เมื่อ SegWit นั้นถูก Lock-in เรียบร้อยแล้ว และสงครามภายในกลุ่มนักพัฒนาและนักขุดดูเหมือนว่าจะจบลงเรียบร้อยแล้ว แต่แม้ว่ามันจะยังไม่จบลงอย่าง 100% นั้น คำถามที่ตามมาคือการ hard fork เพื่อทำขนาดบล็อก 2MB ของ SegWit2x ที่จะถึงในสิ้นปีนี้คือมันจะเป็นอย่างไรต่อไป และความน่าเชื่อถือระยะยาวของ Bitcoin Cash ซึ่งในขณะนี้ความขัดแย้งของพวกเขาก็ดูเหมือนว่าใกล้จะลงรอยกันแล้ว
ขั้นตอนต่อไปหลังจากการ Lock-in แล้วก็คือการเปิดใช้งานโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะมีขึ้นประมาณสองสัปดาห์หลังจากนี้หลังจากที่ค่าความยากในการขุด (Difficulty) ของ Bitcoin มีการปรับตัวอีกครั้ง และเมื่อ SegWit ถูกเปิดใช้งาน ธุรกรรมหลายๆธุรกรรมนั้นจะสามารถถูกเก็บไว้ในบล็อกขนาด 1MB ได้มากขึ้น และความช้าในการส่ง Bitcoin ก็จะหายไป และหลังจากนั้นก็จะมีการพัฒนา Lightning Network เพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งบางทีอาจจะเป็นการปฏิวัติวงการเหรียญดิจิตอลเลยก็ว่าได้
กลับสู่จุดเริ่มต้น
ณ จุดที่ดูเหมือนว่าปัญหาหลายๆอย่างใกล้จะจบลงแล้วนั้น ลองย้อนกลับไปดู ณ ที่จุดเริ่มต้นก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้เกมการเมืองภายใน Bitcoin นั้นเล่นกันค่อนข้างรุนแรง ซึ่งปัญหาที่ใครหลายๆคนทราบกันดีถึงเรื่องที่เรียกว่า “blocksize debate” นั้นไม่สามารถที่จะลืมกันไปได้ง่ายๆ
เมื่อประมาณต้นปี 2014 เป็นช่วงที่ Bitcoin เริ่มมีความนิยมมากขึ้นและปัญหาเรื่องการ scaling เริ่มตามมา ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดว่าพวกเขาควรทำอะไรสักอย่าง โดยในตอนนั้นระบบเครือข่ายของ Bitcoin สามารถที่จะรองรับการทำธุรกรรมได้เพียงแค่ราวๆ 4 ธุรกรรมต่อวินาทีเท่านั้น และรวมถึงค่าธรรมเนียมในการส่งที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
Block ขนาดที่ใหญ่ขึ้น VS Core
อธิบายแบบง่ายๆ กล่าวคือในกลุ่มนักพัฒนาของ Bitcoin นั้นก่อนหน้านี้ได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ที่สนับสนุนให้มีการขยายขนาดของบล็อกเก็บธุรกรรมจากของเดิม 1MB ซึ่งจะสามารถทำให้มันเก็บธุรกรรมได้มากขึ้นต่อบล็อก และฝ่ายที่สองคือผู้ที่ไม่เห็นด้วย และอยากจะแก้ไขด้วยวิธีการทางเทคนิคที่เป็นการเขียนโค้ดเพื่อ optimize ให้ธุรกรรมของ Bitcoin ถูกจัดให้ใส่ในบล็อกขนาด 1MB ได้พอดี ซึ่งนั่นก็คือ SegWit หรือผู้สนับสนุน ‘Core’ นั่นเอง
วิสัยทัศน์ของ Satoshi
เมื่อ Satoshi Nakamoto เพิ่งจะเริ่มสร้าง Bitcoin ขึ้นมานั้น เขาได้มองเห็นภาพในอนาคตว่าทุกๆคนบนโลกนี้จะทำการเปิด ‘node’ (ระบบซอฟต์แวร์ Blockchain ของ Bitcoin) เป็นของตัวเอง และเชื่อว่า Blockchain นั้นไม่สามารถที่จะถูกแฮคหรือแกไขหรือควบคุมโดยใครคนใดคนหนึ่งได้ ซึ่งในตอนนั้น Blockchain ของ Bitcoin มันมีขนาดเล็กมาก และการเปิด node นั้นก็มีความเป็นอิสระสูง
ความนิยมของ Bitcoin เติบโตขึ้นไปเรื่อยๆไปพร้อมๆกับขนาดของ Blockchain และเมื่อ Blockchain ของ Bitcoin มีขนาดใหญ่มากขึ้น การเปิด full node (ซอฟต์แวร์ Blockchain ของ Bitcoin แบบตัวเต็มที่เก็บธุรกรรมตั้งแต่ตอนเริ่มต้นยันปัจจุบัน) จะต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีเนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ และรวมถึงแบนด์วิด Internet เป็นจำนวนมาก โดยเมื่อความต้องการในการเปิด full node สูงและแพงขนาดนั้นจึงทำให้อาสาสมัครที่เคยมีในอดีตก็ลดลงไปเรื่อยๆ
พวกเขาชอบ Block ใหญ่ๆ
เมื่อเกิดปัญหาด้านการ scaling ในปี 2014 นั้น โซลูชันการแก้ไขปัญหาของผู้สนับสนุนให้เพิ่มขนาดบล็อกก็คือการเพิ่มขนาดบล็อก ซึ่งตรรกะง่ายๆของพวกเขาก็คือ ถ้าหากบล็อก 1 บล็อกสามารถเก็บข้อมูลธุรกรรมได้มากขึ้น ระบบเครือข่ายก็จะสามารถช่วยประมวลผลธุรกรรมต่อวินาทีได้ แต่ก็มีข้อเสียที่ตามมาคือขนาดของบล็อกที่ใหญ่ขึ้น และรวมถึงขนาดของเครือข่าย Blockchain ที่ใหญ่ขึ้นด้วย
