ในขณะที่โลกเริ่มเปลี่ยนไปใช้การชำระเงินแบบดิจิทัลและสกุลเงินมากขึ้น ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังสำรวจว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้จะสามารถนำมาใช้เพื่อแก้ไขจุดบอดในระบบการเงินได้อย่างไร ซึ่งจะต้องสร้างความเชื่อมั่นและช่วยปกป้องระบบของธนาคารกลางไปพร้อม ๆ กัน โดยวิธีหนึ่งที่ธนาคารกลางต้องการทำให้โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเป็นดิจิทัลคือ การใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ทั้งนี้ CBDC แบ่งถูกออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกันคือ Retail CBDC (เงินสดเทียบเท่าดิจิทัลสำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคประชาชนและและธุรกิจ) และ Wholesale CBDC (สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินและเข้าถึงได้โดยสถาบันการเงิน)
ซึ่งในบทความนี้นาย ราฮูล แอดวานี (Rahul Advani) ผู้อำนวยการนโยบายภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) ของริปเปิล ( Ripple) จะมาบอกเล่าถึงความสำคัญเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ในหัวข้อ “ความสำคัญของสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) สำหรับการโอนเงินข้ามพรมแดน” ให้เพื่อน ๆ ได้ทราบกัน
ย้อนกลับไปในเดือนตุลาคม 2021 ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank of International Settlements – BIS) รายงานว่า มี Retail CBDC ที่เริ่มใช้งานแล้ว 2 รายและโครงการนำร่อง CBDC ใน 26 เขตอำนาจรัฐ ในขณะที่ธนาคารกลาง 65 แห่งได้แจ้งต่อสาธารณะเกี่ยวกับโครงการด้าน CBDC ที่พวกเขากำลังเตรียมความพร้อมสำหรับภูมิทัศน์ทางการเงินในอนาคต หนึ่งในธนาคารกลางที่กล่าวถึงก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเพิ่งหารือเรื่อง Retail CBDC ไปเมื่อไม่นานมานี้
ภายใต้การสนับสนุนจากเทคโนโลยีบล็อคเชน มีหลายเหตุผลว่า ทำไม CBDC จึงเป็นคำตอบแห่งอนาคตสำหรับ ธนาคารกลาง ด้วยเป้าหมายนโยบายร่วมกันสำหรับ CBDC ในเอเชียแปซิฟิกคือ ความต้องการส่วนเสริมดิจิทัล ที่ทำงานควบคู่ไปกับสกุลเงินของธนาคารกลาง (fiat) เพื่อที่จะสนับสนุนระบบการชำระเงินที่ยืดหยุ่นและมีความหลากหลายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากธนาคารกลางได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่พึงได้รับจาก CBDC เป้าหมายของนโยบายจึงได้รับ การพัฒนาต่อยอด เพื่อจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคมเช่น การผลักดันให้มีการ เข้าถึงบริการทางการเงินที่มากขึ้นในหมู่ผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร (unbanked) ซึ่งตามรายงานของธนาคารโลกนั้นมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 18% ของ ประชากรวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้ทาง Ripple จึงได้ร่วมมือกับธนาคารกลางภูฏานในโครงการนำร่อง CBDC โดยมีเป้าหมายเพื่อ เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินจากปัจจุบัน 64% เป็น 85% ภายในปี 2023 นอกจากนี้ทาง Ripple ยังได้ประกาศความร่วมมือกับสาธารณรัฐปาเลา เกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์สำหรับการชำระเงินข้ามพรมแดน และสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับ การสนับสนุนจากดอลลาร์สหรัฐ (USD) เพื่อช่วยให้พลเมืองของปาเลาเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ CBDC ยังช่วยทบทวนวิธีที่เรากำหนดและแลกเปลี่ยนมูลค่า เพื่อสร้างระบบการชำระเงินภายในประเทศ ที่ยืดหยุ่นและหลากหลายมากยิ่งขึ้น เราสามารถใช้ CBDC เป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนเป้าหมายนโยบายที่เฉพาะเจาะจงได้ เช่น ให้การสนับสนุนภาคการใช้จ่ายเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือเพื่อให้ความช่วยเหลือในยามวิกฤต โดย CBDC ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้อาจจำกัดเวลา สร้างเฉพาะภูมิภาค และเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ของนโยบายที่เฉพาะเจาะจง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มักถูกมองข้ามแต่มีความสำคัญอย่างมากก็คือ การที่ CBDC จะสามารถเปลี่ยนแปลงการชำระเงินข้ามพรมแดนในตลาดแรงงานทั่วโลกได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่การส่งเงินกลับประเทศนั้น มีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ
