<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Microsoft ยื่นจดสิทธิบัตร ใช้พลังงานจากตัวมนุษย์และกิจกรรมเพื่อขุด Bitcoin

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อไม่นานนี้ Microsoft ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับระบบที่สามารถขุด cryptocurrency โดยใช้ข้อมูลที่ขับเคลื่อนจากมนุษย์ เมื่อพวกเขาออกกำลังกายหรือมีการอ่านโฆษณา

ในระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตรต่อองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา บริษัทยักษ์ใหญ่ ‘Microsoft’ กล่าวว่าระบบของพวกเขามีตัวเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจจับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ  เช่นเวลาที่ใช้ไปในการดูโฆษณาและแปลงมาเป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์อ่านได้เพื่อแก้ปัญหาสมการ เช่นเดียวกับที่ใช้ในระบบ proof-of-work สำหรับการขุด bitcoin 

“แทนที่จะใช้เครื่องขุดคริปโตที่มีขนาดใหญ่ ระบบจะทำการสร้างข้อมูลบางอย่างขึ้นมาตามกิจกรรมทางร่างกายของผู้ใช้งานโดยใช้กลไก proof-of-work ดังนั้นผู้ใช้งานจะสามารถแก้สมการได้โดยไม่ต้องดำเนินการเอง” อ้างอิงจากข้อมูลบนสิทธิบัตร”

ระบบจะทำการขุด cryptocurrency โดยอัตโนมัติจากการออกแรงทางกายภาพ โดยเซ็นเซอร์สามารถตรวจจับอัตราชีพจรที่เร็วขึ้นจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคุณและใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อแก้ไขสมการของบล็อก สแกนเนอร์ที่เชื่อมต่อกับหัวอาจใช้คลื่นสมองส่งสัญญาณออกมา ในระหว่างที่คุณมีการออกแรงเพื่อทำการขุด cryptocurrency นั่นเอง

Microsoft กล่าวว่าระบบนี้สามารถใช้เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้ทำงานบางอย่างได้ สแกนเนอร์สามารถตรวจจับกิจกรรมจากงานบางประเภทเช่น การจับสมาธิเมื่อมีการอ่านโฆษณาเป็นต้นและนำมายืนยันบล็อก ผู้ใช้งานก็จะได้รับรางวัลเป็น cryptocurrency

ในช่วงปลายปี 2017 บริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ทำการสำรวจว่า มนุษย์สามารถผลิตพลังงานได้เพียงพอหรือไม่ ซึ่งผลการทดสอบของพวกเขาพบว่า ความร้อนในร่างกายจากกลุ่มผู้ทดลองทั้งหมด 37 คนที่ถูกเก็บรวบรวมในช่วงเวลาสองชั่วโมงสามารถผลิตพลังงานเพียงพอสำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะขุดคริปโตอย่างต่อเนื่องนานถึง 8 วันเลยทีเดียว

แม้ว่า Microsoft จะมีการจดสิทธิบัตรดังกล่าว แต่มันก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าบริษัทจะดำเนินการสร้างระบบนี้จริงหรือไม่ และยังไม่ชัดเจนว่าโปรโตคอลเกิดการ Fork ของโปรโตคอลไปอีกเส้นทางหนึ่งหรือไม่ หรือมันจะกลาย blockchain ตัวใหม่ทั้งหมด ซึ่งจนถึงปัจจุบัน Microsoft ก็ไม่ได้มีการประกาศใด ๆ เพิ่มเติมออกมา

ที่มา : coindesk

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น