นักฟิสิกส์ทฤษฎีและผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลควอนตัมนาย Sankar Das Sarma ได้โต้แย้งในนิตยสาร MIT Technology Review ว่าคอมพิวเตอร์ควอนตัมยังคงห่างไกลจากการถอดรหัสวิธีการเข้ารหัสแบบ RSA (ขั้นตอนวิธีสำหรับการเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตร)
การเข้ารหัสลับแบบ RSA เป็นการใช้อัลกอริธึม, รหัส และคีย์เพื่อเข้ารหัสข้อมูลส่วนตัวอย่างปลอดภัยโดยปราศจากการแทรกแซงจากบุคคลที่สามหรือผู้มุ่งร้าย เช่น แฮ็กเกอร์ โดยตัวอย่างของวิธีการที่จะทำนั้น คือการสร้างกระเป๋าเงินดิจิทัลแบบที่มี Public key และ Private key
เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ควอนตัมนั้นถูกมองว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเทคโนโลยี Blockchain และ คริปโต ซึ่งทำให้มีหลายคนเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้ จะสามารถก้าวหน้ามากพอที่จะแฮ็กระบบคริปโตได้ และอาจส่งผลให้มีการขโมยทรัพย์สินดิจิทัลมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ หรือทำให้เทคโนโลยี Blockchain ต้องหยุดการชะงักลงในที่สุด
ปัจจุบันนาย Sarma ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ทฤษฎีสสารควบแน่นของมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ได้ให้ความเห็นเมื่อต้นสัปดาห์นี้ผ่านบทความของ Technology Review โดยเขากล่าวว่า “เขารู้สึกกระวนกระวายใจที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมกลายมาเป็นกระแสในช่วงนี้ และเขาก็ชอบที่เห็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ แต่คอมพิวเตอร์ควอนตัมก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องที่คนให้ความสนใจได้อยู่ดี”
“มันเหมือนกับการพยายามสร้างสมาร์ทโฟนที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยใช้หลอดสุญญากาศมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 1900” นาย Sarma กล่าว
นาย Sarma เน้นย้ำว่าการแยกตัวประกอบเฉพาะที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมสามารถแก้ปัญหาที่ยาก ๆ ในการค้นหาตัวเลขจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว และการเข้ารหัสแบบถอดรหัสนั้นอยู่เหนือความเข้าใจของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โดยเจ้าตัวได้พุ่งประเด็นไปที่ “qubits” ซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดของข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์เชิงควอนตัมเช่น อิเล็กตรอนหรือโฟตอนที่หากเปิดใช้งานจะทำให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมมีความสามารถมากขึ้น
“คอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันมี qubits ที่ใช้ถอดรหัสหลายสิบตัว และการที่จะสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่สามารถถอดรหัสรหัส RSA ได้นั้น จะต้องใช้หลายล้านหรือไม่ก็หลายพันล้านคิวบิต โดยขั้นตอนการดำเนินงานจะใช้หลายหมื่น qubits ในการคำนวณ ส่วน qubits ที่เหลือมีไว้ใช้เพื่อการแก้ไขข้อผิดพลาดและชดเชยการถอดรหัส” เขากล่าวเสริม
ในขณะที่นาย Sarma ลังเลที่จะเตือนผู้คนเกี่ยวกับการถอดรหัส เขาก็ได้สังเกตเห็นว่าคอมพิวเตอร์ควอนตัม “มีกรณีการใช้งานที่เทคโนโลยีในปัจจุบันไม่สามารถทำได้” เช่นเดียวกับที่ไม่มีใครสามารถทำนายได้ว่าทรานซิสเตอร์ตัวแรกที่ผลิตในปี 2490 จะนำไปสู่แล็ปท็อปและสมาร์ทโฟน
ถึงแม้จะมีความกังวลอยู่บ้างในความสามารถของคอมพิวเตอร์ควอนตัม แต่บริษัทจำนวนมากก็กำลังพยายามเพิ่มความปลอดภัยให้ระบบความปลอดภัยในเครือข่ายบล็อกเชน
อย่างไรก็ตาม JP Morgan บริษัทธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ได้เปิดเผยงานวิจัยเกี่ยวกับเครือข่าย Blockchain แบบควอนตัมคีย์ (QKD) ที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมนั้นจะสามารถทำการโจมตีได้ยาก และ ทางด้าน Xx labs เองก็ได้เปิดตัวเทคโนโลยี Blockchain ที่อ้างว่าเป็น “ระบบ Blockchain ที่มุ่งเน้นในด้านควอนตัมและเน้นความเป็นส่วนตัว”