เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกได้อภิปรายโต้เถียงกันถึงเรื่องผลประโยชน์ข้ามพรมแดนของสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) โดยอ้างว่าโครงการต่างๆ เช่น ดอลลาร์ดิจิทัลของสหรัฐฯ จะช่วยพัฒนาโลกนี้ให้ดีขึ้น
ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศสนับสนุน CBDC ในงานในงานประชุมสุดยอดผู้นำ G20
องค์กรระดับโลกทั้งสองแห่งได้ร่วมกับธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ออกเอกสารที่ระบุว่า การประสานงานด้านสกุลเงินดิจิทัลจะทำให้สถานะการโอนเงินข้ามพรมแดนเดิมที่มีอยู่ ซึ่งต้องพึ่งพาบริการโอนเงินที่มีราคาแพงและล่าช้านั้นมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
โดยนาย Indermit Gill รองประธานกลุ่มธนาคารโลกกล่าวว่า “บริการชำระเงินข้ามพรมแดนที่เร็วกว่า ถูกกว่า โปร่งใสกว่า และครอบคลุมมากกว่าจะส่งผลดีต่อพลเมือง ธุรกิจ และเศรษฐกิจทั่วโลก
เทคโนโลยีดังกล่าวได้ช่วยให้นาย Jon Cunliffe รองผู้ว่าการธนาคารแห่งอังกฤษเริ่มต้น “รีเซ็ต” ระบบการชำระเงินเดิมที่มีอยู่และเสริมสร้างระบบการชำระเงินใหม่ให้แข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม เขากล่าว
เอกสารดังกล่าวนี้ถูกจัดทำขึ้นสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G20 ในอิตาลี ซึ่งเป็นงานประชุมที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังและนายธนาคารกลางจากประเทศชั้นนำของโลกมารวมตัวกัน
เอกสารนี้ได้เผยให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง ซึ่งเป็นสกุลเงินที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา และเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่จะเปิดให้บริการในรูปแบบเดียวกันกับลูกค้ารายย่อยที่ธนาคารกลางจัดหา swap lines ให้กันและกัน (เพื่อให้แน่ใจว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะสามารถเข้าถึงได้ง่ายสำหรับการแลกเปลี่ยน)
อย่างไรก็ตามในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ภายในงานได้มีการกล่าวถึง เรื่องความเสี่ยงของการเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของธนาคาร โดยกล่าวว่าการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนที่ง่าย อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการดำเนินงานทั้งในภาคการธนาคารและสกุลเงินในท้องถิ่น อ้างอิงตามข้อมูลการวิจัย
เอกสารดังกล่าวเน้นย้ำว่าเป้าหมายหลักคือ การตรวจสอบการขยายสาขาของเทคโนโลยีดังกล่าวในระดับโลก ด้วยการปล่อยให้แต่ละประเทศพิจารณาถึงประโยชน์ภายในและข้อเสียของการออกสกุลเงินทัลร่วมกัน
“CBDC มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพของการชำระเงินข้ามพรมแดน ตราบใดที่การออกแบบพวกมันเป็นมีหลักฐานว่า ‘ไม่เป็นอันตราย’” ต่อระบบการเงินเดิมที่อยู่เดิม เอกสารเขียนระบุ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ วางแผนที่จะเผยแพร่บทวิจัยเกี่ยวกับแนวคิดในการออกสกุลเงินดอลลาร์ดิจิทัลในช่วงซัมเมอร์นี้ หลังจากนั้นถึงจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะ (Hearing) และรัฐสภา
ที่มา : ลิงก์