[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]
ขนาดของ Blockchain ที่ใหญ่ขึ้นจะส่งผลทำให้มีผู้เปิด node น้อยลง (เนื่องจากความต้องการของอุปกรณ์ hardware และ internet bandwidth ที่สูงขึ้นและแพงขึ้น) ซึ่งนั่นหมายถึงผู้ที่สามารถเปิด node ได้ก็จะมีแต่กลุ่มคนที่มีเงิน (เช่นพวกนักขุด) และจะส่งผลทำให้ความเป็น decentralize ของ Bitcoin นั้นลดลง กล่าวคือการที่มันจะได้เป็นสกุลเงินสำหรับทุกคนบนโลก กลายเป็นว่ามันจะกลายเป็นสกุลเงินสำหรับคนบางคนแทน ซึ่งภายหลังจากนั้นผู้สนับสนุนการเพิ่มขนาดบล็อกก็บอกว่านี่มันไม่ใช้ปํญหา เพราะพวกเขาเชื่อว่าจะมีอาสาสมัครมาเปิด full node ให้เพียงพอที่จะทำให้ Bitcoin ยังคงความเป็น decentralize ไว้ได้
การคัดค้านของนักพัฒนา
นักพัฒนาหลักของ Bitcoin (Bitcoin Core Developers) นั้นต่างก็ออกมาคัดค้านและพยายามนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาของพวกเขาเอง ซึ่งนั่นก็คือ Segregated Witness (SegWit) ซึ่งโซลูชันนี้จะสามารถทำให้ข้อมูลธุรกรรมและลายเซ็นต้องแยกตัว ลายเซ็นธุรกรรมนั้นจะถูก “บีบอัดย่อขนาด” และทำให้ธุรกรรมอื่นๆนั้นสามารถที่จะถูกจับใส่ลงไปในบล็อกเก็บข้อมูลธุรกรรมขนาด 1MB ได้มากขึ้น
ด้วยการบีบอัดดังกล่าวจะทำให้ขนาดของ Blockchain น้อยลง และทำให้มีคนธรรมดาหลายๆคนสามารถเปิด node ได้มากขึ้น แต่ทว่าอย่างไรก็ตาม ปัญหาและข้อเสียมันก็มี ข้อแรกคือ SegWit นั้นมีความยุ่งยากในการติดตั้งมากเกินไป ซึ่งในตอนนั้นไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ว่ามันจะทำให้เกิด soft fork หรือ hard fork หรือไม่
ในข้อที่สองก็คือ นักพัฒนา Bitcoin Core ส่วนใหญ่ที่สนับสนุน SegWit นั้นยังเป็นพนักงานบริษัทของ Blockstream ซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าบริษัทนั้นอาจจะมาแผ่ขยายอิทธิพลตอนหลังก็เป็นได้ และทำให้ Bitcoin มีความเป็น centralize น้อยลง
การกระจายหรือว่าการแจกจ่าย?
แม้ว่าจะมีปัญหาอื่นๆมากมาย ความสำคัญในการดีเบตนั้นได้ก่อให้เกิดคำถามข้อหนึ่งว่า
“ต้อง decentralize ขนาดไหนถึงจะพอ?”
ปัญหาก็คือไม่มีใครรู้ดีถึงคำตอบที่แน่ชัดของคำถามนี้ การ Decentralization ได้กลายเป็นแนวคิดที่ฝังลึกในกลุ่มของผู้ใช้งาน cryptocurrency ไปแล้ว จนแนวคิดที่ว่านี้ดูเหมือนว่าจะยังคลุมเครืออยู่ แต่หากจะให้คำจำกัดความของมันแล้ว เครือข่ายแบบ decentralize คือเครือข่ายที่ไม่มีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือใครมาเป็นเจ้าของมัน และสามารถที่จะยืนหยัดรองรับการโจมตีหรือการแฮคได้
[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]
อ้างอิงจาก Coin Telegraph นั้น พวกเขาเชื่อว่าการเปิด node ประมาณ 1,000-100,000 node ก็คงจะเพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริงก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะเครือข่ายนั้นเป็นการ “แจกจ่าย” ไม่ใช่การ “กระจาย” ซึ่งหากอธิบายง่ายๆ การแจกจ่ายก็คือการที่ทุกๆคนมารับ node ของ Blockchain ของ Bitcoin ไปแล้วก็นำไปเปิดที่เครื่องคอมของตัวเอง หากลองมาดูความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ที่จะมาเปิด node ในตอนนี้แล้ว คำถามที่ตามมาคือ Bitcoin นั้นจะสามารถถูกแจกจ่ายได้อย่างสมบูรณ์แบบหรือไม่
ในขณะเดียวกันการมี node เพียงแค่ไม่กี่ 10 ตัวก็ไม่สามารถที่จะทำให้มัน decentralize และป้องกันการโจมตีได้เช่นกัน ปัจจุบัน Bitcoin มีราวๆ 9,200 node คำถามที่ตามมาคือมันเพียงพอไหมที่จะเป็น decentralize? หรือว่าแค่ 4,000 node ก็เพียงพอแล้ว? หรือว่าแค่ 1,000?
ก่อนที่ทางนักพัฒนา Bitcoin จะเดินหน้าพัฒนาและติดตั้ง Lightning Network พวกเขาควรจะตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่า
ต้อง decentralize ขนาดไหนถึงจะพอ?
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น