<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

กสิกรไทยจัดสัมมนาฟินเทค เปิดตัวหนังสือค้ำประกันผ่าน Blockchain ตัวแรกของโลก

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อเช้าของวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ทีมงาน Siam Blockchain ได้รับเกียรติเข้าร่วมงานสัมมนา “Blockchain เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก  จากธนาคารกสิกรไทย โดยในงานนั้นจะกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยี บล็อกเชน ที่จะเปลี่ยนแปลงการรูปแบบการให้บริการด้านการเงินอย่างสิ้นเชิง และยังมีการเสวนา Enterprise Letter of Guarantee on Blockchain กับความท้าทายของนวัตกรรมใหม่ บทบาทของบริการหนังสือค้ำประกันผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ธนาคารกสิกรไทยเริ่มให้บริการแล้วเป็นครั้งแรกของโลก

โดยในพิธีเปิดได้มีการกล่าวเปิดงานจาก คุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย โดยกล่าวถึงเรื่องการยกระดับการใช้ระบบ Blockchain สำหรับหนังสือค้ำประกันที่เป็นที่แรกของโลกจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ภาครัฐและเอกชนหันมาสนใจนวัตกรรมเพื่อให้แข่งขันในเวทีโลก

และคุณ คุณฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการกล่าวว่า Blockchain จะเข้ามีบทบาทต่อเทคโนโลยีและภาคธุรกิจอย่างไร รวมถึงนโยบายในการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยเอ่ยถึง Regulatory Sandbox ที่สามารถให้ภาครัฐและเอกชนนำเทคโนโลยีมาทดลองใช้ได้ และการสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับด้าน Cyber security เพื่อให้เข้ากับนโยบาย 4.0โดยเนื้อหาของการบรรยายในช่วงแรกโดยส่วนใหญ่นั้นจะกล่าวถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี  Blockchain ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจโดยกล่าวถึงประโยชน์ที่ธุรกิจนั้นจะได้รับไม่ว่าจะเรื่อง

  1. การประหยัดเวลา(Save time)
  2. การลดค่าใช้จ่าย(Remove cost)
  3. การลดความเสี่ยง (Reduce risk)
  4. การเพิ่มความน่าเชื่อถือ (Increase trust)

รวมถึงการนำเสนอ Hyperledger ที่เป็น Private  Blockchain ของ IBM ว่ามีความแตกต่างจาก Public Blockchain ของ Bitcoin อย่างไรอีกทั้งยังกล่าวถึงความเป็นไปได้ของการนำ Blockchain ไปใช้ในรูปแบบธุรกิจอื่นๆอีก

และในช่วงที่สอง คุณสมคิด  จิรานันตรัตน์ รองประธาน KASIKORN Business-Technology Group ได้มาบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง ว่า Blockchain ของธนาคารกสิกรจะเอิ้อประโยชน์แก่องกรณ์ต่างๆยังไง โดยได้เอ่ยถึง Origincert ซึ่งมาจากคำว่า Origin และ certify โดย Origincert ที่ซึ่งเปรียบเสมือน Api เพื่อใช้ service ของ Blockchain ของธนาคารกสิกร โดยที่องกรณืที่มาเข้าร่วมไม่จำเป็นต้องพัฒนาระบบ Blockchain ของตัวเอง และยังพูดถึงความน่าเชื่อถือและความเป็นได้อื่นที่สามารถนำระบบ Blockchain เพื่อแก้ไขความยุ่งยากของการเก็บเอกสารที่มากมายให้มาอยู่ใน Blockchain อย่างในหนังสือค้ำประกัน ซึ่งหากมีการมีองกรณ์ที่เกี่ยงข้องมาข้องมากเท่าไหร่จะทำให้หนังสือค้ำประกันที่อยู่บน  Blockchain มีความน่าเชื่อถือขึ้น

 

 “Blockchain คืออินเตอร์เนตแห่งความน่าเชื่อถือ หากเรามองดูข้อมูลมากมายบนอินเทอร์เนตเราอาจจะสับสนในข้อมูลที่แตกต่างว่ามันถูกต้องหรือเปล่า ไม่ได้ถูกปลอมแปลงหรือเปล่า แต่หากมันอยู่ใน Blockchain  เราสามารถเชื่อได้เลยว่ามันมาจากต้นทาง”

กล่าวโดย คุณสมคิด  จิรานันตรัตน์

โดยในการเสวนาส่วที่สองจะเป็นการเสวนาโดย

คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ 

สายนโยบายระบบการชำระเงินและ เทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

– คุณศีลวัต  สันติวิสัฎฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

– คุณชิณเสณี อุ่นจิตติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ บัญชีและการเงิน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

– คุณสารนิต อังศุสิงห์ รองผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร การไฟฟ้านครหลวง

– คุณดวงกมล เศรษฐธนัง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี       

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

– คุณณรงค์ชัย พิสุทธิ์ปัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

ซึ่งเนื้อหาของการเสวนาจะกล่าวถึงความเป็นไปได้ในการนำระบบ Blockchain ไปใช้ในกรณีต่างๆ ไม่ว่าประโยชน์ของการนำไปใช้กับหนังสือคำประกันของการไฟฟ้า หรือโฉนดที่ดิน ซึ่งการเก็บเอกสารแบบดั้งเดิมจะมีปัญหามาก เนื่องจากบางครั้งเอกสารมีการเปลี่ยนแปลงหรือเอกสารหายรวมถึงความล่าช้าในการหาเอกสาร และยังกล่าวถึงนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะนำระบบ Blockchain มาทดสอบเพื่อศึกษาความเสี่ยงต่างๆที่เป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้เข้ากับนโยบาย Thailand 4.0 รวมถึงกล่าวว่าเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต ซึ่งจะพยายามผลักดันเทคโนโลยีต่างๆที่ไม่ใช่แค่เพียง Bloackchain เพื่อให้ประเทศไทยสามารถไล่ทันชาติอื่นๆได้

