<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Craig Wright อ้างเป็นเจ้าของกระเป๋าเงิน 1Feex ที่เชื่อมโยงกับ BTC มูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาทที่หายไป

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เรื่องอื้อฉาวของ Mt. Gox ยังคงเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากเว็บเทรดได้ประสบปัญหาโดนแฮ็กครั้งใหญ่ในปี 2014 อันเป็นเหตุให้เหรียญ Bitcoin (BTC) ถูกขโมยกว่า 850,000 BTC หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 450 ล้านดอลลาร์

การตามหา Bitcoin ที่ถูกขโมยดำเนินต่อในปี 2019 กลุ่มเจ้าหนี้ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูคดีแพ่งเพื่อเรียกเงินที่เสียไปกลับคืน Nobuaki Kobayashi ผู้ดูแลทรัพย์สินของ Mt. Gox ได้ขายทรัพย์สินที่เหลือจากกระดานเทรดเพื่อชำระคืนเจ้าหนี้ 

และเมื่อเร็ว ๆ นี้ Craig Wright ผู้ประกอบการชาวออสเตรเลียที่ประกาศว่าตนเองเป็นผู้สร้าง Bitcoin ได้อ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่อยู่กระเป๋าเงินคริปโต 1Feex ซึ่งเชื่อมโยงกับการแฮ็ก Mt. Gox ที่เกิดขึ้น โดยคำกล่าวอ้างของ Wright ก่อให้เกิดคำถามตามมามากมายเนื่องจากที่อยู่กระเป๋าเงินคริปโต 1Feex ได้รับ Bitcoin จำนวนมากในปี 2013 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ Mt. Gox โดนแฮ็ก

เรื่องอื้อฉาวของ Mt. Gox ได้รับการพูดถึงอีกครั้ง

การโต้เถียงรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อ Mark Karpeles อดีต CEO ของ Mt. Gox กล่าวถึงเรื่องที่อยู่กระเป๋าเงินคริปโต 1Feex และการที่มันเชื่อมโยงกับการแฮ็กของ Mt. Gox และในขณะเดียวกัน Wright ก็ได้อ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่อยู่กระเป๋าเงินคริปโต 1Feex โดยระบุว่าเงินที่ได้รับนั้นได้มาด้วยวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมาย 

อย่างไรก็ตาม Karpeles ได้ออกแถลงการณ์รับรองว่า Bitcoin จำนวน 79,956.55 เหรียญ ที่ส่งไปยังที่อยู่กระเป๋าเงินคริปโต 1Feex เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2011 ถูกโอนไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระเป๋าเงิน Bitcoin เดิมของกระดานเทรด และถือเป็นทรัพย์สินของ Mt. Gox Estate ที่ถูกขโมยเพื่อผลกำไรของกลุ่มเจ้าหนี้ของ Mt. Gox

คำแถลงของ Karpeles ทำให้เกิดคำถามร้ายแรงเกี่ยวกับความถูกต้องตามกฎหมายของการอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่อยู่กระเป๋าเงินของ Wright และความเป็นไปได้ที่เขาอาจได้รับเงินที่ถูกขโมยไป หรืออาจจะรวมไปถึงการสมรู้ร่วมคิดในการแฮ็ก Mt. Gox

ความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเจ้าหนี้ของ Mt. Gox:

  • การชำระเงินคืนเต็มจำนวน: สถานการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าหนี้คือการได้รับการชำระเงินคืนเต็มจำนวนสำหรับผู้ที่สูญเสียเงินไป อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์นี้ดูเหมือนจะไม่น่าเป็นไปได้ เนื่องจากจำนวน Bitcoin ที่ถูกขโมยนั้นมีมากเกินกว่าจำนวนสินทรัพย์ที่ได้รับการกู้คืน
  • การชำระเงินคืนบางส่วน: ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือเจ้าหนี้จะได้รับการชำระเงินคืนเพียงบางส่วนจากเงินที่เสียไป ซึ่งสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้ถ้าหากบริษัทจัดการทรัพย์สินสามารถกู้คืนทรัพย์สินได้มากขึ้น หรือหากทรัพย์สินที่เหลืออยู่มีมูลค่ามากกว่าที่คาดไว้
  • ไม่มีการชำระเงินคืน: สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเจ้าหนี้คือการไม่ได้รับการชำระเงินคืนเลย ซึ่งกรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้ถ้าหากทรัพย์สินที่เหลืออยู่มีมูลค่าไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมจำนวนเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้อง หรือถ้าหากการต่อสู้ทางกฎหมายยืดเยื้อนานหลายปีโดยไม่มีข้อยุติ

โดยรวมแล้ว ชะตากรรมของเจ้าหนี้ยังคงไม่แน่นอน และยังไม่มีความชัดเจนว่าเมื่อใดที่พวกเขาจะได้รับเงินที่เสียไปคืนมา การต่อสู้ทางกฎหมายและการโต้เถียงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวของ Mt. Gox จะยังคงถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดโดยอุตสาหกรรมคริปโตต่อไป

ที่มา: Bitcoinist