนมากขึ้น” นายปรมินทร์ อินโสม ผู้ร่วมก่อตั้ง Satang Pro แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตในประเทศไทย
ทางด้านสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งประเทศไทย กำลังวางแผนที่จะการอภิปรายเกี่ยวกับกฎระเบียบใหม่ในเวทีประชุมที่กำลังจะมีขึ้นร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งประกอบไปด้วย กลต. และ ปปง.
ทางด้าน Bitkub ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตรายใหญ่ของประเทศ ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎระเบียบดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่ากฎใหม่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการ
โดยข้อระเบียบดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้กับการขายทองคำที่มีมูลค่ามากกว่า 1 แสนบาท โดยพ่อค้าทองบางรายที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ได้มีการยืนยันตัวด้วยวิธีนี้อยู่แล้ว