การดำเนินการซื้อขายสกุลเงินคริปโตนั้นมีลักษณะหลายอย่างที่คล้ายคลึงกับการซื้อขายสินทรัพย์อื่นๆในตลาดแบบดังเดิมเช่นตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็ยังมีหลายจุดซึ่งมีความแตกต่างกับการซื้อขายสินทรัพย์แบบอื่นๆอยู่ ดังนั้นแล้วมันจึงเป็นไปได้ที่จะนำศัพท์ทางเทคนิคซึ่งมีความหมายในเชิงเดียวกันมาใช้กับตลาดคริปโตโดยอาศัยการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะและธรรมชาติของตลาดคริปโตแต่ละแบบนั่นเอง
ช่องว่างราคานั้นเป็นสิ่งที่พบได้โดยปกติในตลาดการซื้อขายสินทรัพย์ทั่วไป นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถพบเห็นการนำรูปแบบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาเป็นหนึ่งในปัจจัยสำหรับการวิเคราะห์ราคา Bitcoin อีกด้วย
อะไรคือช่องว่างทางราคา?
ช่องว่างราคานั้นคือช่วงการเปลี่ยนแปลงบนกราฟราคาซึ่งราคาของสินทรัพย์นั้น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นหลังจากการปิดตลาดในวันก่อนหน้าอีกทั้งยังไม่มีการดำเนินการซื้อขายเกิดขึ้นอีกด้วย
หลายคนอาจคิดว่ากรณีดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นได้กับสกุลเงินคริปโตซึ่งมีปริมาณส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดอย่าง Bitcoin อีกทั้งตลาดคริปโตนั้นยังไม่ได้มีการดำเนินการเปิดปิดตลาดเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในตลาดสินทรัพย์ซึ่งหยุดการซื้อขายหลังจากวันศุกร์ แต่ตลาดดังกล่าวนั้นกลับมีการดำเนินการซื้อขายตลอดทั้งวันและไม่หยุดตลอดทั้งสัปดาห์ ดังนั้นแล้วจุดนี้นี้เองที่เราจะต้องกลับไปพิจารณารูปแบบการเติบโตของเหรียญ BTC ในช่วงตลอดหลายปีที่ผ่านมานี้
ช่องว่างบนกราฟราคาของ Bitcoin
ย้อนกลับไปในช่วงปี 2017 ซึ่งราคาเหรียญดังกล่าวนั้นขึ้นไปแตะช่วงราคาสูงสุดที่ 20,000 ดอลลาร์และเป็นที่จับตาอย่างมากทั่วโลก โดยไม่เพียงแต่นักลงทุนเท่านั้นที่ให้ความสนใจแแต่รวมถึงเหล่าสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย
โดยในช่วงเวลานั้นเองในเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีบริษัทนายหน้าสองรายในชื่อ Chicago Mercantile Exchange (CME) และ Chicago Board Options Exchange (CBOE) เปิดให้บริการซื้อขาย Bitcoin Futures โดยเปิดให้มีการเข้าทำสัญญาโดยใช้เงินสดสกุลดอลลาร์สหรัฐ ฯ ได้
อย่างไรก็ตามทั้ง CME และ CBOE เป็นบริษัทซึ่งได้จดทะเบียนอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ดังนั้นแล้วบริษัททั้งสองจึงดำเนินการและให้บริการซื้อขายในช่วงเวลาที่จำกัดเช่นเดียวกับการดำเนินการของบริษัทอื่น ๆ ภายในช่วงหนึ่งสัปดาห์ คือตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่ ห้าโมงเย็นของวันแรก ถึงสี่โมงเย็นของวันสุดท้ายตามเวลากลางสหรัฐ ฯ นั่นเอง
แม้ว่าบริษัทอย่าง CBOE จะไม่ได้มีการเปิดให้บริการดังกล่าวแล้ว แต่ทาง CME ซึ่งยังคงให้บริการอยู่นั้นจะทำการปิดให้บริการทุกสัปดาห์ในช่วงวันศุกร์ แต่ตลาด Bitcoin นั้นก็ไม่ได้หยุดนิ่งตามไปด้วย อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างมากนั้นยังมักจะเกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์อีกด้วย ดังนั้นแล้วคำถามคือจะเกิดอะไรขึ้นหากเป็นกรณีของการทำกำไรแบบ Arbitrage ซึ่งส่งผลให้เกิดช่องว่างราคาขึ้น?
