<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

อัตรา Funding Rate ของ Bitcoin future คืออะไรและทำไมนักเทรดควรจับตาดูอย่างกระชั้นชิด

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมาและดูเหมือนว่าข้อพิสูจน์นี้จะมาจากการเพิ่มขึ้นของสัญญา open interest ทั้งหมด 

สัญญา open interest คือ จำนวนสัญญาที่คงค้างทั้งหมดบนเว็บเทรดฟิวเจอร์สและตัวเลขดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นจาก 3.9 พันล้านดอลลาร์ไปเป็น 2.15 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยคิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 450%

นักเทรดส่วนใหญ่เชื่อว่าอัตรา funding rate ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงและสัญญา open interest ที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นบ่งบอกถึงแนวโน้มตลาดที่เป็นช่วงขาขึ้น แต่จริง ๆ แล้วมันอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป โดยในบทความนี้เราจะกล่าวอธิบายถึงอัตรา funding rate อย่างคร่าว ๆ และนำเสนอวิธีที่นักเทรดใช้ตัวชี้วัดอัตรา funding rate สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มของลาด

อัตราการระดมทุนอาจเป็นตัวบ่งชี้ของช่วงขาขึ้นและขาลง

โดยปกติแล้วสัญญาฟิวเจอร์สแบบไม่มีวันหมดอายุ (Perpetual contracts) จะมีการเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยในทุก ๆ แปดชั่วโมงเพื่อสร้างสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งแม้ว่าสัญญา open interest ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะเท่ากันอยู่ตลอดเวลา แต่อัตราเลเวอเรจนั้นอาจมีความแตกต่างกัน

เมื่อนักเทรดฝั่ง Long ต้องการใช้เลเวอเรจมากขึ้น พวกเขาจะต้องเป็นฝ่ายที่จ่ายค่าธรรมเนียม ดังนั้นในสถานการณ์นี้จึงมักถูกตีความว่าเป็นช่วงแนวโน้มขาขึ้น ตรงกันข้ามเมื่อนักเทรดฝั่ง Short ใช้เลเวอเรจที่มากขึ้นอัตรา funding rate ก็จะติดลบและฝ่าย Short ก็จะต้องเป็นคนจ่ายค่าธรรมเนียมแทน

เมื่อใดก็ตามที่นักเทรดใช้เลเวอเรจในระดับสูง นักวิเคราะห์มักชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของการถูก liquidate แม้ว่าสิ่งนี้จะพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องจริง แต่สถานการณ์นี้อาจเกิดขึ้นเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ ดังนั้นเราจึงไม่ควรใช้ตัวชี้วัดดังกล่าวเพื่อทำนายแนวโน้มของตลาด

อัตรา funding rate สามารถวิเคราะห์หาจุดต่ำสุดของราคาได้

เป็นที่สังเกตว่าอัตรา funding rate นั้นอยู่ที่ระดับ 0.15% และสูงกว่าต่อเซสชันรายแปดชั่วโมงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ โดยอัตรานี้เทียบเท่ากับ 3.2% ต่อสัปดาห์และค่อนข้างเป็นภาระหนักสำหรับนักเทรดที่ถือ Long Position  

ในทางกลับกันราคาของ BTC ที่ร่วงลดลงแตะจุดต่ำลงในวันที่ 27 มกราคมและ 28 กุมภาพันธ์ นั้นดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นท่ามกลางช่วงที่อัตรา funding rate อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งช่วงเวลาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่านักเทรดไม่เต็มใจที่จะใช้ leverage และนี่เป็นการพิสูจน์แล้วว่าในพวกเขาเริ่มมีความลังเลเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาด 

อัตรา funding rate ที่จุดต่ำสุดอาจต้องดูที่บริบท

แม้ว่าตัวชี้วัดอัตรา funding rate อาจช่วยวิเคราะห์หาจุดต่ำสุดของราคาได้ แต่ถึงกระนั้นเราก็ไม่ควรใช้ตัวชี้วัดนี้ในการวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด เนื่องจากอัตรา funding rate มักจะลดลง หลังจากที่มีการปรับฐานราคาไปแล้วเสมอ

ยิ่งไปกว่านั้นอัตรา funding rate ที่อยู่ในระดับสูงยังดึงดูดของความสนใจนักเทรดสาย arbitrage ที่ต้องการขายสัญญาแบบฟิวเจอร์สถาวร (perpetual futures) ควบคู่ไปกับการซื้อสัญญารายเดือนไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย ดังนั้นนักเทรดควรใช้ตัวชี้วัดนี้อย่างระมัดระวัง

เพื่อยืนยันถึงความไม่ไว้วางใจของนักลงทุนในการเปิดตำแหน่ง Long position สิ่งที่นักเทรดควรจับตาดูให้ดีอีกประการหนึ่งก็คือ สัญญาฟิวเจอร์สแบบรายเดือน ซึ่งแตกต่างจากสัญญาแบบฟิวเจอร์สแบบถาวร เนื่องจากสัญญาฟิวเจอร์สเหล่านี้มีวันหมดอายุที่ตายตัวและไม่มีอัตรา funding rate เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นราคาของสัญญาจึงแตกต่างจากกระดานเปลี่ยนแบบสปอตอย่างมาก