ญี่ปุ่นพยายามจะจัดการปัญหาสัตว์ป่าที่มีจำนวนมากจนล้น โดยรัฐบาลได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ใน supply chain ของเนื้อสัตว์ซึ่งมันจะทำให้ผู้บริโภคสามารถติดตามสถานะของเนื้อว่ามาจากพื้นที่ใด
สมาคมส่งเสริมการขายแห่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงแห่งประเทศญี่ปุ่นได้พยายามนำ Blockchain มาใช้ในแง่ความปลอดภัยในเรื่อง supply chain ของเนื่อสัตว์ป่า โดยทางสมาคมได้รับมอบหมายให้ดูแลมาตรฐานการล่าสัตว์ป่าและการจำหน่ายอาหารในประเทศญี่ปุ่นโดยร่วมมือกับ Tech Bureau หรือบริษัทสตาร์ทอัพด้าน cryptocurrency ที่ใช้ Mijin ซึ่งเป็น Private Blockchain ที่ใช้ Protocol ของ NEM โดยนี่เป็นเคสแรกที่ Mijin Blockchain ถูกนำไปใช้โดยรัฐบาลญี่ปุ่น
โดยอ้างถึงตัวเลขจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม นักล่าสัตว์ที่มีใบอนุญาตนั้นลดลงอย่างมาก นิตรสาร Japan Time ได้ให้ข้อมูลว่ามีนักล่ากว่า 198,000 คนในญี่ปุ่นซึ่งลดลงจากปี 2,000 ที่มีอยู่ 210,000 คนและ ปี 1975 ที่มี 518,000 คนโดย 66% นั้นเป็นนักล่าที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จำนวนของหมูป่าและกวางนั้นพุ่งสูงขึ้นแต่ในขณะเดียวกันก็สร้างความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตรและการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ของประชาชน
นาย Takao Asayama ผู้บริหารระดับสูงของ Tech Bureau มองว่า Blockchain เป็นวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพในการจัดการ supply chain ของเนื้อสัตว์ป่าในญี่ปุ่น
“ในพื้นที่ทุรกันดารบางแห่งประสบกับปัญหาสัตว์ป่าที่เพิ่มจำนวนจนล้นซึ่งมีความเสียหายกว่า 178 ล้านดอลลาห์ต่อปี โดยเทคโนโลยี Blockchain นั้นสามารถเปลี่ยนหนึ่งใน supply chain ที่เก่าแก่ที่สุดให้กลายเป็นสิ่งมีค่าในชุมชนท้องถิ่น”
Blockchain จะเก็บข้อมูลเนื้อสัตว์ในกระบวนของโรงงานบน tamper-proof ledger ก่อนจะนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลของ supply chain แบบดั้งเดิม จะมีการแจ้งเตือนอัตโนมัติ หากทั้งสองรายการไม่ตรงกันเพื่อให้แน่ใจว่า supply chain นั้นโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ .
โดยมันจะถูกติดตั้งจาก Gibier สมาคมส่งเสริมการขายของญี่ปุ่นในเดือนนี้ blockchain จะเก็บข้อมูลวันเวลา จุดขนส่ง ชื่อสินค้า จำนวน ราคา และระบบ Blockchain นี้จะถูกใช้ทั่วประเทศในอนาคต
[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]
และในเคสอื่นๆ บริษัทในเครือของ Hitachi ได้ทดสอบ Mijin Blockchain เรียบร้อยใน PointIfinity ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มที่คิดคะแนนสะสม และระบบการจัดการเก็บสะสมแต้มนี้ได้ถูกนำไปใช้ในร้านค้าและผู้ให้บริการที่เป็นสมาชิกกว่า 150 ล้านแห่ง
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น