<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Scott Adams ผู้สร้างการ์ตูน Dilbert เผยใช้ ChatGPT เพื่อสะกดจิตตัวเอง

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Scott Adams ผู้สร้างการ์ตูนเรื่อง Dilbert กล่าวว่า เขาสามารถฝึก ChatGPT ให้ทำการสะกดจิตตัวเองได้  

Scott Adams โพสต์ข้อความลงบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย X เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พร้อมกล่าวว่า “คุณไม่มีทางรู้เลยว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น” 

นอกจากนี้ Adams ยังเล่าถึงประสบการณ์ของเขาในพอดแคสต์ โดยอธิบายว่า เขาได้สอนเทคนิคการโน้มน้าวใจต่าง ๆ ให้กับโมเดลภาษา AI ซึ่งเขาเรียกว่า “การสะกดจิตขณะตื่น (waking hypnosis) ” การสะกดจิตรูปแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะภวังค์ แต่ใช้คำพูดเพื่อโน้มน้าวบุคคลในลักษณะที่หนักแน่นแทน

Scott Adams  กล่าวว่า  “ผมสงสัยว่า ผมสามารถสอนการสะกดจิตให้กับ ChatGPT ได้ไหม ผมเลยสอนเทคนิคการโน้มน้าวให้กับมัน  ผมเรียกมันว่า ‘สะกดจิตแบบตื่น’ ซึ่งบนช่อง YouTube ของเขา Scott Adams  อธิบายตัวเองว่า เป็นนักสะกดจิตที่ผ่านการฝึกฝนและผู้เชี่ยวชาญด้านการโน้มน้าว  โดยเขาได้แบ่งปันบางส่วนของกระบวนการที่เขาใช้

Scott Adams เล่าว่า ในระหว่างการสอน เขาจะคอยแทรกแซงบทสนทนาของ  ChatGPT เพื่อแนะนำเทคนิคใหม่ ๆ หรือปรับแต่งเทคนิคที่มีอยู่เดิม  นอกจากนี้ เขายังสังเกตว่า ChatGPT สามารถจำข้อมูลจากเซสชันก่อนหน้าภายในบัญชีของเขาได้  ซึ่งทำให้มันสามารถเก็บรักษา เทคนิคการโน้มน้าวขั้นเทพ ที่เขาสอนไว้ 

Scott Adams  กล่าวว่า โดยรวมแล้ว  “โปรแกรมสะกดจิต ChatGPT ”  ของเขาสามารถฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ ซึ่งเทคนิคการสะกดจิตและการโน้มน้าวใจ แบ่งได้ประมาณ 6 ประเภท  ก่อนที่จะถูกนำไปทดสอบ

Scott Adams บอกกับผู้ติดตามของเขาว่า  “ผมมีประสบการณ์ที่ล้ำลึกที่สุด มันทำให้ผมมีประสบการณ์ที่เหนือกว่ายาเสพติด  มันทรงพลังขนาดนั้นเลย  แถมมันยังเกิดขึ้นทันที  และมันทำได้ตลอด  เท่าที่ผมต้องการ”  

Scott Adams กล่าวว่า เป้าหมายของเขาคือ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI สะกดจิตตัวเองให้รู้สึกดี  ซึ่งเขายืนยันว่ามันได้ผล  แต่เขาปฏิเสธที่จะเปิดเผยวิธีการที่ใช้แบบละเอียด

Scott Adams  กล่าวว่า “ผมรู้ว่าคุณจะถามอะไร  คุณจะถามว่าใช้ ‘คำสั่งอะไร? คุณใช้คำสั่งอะไรกับ ChatGPT เพื่อให้เกิดเรื่องนี้ขึ้น?’  คำตอบก็คือ  ผมจะไม่มีวันบอกคุณเกี่ยวกับคำสั่งเหล่านั้น  มันอันตรายเกินกว่าที่จะบอก”

