วันนี้ (15 พฤศจิกายน) Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้กล่าวในงาน Singapore FinTech Festival ว่า สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) จะสามารถเข้ามาทดแทนเงินสดได้ โดยเฉพาะกับเงินที่มีค่าใช้จ่ายในการผลิตที่สูง
โดย CBDC คือเงินสดดิจิทัลที่ถูกผลิตโดยธนาคารกลาง ที่มีเอาไว้ทดแทนเงินสดอย่างเช่น ดอลลาร์สหรัฐหรือยูโร ซึ่งอาจมีการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลทั่วโลกต่างมองว่า สกุลเงินเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถรองรับการชำระเงินแบบดิจิทัลได้
รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพของการชำระเงินข้ามพรมแดน และช่วยให้ประชากรที่ไม่มีบัญชีธนาคาร สามารถเข้าถึงการชำระเงินแบบดิจิทัลได้อีกด้วย
ซึ่งตัว Georgieva มองว่า สิ่งนี้จะเข้ามาทดแทนเงินสดและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบางเศรษฐกิจอีกด้วย
“CBDC จะสามารถเข้ามาทดแทนเงินสด ที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการจำหน่ายในระบบเศรษฐกิจบางอย่างได้ โดยพวกเขาสามารถให้ความยืดหยุ่นในประเทศที่ก้าวหน้า รวมถึงปรับปรุงภาพรวมทางการเงินสำหรับธนาคารที่มีบัญชีน้อยคนได้”
ถึงแม้ว่า CBDC จะมีความไม่แน่นอน และมีการใช้งานที่ต่ำ แต่ตัว Georgieva เชื่อว่า นี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มที่ยังมีพื้นที่สำหรับนวัตกรรมต่างๆ ให้พัฒนาได้อีก ซึ่งในตอนนี้เราไม่สามารถถอยกลับไปได้แล้ว
รวมถึงแนะนำให้ภาครัฐต่างๆ เข้ามาศึกษา CBDC รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มการชำระเงินที่เกี่ยวข้องในอนาคต โดยเธอเสริมว่า แพลตฟอร์มเหล่านี้ควรได้รับการออกแบบตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อที่จะเข้ามาทดแทนการชำระเงินข้ามพรมแดนในปัจจุบันที่ มีราคาแพง ช้า และมีผู้ให้บริการเพียงไม่กี่คน
อย่างไรก็ตาม สถาบันบางแห่ง เช่น ECB ซึ่งเป็นธนาคารชั้นนำของสหภาพยุโรปได้ออกมายืนยันว่า CBDC จะไม่สามารถทดแทนเงินสดได้
และแม้ว่าสถาบันการเงินเช่นธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) จะออกมาเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ อนุมัติกฎหมายเกี่ยวกับ CBDC แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก
แต่ Agustin Carstens ประธาน BIS ยังคงเชื่อว่า CBDC จะเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมทางการเงินได้ แต่จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนในการส่งเสริมให้สกุลเงินนี้เข้าสู่ตลาด
ที่มา: CoinDesk