กสิกรไทยเปิดบริการหนังสือค้ำประกันบนบล็อกเชนครั้งแรกของโลกตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการใช้งานผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เป็น 35%

กสิกรไทยเปิดโลกใหม่บริการหนังสือค้ำประกันมูลค่า 1.35 ล้านล้านบาท นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้เป็นครั้งแรกของโลก สร้างมาตรฐานใหม่หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ ลดขั้นตอนเวลา ต้นทุน เพิ่มความปลอดภัยสูงสุด  หนุนภาคธุรกิจขับเคลื่อนเร็วขึ้น  หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ-เอกชนร่วมพัฒนาใช้นวัตกรรมนี้ หวังดันสัดส่วนหนังสือค้ำประกันผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นเป็น 35% สิ้นปีหน้า

นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายระบบเก็บรักษาและเรียกใช้เอกสารยุค 4.0 ที่มีความปลอดภัยสูง เริ่มเข้ามาพลิกโฉมหน้าธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเอกสารให้ดีขึ้น เช่นบริการหนังสือค้ำประกัน ซึ่งรัฐวิสาหกิจ และธุรกิจขนาดใหญ่ กำหนดให้บริษัทคู่ค้าต้องวางหนังสือค้ำประกันจากธนาคารเพื่อความมั่นใจในการประกอบธุรกิจร่วมกัน ดังนั้นเศรษฐกิจไทยจึงมีหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารต่าง ๆ หมุนเวียนในระบบเป็นจำนวนมาก 

ธนาคารกสิกรไทย จึงร่วมกับไอบีเอ็มในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนสร้างระบบต้นแบบใช้รับรองเอกสารต้นฉบับ นอกจากนี้ ได้ทำการทดสอบบริการบนRegulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย และจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  บมจพีทีที โกลบอล เคมิคอล และบจกพีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง ร่วมพัฒนา บริการหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยีบล็อกเชน (Enterprise Letter of Guarantee on Blockchain) เพื่อยกระดับการจัดการเอกสารหนังสือค้ำประกันแก่หน่วยงานผู้รับหนังสือค้ำประกัน และคู่ค้าผู้วางหนังสือค้ำประกัน กล่าวคือ รัฐวิสาหกิจหรือธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีคู่ค้าจำนวนมาก จะเชื่อมโยงเอกสารหนังสือค้ำประกันของคู่ค้าทั้งหมดบนมาตรฐานเดียวกันด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 100% ตลอดกระบวนการตั้งแต่เริ่มจนจบโดยไม่ใช้กระดาษ ปลอดภัยสูง ตรวจสอบได้ง่าย และยังปลอมแปลงยาก รวมทั้งสะดวกรวดเร็วกว่ารูปแบบเดิม ซึ่งสามารถเข้าตรวจสอบได้ ทุกที่ ทุกเวลา และจะบันทึกประวัติต่อเป็นห่วงโซ่แบบอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังเอื้อให้เกิดการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายธนาคารต่าง ๆ ได้ในอนาคต     บริษัทผู้รับหนังสือค้ำประกันจึงเข้าระบบเพื่อดูเอกสารหนังสือค้ำประกันของคู่ค้าที่ออกโดยธนาคารต่าง ๆ ได้ จากการเข้าระบบเพียงครั้งเดียว

บริการหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยีบล็อกเชน จึงมีประโยชน์ต่อธุรกิจใน ด้าน ได้แก่ 

1.ความปลอดภัย มีการจัดเก็บข้อมูลขึ้นบนระบบบล็อกเชนที่มีมาตรฐานเดียวกันและตรวจสอบสถานะได้ตลอดเวลา  

2.ความเร็ว ช่วยลดเวลาขั้นตอนด้านเอกสารจาก 24 ชั่วโมง เหลือเพียง 30 นาที  

3. การลดต้นทุน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายการจัดการเอกสารลง 2 เท่า  

4.การเพิ่มประสิทธิภาพ ภาคธุรกิจให้จัดการเอกสารได้รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา   

5. ข้อมูลรวมศูนย์ ภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกัน และ 

6.การสร้างโอกาสทางธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนได้เร็วขึ้น โดยการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านฐานข้อมูลที่มีมาตรฐานร่วมกัน สามารถเชื่อมต่อเพื่อต่อยอดได้ในอนาคต

นายพิพิธ กล่าวตอนท้ายว่า ในปี 2560 คาดว่าประเทศไทยจะมีการออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบธนาคารพาณิชย์มูลค่ารวมกว่า 1.35 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากปีที่ผ่านมา 8% ในจำนวนนี้เป็นหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารกสิกรไทย ประมาณ 3.3 แสนล้านบาท ที่ส่วนแบ่งตลาด 25% เป็นอันดับหนึ่ง เป็นการใช้บริการหนังสือค้ำประกันผ่านสาขา 80% และผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ 20% ซึ่งธนาคารตั้งเป้าว่า ในสิ้นปี 2561 จะสามารถเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เป็น 35%  โดยเป็นสัดส่วนที่ใช้ผ่านบล็อกเชน 5% ทั้งนี้เชื่อมั่นว่า บริการหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกนี้ จะถูกนำไปใช้และพัฒนาให้เป็นมาตรฐานใหม่ที่เป็นสากล เพราะบล็อกเชนจะเอื้อให้ทุกภาคส่วนในระบบเชื่อมต่อและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ร่วมกัน ช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ พร้อมขับเคลื่อนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น