เมื่อพิจารณาตัวอย่างจากกราฟข้างต้นแล้วจะพบว่าในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อน ช่องว่างราคานั้นได้เกิดขึ้นโดยที่ราคา Bitcoin นั้นได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากไปแตะที่ช่วงราคา 10,000 ดอลลาร์ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น นอกจากนี้แล้วช่องว่างราคายังได้เคยเกิดขึ้นมาก่อนอีกในช่วงเดือนกันยายนซึ่งทางบริษัท CME ได้ปิดตลาดที่ราคา 10,150 ดอลลาร์ และได้เปิดตลาดอีกครั้งที่ราคา 10,400 ดอลลาร์ในช่วงวันจันทร์ถัดมา คำถามคือเกิดอะไรขึ้นในระหว่างช่วงเวลาเหล่านี้?
แล้วช่องว่างทางราคาของ Bitcoin นั้นจะถูกเติมเต็มโดยปัจจัยอื่น ๆ หรือไม่
แม้ว่าจะมีบางกรณีซึ่งช่องว่างเหล่านี้ยังคงถูกปล่อยทิ้งไว้ แต่ในกรณีส่วนใหญ่นั้นช่องว่างเหล่านี้ก็ได้ถูกปิดลงหลังจากการดำเนินการซื้อขาย Futures ระยะสั้นเกิดขึ้น โดยเมื่ออ้างอิงจากแหล่งข้อมูลนั้นพบว่าหากพิจารณาช่องว่างราคาในช่วงสุดสัปดาห์ทั้งหมด 100 ครั้งแล้ว ช่องว่างกว่า 95 ครั้งนั้นมักจะถูกเติมเต็มโดยปัจจัยอื่นหรือถูกปิดลงในที่สุด และหากเราพิจารณาสถิติแล้วจะพบว่ากว่า 50 ครั้งนั้นได้ถูกปิดลงในช่วงวันเปิดตลาดและตามมาด้วยอีก 28 ครั้งที่เหลือที่ได้ถูกปิดลงภายในสัปดาห์เดียวกันนั่นเอง
หากพิจารณากราฟรายวันแล้วจะพบว่ามีหลายตัวอย่างของการที่ช่องว่างทางราคาเหล่านี้ได้ถูกปิดลง ซึ่งในบางครั้งนั้นได้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างฉับพลันโดยปรากฎบนกราฟแบบแท่งเทียน หรือในกรณีอื่น ๆ เช่นการที่ช่วงราคาต่าง ๆ ได้เข้าแทนที่ช่องว่างเหล่านั้นนั่นเอง
ทำไม่ช่องว่างเหล่านี้ถึงต้องถูกเติมเต็มด้วย?
คำตอบสำหรับคำถามนี้มีหลายรูปแบบ แต่โดยเบื้องต้นแล้วหากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของราคานั้นเป็นไปในทิศทางขาขึ้นหรือขาลงมากเกินไปนั้น กรณีดังกล่าวมักจะตามมาด้วยการปรับตัวของราคานั่นเอง นอกจากนี้อีกหนึ่งเหตุผลที่เป็นไปได้สำหรับกรณีดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของราคาที่มากเสียจนไม่สามารถระบุช่วงแนวต้านหรือแนวรับได้ ทำให้เกิดการปรับตัวของราคาเพื่อให้เข้าสู่จุดสมดุลเช่นเดิมนั่นเอง
ช่องว่างราคาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อราคา Bitcoin หรือไม่?
คำถามนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ท่ามกลางวงการนักเทรดสกุลเงินคริปโตเนื่องจากยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมากพอที่จะหาข้อสรุปได้ว่าราคา Bitcoin นั้นได้รับผลกระทบโดยตรงจากช่องว่างราคาที่เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ได้มีหลายคนเชื่อว่ากรณีดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อราคาอยู่นั่นเอง
กรณีที่ชัดเจนอย่างมากเช่นการที่ราคาบนกราฟของ Bitcoin Futures ของบริษัท CME ได้ดิ่งลงในช่วงไม่กี่วินาที ซึ่งนักวิเคราะห์หลายรายก็ได้ออกมากล่าวถึงกรณีนี้ว่าเป็นไปได้สูงมากที่จะมีการปั่นราคาเกิดขึ้น
I cannot believe how crazy trading BTCUSD on the short term is right now. The gap on the CME has filled already. It's thinly traded yes. But man, I'm highly suspicious of the price action across all the exchanges of late, more so than usual. https://t.co/M3Pf4Cmksq
— Willy Woo (@woonomic) November 5, 2019
แล้วนักลงทุนจะสามารถสร้างผลประโยชน์จากช่องว่างเหล่านี้ได้หรือไม่?
