<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

XRP คืออะไร ? อะไรที่เราควรรู้เกี่ยวกับ XRP และ Ripple

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ตั้งแต่ปี 1973 มีสิ่งที่เรียกว่า SWIFT (Society of Worldwild Interbank Telecommunication) ซึ่งก็คือสมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้บริการธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศทั่วโลกเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า SWIFT ก็ยังไม่สามารถทำหน้าที่ตัวกลางของธุรกรรมทางการเงินได้อย่างดีนัก จึงทำให้เกิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า  บล็อกเชน ขึ้นมาเพื่อแก้ข้อบกพร่องของ SWIFT ซึ่งก็คือเรื่องความล่าช้า 

ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้โลกของเราในตอนนี้เชื่อมต่อกันได้อย่างใกล้ชิดอย่างที่ไม่กี่สิบปีก่อนก็คงจินตนาการไม่ถึง การโอนเงินข้ามเขตแดนประเทศสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และค่าธรรมเนียมถูกกว่าการโอนเงินระบบเดิมมากอย่างน่ามหัศจรรย์

แล้ว  Ripple เข้ามามีส่วนในการปฏิรูปการชำระเงินข้ามเขตแดนอย่างไร?

Ripple เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกาที่พัฒนาระบบบล็อกเชนเป็นของตัวเองขึ้นในปี 2012 หลังจากการเกิดขึ้นของบิทคอยน์ ด้วยชื่อ RippleNet เพื่อสร้างระบบธนาคารที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและราคาถูก และยังเป็นบริษัทเบื้องหลังของบล็อกเชน XRPL ledger และสกุลเงินดิจิทัล  XRP ซึ่งเป็นหนึ่งในสกุลเงินคริปโตที่มีอยู่มากมายเหมือนปลาในมหาสมุทร

Ripple ใช้มาตรฐานตาม Interledger protocol ซึ่งเป็นกฎสากลของบล็อกเชนสำหรับการชำระข้ามเครือข่ายของ ledger ที่มีการเชื่อมต่อธนาคารมากกว่าสองธนาคารขึ้นไปด้วยการกำจัดตัวกลางและการควบคุมผ่านศูนย์กลาง เราเปรียบการทำงานแบบนี้ของ Interledger ได้กับการทำงานของอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำให้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่ใช้ระบบต่างกันสามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนและย่นระยะเวลาของการข้ามเครือข่ายเขตแดน 

โดยแต่ละ ledger ที่เข้ามามีส่วนร่วมในระบบ สามารถใช้งานเครือข่ายหรือสามารถแม้แต่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายที่เรียกว่า Nodes ได้ ในการเริ่มต้นการทำธุรกรรมนั้น RippleNet จะหาวิธีการที่เร็วที่สุดในการส่งโอนมูลค่าจากผู้โอนและผู้รับโอนโดยอัตโนมัติ ทั้งยังคำนวณค่าใช้จ่ายให้เสร็จสรรพอีกด้วย ซึ่งเป็นการดำเนินการผ่านบัญชีที่ได้รับการอนุมัติโดยแต่ละธนาคารผ่านการส่งข้อความก่อนหน้านั้นแล้ว ถือว่าปลอดภัย วางใจได้ เพราะในระหว่างการทำธุรกรรม เงินทุนจะถูกล็อกอย่างปลอดภัยใน ledger ของธนาคารที่เข้าร่วมอย่างถูกกฎหมายในบัญชี escrow จนกว่าการโอนจะลุล่วงหรือล้มเหลวหากมีเงื่อนไขไม่ตรงตามเกณฑ์ ในส่วนผลกำไร Ripple ก็จะแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกรรมให้กับธนาคารของ ledger นั้น ๆ 

ประวัติของ Ripple ก่อนจะมาเป็น Ripple และ XRP ในปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นของ Ripple เกิดจากวิศวกรคอมพิวเตอร์สามคน ได้แก่ David Schwartz Jed McCaleb และ Arthur Britto ในปี 2011 ที่เกิดความสนใจในบิทคอยน์และต้องการที่จะสร้างระบบการส่งโอนมูลค่าที่มีความเสถียร จึงก่อตั้ง XRP ledger ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากนักลงทุน Chris Larsen เริ่มตั้งบริษัทชื่อว่า NewCoin ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น OpenCoin ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น Ripple ในท้ายที่สุด 

บทบาทของ XRP ในระบบ Ripple

ส่วนใหญ่คนจะเข้าใจผิดกันว่าเหรียญ XRP กับระบบ Ripple ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งที่จริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น เราแยกสองอย่างนี้ออกจากกันได้ด้วยการนึกภาพว่า Ripple เป็นตัวเครือข่ายที่ธนาคารใช้เพื่อแก้ปัญหาการทำธุรกรรมทางการเงินข้ามเขตแดน และเพื่ออำนาจความสะดวกให้กับการแลกเปลี่ยนทั้งเงินทั่วไปและเงินดิจิทัล ในขณะที่เหรียญ XRP เป็นเหมือนสิ่งของในเครือข่ายของ Ripple ที่ใหญ่กว่ามัน และเหรียญ XRP นี้มีหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเงินสกุลที่ต่างกันเพื่อให้การทำธุรกรรมของเงินต่างสกุลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจำเป็นต้องใช้ XRP เสมอไป จริง ๆ แล้วไม่ว่าเงินสกุลใดหรือทรัพย์สินใดก็สามารถนำมาใช้ในการทำธุรกรรมในเครือข่าย Ripple ได้ เพียงแต่ว่าการใช้ XRP เนี่ยจะช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการเป็นตัวกลางระหว่างเงินสองสกุลเพียงเท่านั้นเอง

XRP คืออะไร ทำงานยังไง และมีประโยชน์ยังไง?