กรณีศึกษาสำหรับการใช้ CBDC ในการโอนเงินข้ามพรมแดนของประเทศไทย
เช่นเดียวกับประเทศทั้กำลังพัฒนาหลาย ๆ แห่งทั่วเอเชียแปซิฟิก ในประเทศไทยนั้น การโอนเงินถือเป็นเส้นทางหลักของเศรษฐกิจ โดยแรงงานไทยในต่างประเทศมีการส่งเงินกลับประเทศมูลค่าประมาณ 5.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020 ซึ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลักดันการออมในภาคครัวเรือน ถือเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นกว่า 39% จาก 4.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับเงินที่ส่งเข้ามาในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2018
การวิจัยพบว่า การโอนเงินกลับประเทศมีประสิทธิภาพในการลดความผันผวนของรายได้ครัวเรือนจำนวนมากโดยเฉลี่ย 5% ทำให้มี เสถียรภาพมากขึ้นแม้ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน ครัวเรือนที่รับเงินโอนมีแนวโน้มที่จะออมเงินค่อนข้างสูงกว่าครัวเรือนที่ไม่ได้รับเงินโอน
แต่ถึงกระนั้น การส่งเงินจากต่างประเทศกลับมาที่ประเทศไทยก็ยังมีค่าใช้จ่ายสูง เต็มไปด้วยความยุ่งยากและดำเนินการ ล่าช้า ข้อมูลจากธนาคารโลกระบุว่า ต้นทุนการทำธุรกรรมเฉลี่ยในการส่งเงินไปยังประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 7.7% ในปี 2020
สาเหตุหลักมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ให้บริการโอนเงินบางแห่งมักมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะได้รับความสนใจเพียงพอจากสถาบันการเงินรายใหญ่ ทำให้เป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะสามารถลดต้นทุนต่อหน่วยที่จำเป็น (economy of scale)
ความยุ่งยากโดยธรรมชาติที่มีอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินทั่วโลกในปัจจุบัน ทำให้การโอนเงินข้ามพรมแดน มีค่าใช้จ่ายสูงและล่าช้า ทำให้เกิดปัญหากรณีการใช้งานที่สำคัญสำหรับ Retail CBDC
เติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปด้วย CBDC
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าการมาของ CBDC จะเป็นหนึ่งในการปฏิวัติประวัติศาสตร์ทางการเงิน อย่างไรก็ตามหากเราต้องการใช้ศักยภาพของ CBDC อย่างเต็มประสิทธภาพ ธนาคารกลางจะต้องลดช่องว่างดังกล่าวด้วยการทำให้มั่นใจว่า การส่งเงินข้ามพรมแดนนั้นทำได้อย่างราบรื่น เพื่อช่วยส่งเสริมภาคการค้าระหว่างประเทศและการเข้าถึงบริการทางการเงิน และไม่ใช่คงไว้ซึ่งสถานะเดิมที่มีอยู่ สิ่งนี้จะทำให้การทำงานร่วมกัน (Interoperability) ระหว่าง CBDC มีความสำคัญอย่างมาก ด้วยการอนุญาตให้ CBDC เชื่อมต่อกับบริการ ภายในประเทศอื่นๆ ได้ฃ
เช่นเดียวกันกับการเชื่อมต่อกับ CBDC อื่นๆ การทำงานร่วมกันนี้จะช่วยเพิ่มอรรถประโยชน์ของ CBDC ในการลดต้นทุนการทำธุรกรรม และลดอุปสรรคสำหรับผู้เข้ามาในตลาดรายใหม่ ในขณะที่ธนาคารกลางแต่ละแห่ง สามารถรักษาอำนาจอธิปไตยทางการเงินของตนเอาไว้ได้
หากปราศจากการทำงานร่วมกันข้ามพรมแดน (cross-border interoperability) โครงการ CBDC ส่วนใหญ่จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ธนาคารกลางจะต้องจัดการกับความท้าทายใน การทำงานร่วมกันโดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่ภาคเอกชนนำเสนอ เพื่อเร่งต่อยอดและพัฒนาความคิดริเริ่มใหม่ๆ และด้วยเหตุนี้จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากเศรษฐกิจได้อย่างครอบคลุม
เกี่ยวกับ Ripple
Ripple คือผู้ให้บริการระบบการชำระเงินระหว่างประเทศทั่วโลกแบบเรียลไทม์ด้วยเทคโนโลยี บล็อกเชน และคริปโต ที่นำเอาเทคโนโลยีทางการเงินอันทันสมัยมาประยุกต์ใช้ ด้วยเทคโนโลยี RippleNet เครือข่ายการชำระเงินระดับโลก ที่ทำให้ลูกค้าสามารถชำระเงินทั่วโลกได้ทันที เชื่อถือได้และต้นทุนต่ำ โดยธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินทั่วโลก สามารถใช้สกุลเงินดิจิตอลที่มีชื่อว่า XRP เป็นตัวกลางในการโอนเงินระหว่างประเทศ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและขยายบริการ ไปสู่ตลาดใหม่ได้ Ripple มีสำนักงานอยู่ที่ซานฟราซิสโก วอชิงตัน ดีซี นิวยอร์ค ลอนดอน มุมไบ สิงคโปร์ เซาเปาโล เรคยาวิก และ ดูไบ Ripple มีลูกค้าหลายร้อยรายทั่วโลก