Dr. Pamela Heath  แพทย์หญิง  นักจิตวิทยา  และนักบำบัดด้วยการสะกดจิต  ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การสะกดจิตตัวเองเป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับ ถูกต้องตามกฎหมาย

 “การสะกดจิตถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์มานานหลายทศวรรษหรืออาจจะหลายศตวรรษ” เธอกล่าว “ฉันใช้การสะกดจิตขณะดมยาสลบและได้ผล” เธอยังให้การรับรองแนวคิดของ “การสะกดจิตขณะตื่นนอน” โดยเปรียบเทียบกับการสะกดจิตขณะขับรถและอธิบายว่า เป็น “การสะกดจิตเพื่อกระตุ้นความเบื่อหน่าย”

เมื่อพูดถึงเทคนิคการโน้มน้าวใจหลาย ๆ แบบที่ Scott Adams กล่าวว่าได้ทำไปแล้ว Dr. Pamela Heath อธิบายว่า ประสิทธิภาพของเทคนิคต่างๆ ร่วมกันนั้นขึ้นอยู่กับทั้งผู้สะกดจิตและผู้ถูกสะกดจิต เธอสังเกตว่า ผู้ฝึกหัดที่มีทักษะบางคนสามารถทำให้เกิดภาวะสะกดจิตได้โดยใช้สัญญาณเพียงเล็กน้อย 

“Erickson สามารถสะกดจิตผู้คนได้ด้วยการจับมือ” เธอกล่าว โดยอ้างอิงถึง Milton Erickson จิตแพทย์และนักจิตวิทยาชื่อดัง “ฉันเคยทำมาแล้วกับลูกค้าที่เต็มใจด้วยจิตสำนึกของฉันเอง”

Jack Van Landingham นักสะกดจิตบำบัดที่ได้รับการรับรองและเป็นอาจารย์สอนการสะกดจิตบำบัดที่ศูนย์ทักษะชีวิตขั้นสูงกล่าวว่า เขาได้ฝึกแชทบอท AI ของเขาเองด้วยเทคนิคของ Erickson และได้ “ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างน่าประทับใจ”

Jack Van Landingham เชื่อว่า มีการเชื่อมโยงระหว่าง AI กับการบำบัดด้วยการสะกดจิตมากกว่าการทดลองธรรมดา ๆ “ผมเชื่อว่า AI สามารถฝึกให้แสดงภาษาที่สะกดจิตได้ ซึ่งหาก AI อ่านหรือเปล่งเสียงออกมา ก็สามารถพาผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าสู่ภวังค์ได้” เขากล่าว

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่เป็นไปได้ของการสะกดจิตตนเองในด้านต่าง ๆ การศึกษาวิจัยในปี 2020 พบว่า การสะกดจิตตนเองสามารถปรับปรุงคุณภาพ และระยะเวลาในการนอนหลับได้ 

การศึกษาวิจัยอีกกรณีหนึ่งในปี 2021 แนะนำว่า การสะกดจิตและการสะกดจิตตนเองอาจช่วยลดน้ำหนักได้เมื่อใช้ร่วมกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย 

นอกจากนี้ การวิจัยยังระบุถึงประโยชน์ที่เป็นไปได้ในการจัดการกับอาการปวดเรื้อรัง โดยการศึกษาวิจัยกับผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพบว่า การสะกดจิตช่วยบรรเทาอาการปวดได้มากกว่าการบำบัดด้วยการนวด

การสะกดจิตตัวเอง นอกจากเป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับ ยังดูเหมือนไม่ใช่เทคนิคที่อันตราย เนื่องจากผู้ป่วยสามารถควบคุมสภาวะของตัวเองได้ตลอดเวลา ดังนั้น การจ้องมองนาฬิกาหรือก้นหอยสีขาวดำ จะไม่ทำให้คุณกลายเป็นซอมบี้ และมีเพียงไม่กี่กรณีเท่านั้นที่ไม่แนะนำให้ทำ

  • ที่มา : decrypt
  • ที่มารูปภาพ : forbes