การวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่า ‘impermanent losses’ หรือค่าเสียโอกาสจากการฟาร์มกำลังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้ให้บริการสภาพคล่องบนแพลตฟอร์ม Uniswap v3
ตามรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 พ.ย. โดยบริษัท Topaz Blue และ Bancor Protocol พบว่า 49.5% ของผู้ให้บริการสภาพคล่องใน Uniswap v3 ได้รับผลตอบแทนที่ติดลบจาก impermanent loss
รายงานพยายามเน้นย้ำถึงประเด็นที่ว่า Uniswap v3 เป็น automated market maker (AMM) ให้ผลตอบแทนจากค่าธรรมเนียมมากที่สุดในวันนี้ แต่ค่า impermanent loss นั้นกลับสูงเกินกว่าค่าธรรมเนียมที่ได้รับ ซึ่งจากการวิจัยคาดว่า การถือครองสินทรัพย์เอาไว้เฉย ๆ โดยไม่ทำอะไรอาจฟังดูเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้ให้บริการสภาพคล่อง
“ผู้ให้บริการสภาพคล่องโดยเฉลี่ย (LP) ในระบบนิเวศ Uniswap V3 กำลังแบกความสูญเสียจากกิจกรรมทางการเงินที่พวกเขาเลือกและมันจะทำกำไรได้มากกว่า หากพวกเขาเพียงแค่ถือสินทรัพย์เอาไว้เฉย ๆ”
Impermanent Loss (IL) คืออะไร
Impermanent Loss คือค่าเสียโอกาสจากการฟาร์มที่เกิดขึ้นในเวลานั้น แต่ยังไม่ใช่ค่าเสียโอกาสจริง เกิดจากการฟาร์มคู่เหรียญใน Liquidity Pools มีมูลค่าน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการถือเหรียญนั้นเอาไว้เฉย ๆ
Impermanent Loss เกิดขึ้นจากการที่ Liquidity Pools บนระบบฟาร์มต่าง ๆ นั้นดูแลด้วย AMM หรือการสร้างสภาพคล่องทางการเงินอัตโนมัติ (AMM : Automated Market Maker) ทำให้เมื่อเหรียญใดเหรียญหนึ่งมีราคาขยับเพิ่มขึ้นหรือลดลง จากราคาเมื่อเราเริ่มต้นทำการ stake ในฟาร์ม โดยที่อีกเหรียญไม่ได้มีราคาขยับตาม Impermanent Loss จะเริ่มเกิดขึ้นทันที
โดยค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีการประมาณการไว้ดังต่อไปนี้
- การเปลี่ยนแปลงราคา 1.25 เท่า = ขาดทุน 0.6%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 1.50 เท่า = ขาดทุน 2.0%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 1.75 เท่า = ขาดทุน 3.8%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 2 เท่า = ขาดทุน 5.7%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 3 เท่า = ขาดทุน 13.4%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 4 เท่า = ขาดทุน 20.0%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 5 เท่า = ขาดทุน 25.5%
จากการสุ่มวิจัยผู้ให้บริการสภาพคล่องทั้งหมดบน Uniswap v3 พบว่า 43% ได้รับค่าธรรมเนียมมูลค่า 199 ล้านดอลลาร์จากวอลุ่มการซื้อขายทั้งหมด 108,500 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคมถึง 20 กันยายน 2021
และในช่วงเวลาดังกล่าว กลุ่มดังกล่าวค่าเสียโอกาสจาก impermanent loss มูลค่า 260 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ขาดทุนสุทธิรวม 60 ล้านดอลลาร์
จากการวิเคราะห์ผู้ให้บริการสภาพคล่องทั้ง 17 กลุ่มพบว่า 80% มีค่าเสียโอกาสจาก impermanent loss มากกว่าค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากผู้ให้บริการสภาพคล่อง และมีเพียงผู้ให้บริการสภาพคล่องจากคู่เงิน (WBTC/USDC, AXS/WETH และ FTM/WETH) เท่านั้นที่เห็นว่ามีกำไรสุทธิเป็นบวก
รายงานที่นำเสนอไปข้างต้นทำให้ผู้ใช้ที่กำลังพิจารณาจัดหาสภาพคล่องให้กับ Uniswap v3 เริ่มเปลี่ยนความคิดใหม่และพิจารณาในเรื่องนี้ให้มีความรอบคอบมากขึ้น พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าหากพวกเขาถือครองสินทรัพย์ไว้เฉย ๆ จะได้กำไรมากกว่าการจัดหาสภาพคล่องหรือไม่ ?