<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

อธิบดีกรมบังคับคดีประเทศไทยประกาศ “จะศึกษาวิธีอายัดคริปโตอย่างจริงจัง”

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

อธิบดีกรมบังคับคดีประเทศไทยประกาศจะศึกษาคริปโตและวิธีการอายัดมันอย่างจริงจัง

ในอุตสาหกรรมยุค 4.0 เช่นปัจจุบัน เทคโนโลยีต่าง ๆ ล้วนเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้นเรื่อย ๆ หนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกคาดว่า จะเข้ามามีหน้าที่สำคัญคือคริปโต ถึงแม้มันจะมีข้อดีมากมายที่สามารถนำไปใช้แทนระบบการเงินเก่า ๆ ได้ แต่ก็มีอยู่บ่อยครั้งที่คริปโตถูกใช้เป็นเครื่องมือของอาชญกร เนื่องาจากมันมีความเป็นส่วนตัวสูง กล่าวคือสามารถตามตัวได้ยากกว่านั่นเอง

หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยนั้นก็ตื่นตัวในประเด็นดังกล่าวเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่กรมบังคับคดีของประเทศไทยก็เช่นกัน

อ้างอิงจากไทยรัฐ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี ได้ทำการร่วมมือกับ ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Assets” และได้กล่าวว่า เป็นหน่วยงานแรกที่เข้ามาศึกษาและดำเนินการเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล

น.ส. รื่นวดี ได้ระบุว่า ปัจจุบันสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นถือเป็นสินทรัพย์อีกประเภทที่มีมูลค่าและคนทั่วไปก็สนใจที่จะครอบครอง และระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ นั้นจะมีผลกระทบกับชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อย ๆ เลยตัดสินใจที่จะศึกษา โดยจะโฟกัสไปยัง 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ การกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล และการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ประเทศไทยยังไม่มีความรู้ในด้านนี้เท่าไรนัก

อายัดคริปโตอย่างไร ?

เธอได้หยิบยกถึงผลวิจัยมาเผยว่า สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นสามารถ “ยึดหรืออายัดได้” ถึงแม้ว่ามันจะถูกออกแบบมาให้ไม่มีระบบกลางสามารถเข้าไปอายัดได้แบบธนาคารก็ตาม

ขั้นตอนในการอายัดคือ เจ้าพนักงานต้องทำให้จำเลย “มอบรหัสส่วนตัวหรือรหัสลับ เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมนั้น” และโอนสินทรัพย์ดิจิทัลไปยัง Wallet ของกรมบังคับคดี จากนั้นนำไปขายในตลาดอีกรอบหนึ่งตามกฎหมาย แต่ส่วนวิธีการที่ทำให้จำเลยบอกรหัสนั้นก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าทำอย่างไร อาจจะเป็นการใช้ข้อกฎหมายบังคับหรือวิธีอื่น ๆ ก็เป็นได้

ดูเหมือนว่า หน่วยงานในไทยเองก็ไม่ได้นิ่งเฉยต่อคริปโตแต่อย่างใด เรียกได้ว่าในประเทศไทยนั้นมีความก้าวหน้าด้านกฎหมายในวงการคริปโตเหนือกว่าประเทศรอบข้างเป็นอย่างมาก ต้องติดตามต่อไปว่าในปี 2019 นี้จะมีความคืบหน้าด้านกฎหมายเช่นในปี 2018 หรือไม่

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น