หลังจากที่ธนาคารกลางของไนจีเรีย (CBN) ได้มีคำสั่งให้สถาบันการเงินต่าง ๆ จำกัดการให้บริการกับธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับคริปโตเคอร์เรนซี จนส่งผลให้นักเทรดในประเทศไนจีเรียหันไปใช้การแลกเปลี่ยนแบบ peer-to-peer (P2P)
จากแผนภูมิด้านบนจะเห็นว่าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ประเทศไนจีเรียมีการแลกเปลี่ยนแบบ P2P เพิ่มขึ้น
ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปริมาณการซื้อขายแบบ P2P ในประเทศไนจีเรียมีมูลค่าแตะระดับ 38 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดอันดับที่ 2 ในประวัติศาสตร์การแลกเปลี่ยน P2P ของประเทศ และปริมาณการซื้อขายที่พุ่งขึ้นนี้แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นของนักเทรด หลังการปราบปรามของรัฐบาล
ก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ ธนาคารกลางของประเทศไนจีเรียได้มีมาตรการการกำกับดูแลที่ส่งผลให้แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนจำนวนมากมีปริมาณการซื้อขายที่ลดลง จนนักเทรดเริ่มหันไปใช้บริการแลกเปลี่ยนแบบ P2P มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่ยังขาดความชัดเจนด้านกฎระเบียบอย่างประเทศอินเดีย
นักเทรดบิทคอยน์ในประเทศไนจีเรียได้กล่าวว่า “ไม่มีอะไรหยุดคริปโตได้ มันคืออนาคต และเราจะไม่ปล่อยให้คนโง่เขลาบางคนพรากอนาคตไปจากเรา เราเป็นชาวไนจีเรีย การใช้คริปโตเป็นทางออกสำหรับความยากจน”
ประเทศไนจีเรียเป็นอันดับหนึ่งในการซื้อขายแบบ P2P ด้วยปริมาณการซื้อขายที่มีมูลค่า 8.34 ล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลที่บันทึกไว้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ตามหลังมาด้วยประเทศกานาที่มีปริมาณการซื้อขายคิดเป็นมูลค่า 2.58 ล้านดอลลาร์
แม้ว่าคำสั่งแบนของรัฐบาลจะส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นในตลาด แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อนักเทรดที่ต้องการจะเข้าถึงคริปโต ซึ่งนักเทรดชาวไนจีเรียจำนวนมากมองว่าคำสั่งแบนเป็นการเปิดโอกาสให้กับความก้าวหน้าของคริปโตในประเทศ