XRP ก็คือ เหรียญคริปโตประจำเครือข่าย Ripple เป็นเหมือนสิ่งของที่เป็นตัวกลางในการโอนทั้งเงินทั่วไปและเงินดิจิทัลข้ามเขตแดนด้วยราคาต้นทุนที่ต่ำอย่างมีประสิทธิภาพ 

บล็อกเชนของ Ripple เป็นเสมือนตัวเก็บบันทึกธุรกรรมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ผ่านสมุดบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า XRP Ledger นอกจากนี้ก็มี XRPL ที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลธุรกรรม เช่น ยอดคงเหลือ บัญชี และรายการโอน โดยรักษาความปลอดภัยด้วย cryptography 

ประโยชน์ของ XRP อยู่ที่ความรวดเร็วชนิดที่เสร็จสิ้นสามารถทำธุรกรรมเสร็จสิ้นได้ภายในไม่กี่วินาที ไม่ว่าจะเป็นเงินต่างท้องถิ่นหรือต่างสกุลกัน ก็ทำได้อย่างรวดเร็วด้วยค่าธรรมเนียมต่ำ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาของระบบธนาคารแบบเดิมที่ใช้เวลาเป็นวัน ๆ และเก็บค่าธรรมเนียมที่แพงจนกระอักเลือด

นอกจากนั้น ภายใต้เครือข่าย Ripple ก็มีการตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมอยู่ตลอดทุก ๆ สามถึงห้าวินาที เมื่อตรวจสอบแล้วระบบจึงจะบันทึกลงใน XRP ledger และลงในบล็อกเชนพร้อมระบุเวลาไว้อย่างถาวร ทำให้เป็นการทำธุรกรรมเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ 

เราจะซื้อ XRP ยังไงและซื้อในไทยได้ที่ไหนบ้าง 

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเว็บเทรดคริปโตในประเทศไทยหลายรายที่รองรับการซื้อขายเหรียญ XRP และในบทความนี้ทางสยามบล็อกเชนจะชวนเพื่อนมาดู เว็บกระดานแลกเปลี่ยนในประเทศไทยที่รองรับการซื้อขายเหรียญ XRP

ส่วนเว็บเทรดคริปโตชั้นนำที่รองรับการซื้อขาย XRP ในต่างประเทศก็จะมีรายชื่อแพลตฟอร์มดังต่อไปนี้ 

  • Binance
  • Bitfinex
  • Huobi
  • Kraken
  • KuCoin
  • OKX

นอกจากนี้แล้ว กระดานแลกเปลี่ยนกระจายอำนาจอย่าง SushiSwap และ PancakeSwap ก็สามารถทำการเทรดเหรียญ XRP ได้เช่นกัน

การลงทุน XRP เป็นการลงทุนที่ดีหรือไม่

แน่นอนว่ามันไม่มีการการันตีอย่างสมบูรณ์หรอกว่า การลงทุนไหนจะปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับการทำเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเรากำลังพูดถึงคริปโตที่มีตลาดผันผวนมากจนน่ากลัว อย่างไรก็ตามเรายังมีเงื่อนไขปัจจัยบางเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้ในการพิจารณาเพื่อช่วยตัดสินใจในการลงทุนได้

แม้จะมีเป้าหมายหลักในเรื่องการชำระและโอนเงินข้ามประเทศ แต่ XRP ก็ยังไม่เข้าสู่กระแสหลัก โดยสถาบันการเงินที่แสดงความสนใจใน Ripple และเทคโนโลยีของ Ripple ยังคงทดสอบเครือข่ายอยู่

แม้ว่าการต่อสู้คดีทางกฎหมายระหว่าง Ripple กับ SEC จะขัดขวางการยอมรับและการเติบโตของ XRP ในฐานะสกุลเงินดิจิทัล แต่จากสถานการณ์ล่าสุดที่ Ripple ได้ชัยชนะในคดีความที่ถูกยื่นฟ้องโดย SEC ศาลได้ตัดสินว่า XRP นั้นไม่ใช่หลักทรัพย์ ทำให้ราคาเหรียญ XRP พุ่งสูงขึ้นทันทีถึง 25 % เป็นผลให้ XRP กลายเป็นเหรียญคริปโตที่นักลงทุนต่างให้ความสนใจกันอีกครั้ง

ที่มา : cointelegraph