นักลงทุนบางรายอาจมองว่าช่องว่างเหล่านี้น่าจะถูกเติมเต็มในช่วงเวลาไม่กี่วันถัดมาหลังจากที่เกิดขึ้น หรือบางรายอาจนำจุดนี้ไปใช้ประโยชน์ในฐานะส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนของพวกเขาเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้การดำเนินการในรูปแบบดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงสูงมากหากถูกใช้อย่างไม่ระมัดระวัง
ในตลาดการซื้อขายสินทรัพย์ทั่วไปนั้นมากจะมีความโปร่งใสมากกว่านี้ ตัวอย่างเช่นการที่นักลงทุนบางรายอาจทำการซื้อหุ้นหลังจากที่มีการปิดตลาดไปแล้วซึ่งอาจจะด้วยเหตุที่พวกเขาพิจารณารายงานการดำเนินการของบริษัทแล้วเห็นว่าน่าจะมีทิศทางราคาที่จะสร้างผลกำไรให้พวกเขาได้ แต่ในขณะเดียวกันตลาด Bitcoin นั้นไม่มีการหยุดการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม Exchange ต่าง ๆ ดังนั้นแล้วในกรณีตลาดคริปโตนั้นช่องว่างเหล่านี้อาจจะเป็นอะไรที่ซับซ้อนมากกว่าปกตินั่นเอง
หากพิจารณาแง่มุมทางเทคนิคแล้ว ทันทีที่ช่องว่างทางราคาเหล่านี้ปรากฎขึ้น มันจะทำให้ช่วงแนวต้านและแนวรับในขณะนั้นหายไป โดยไม่นานหลังจากนั้นช่องว่างเหล่านี้ก็มักจะถูกเติมเต็มและหายไปในที่สุดนั่นเอง
นอกจากนี้แล้วกฎหลัก ๆ ของการใช้งานช่องว่างทางราคานั้นมีดังนี้
- การซื้อขายนั้นควรที่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับช่วงราคาในกรอบการเปลี่ยนแปลงราคาที่กว้างขึ้น (อย่างน้อย 4 ชั่วโมง)
- ช่วงราคานั้นควรจะลดระดับลงมาสู่จุดแนวต้านดั้งเดิมซึ่งหมายความว่าช่องว่างทางราคาดังกล่าวนั้นได้รับการเติมเต็มเรียบร้อย และราคาได้กลับเข้าสู่แนวรับซึ่งเดิมเคยเป็นช่วงแนวต้านนั่นเอง
- การบริหารจัดการความเสี่ยงนั้นควรเป็นไปอย่างสมมาตร กล่าวคือเป็นไปในอัตรา 1 ต่อ 1 ในช่วงที่ช่องว่างราคานั้นได้ถูกปิดลงทั้งหมดแล้วนั่นเอง
กล่าวโดยสรุปแล้ว ช่องว่างทางราคานั้นเกิดขึ้นจากการที่ราคาของสินทรัพย์นั้นเปิดตลาดที่ราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาในช่วงวันก่อนของการซื้อขาย ซึ่งช่องว่างเหล่านี้ได้เริ่มปรากฎหลังจากที่ทางบริษัท CME ได้เปิดให้บริการซื้อขาย Bitcoin Futures ในช่วงปลายปี 2017 นั่นเอง โดยเมื่อพิจารณากราฟต่าง ๆ แล้วจะพบว่าส่วนใหญ่แล้วช่องว่างทางราคาเหล่านี้มักจะถูกปิดลงในช่วงสัปดาห์ถัดมา แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีกรณีที่ช่องว่างดังกล่าวนั้นได้ถูกเปิดค้างไว้อยู่ อีกทั้งแม้ว่ากรณีอาจมองได้ว่าเป็นช่องทางที่สามารถใช้ในการทำกำไรได้อย่างง่ายดาย แต่ทั้งนี้นักลงทุนก็ควรที่จะคำนึงถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องด้วย
ที่มา : Cryptopotato
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น