<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สหรัฐฯ ภายใต้การนำของ ‘ทรัมป์’ จะสามารถใช้ Bitcoin เป็น ‘ไพ่เด็ด’ ต่อกรกับจีนได้อย่างไร?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในช่วงสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตไม่ได้ต่อสู้กันด้วยกระสุนปืน แต่ต่อสู้กันด้วยเทคโนโลยี ย้อนกลับไปตอนที่ทั้งสองมหาอำนาจของโลกได้รวมตัวเหล่าวิศวกรที่เก่งกาจที่สุดในศตวรรษที่ 21 เพื่อชิงความเป็นใหญ่ในการสำรวจอวกาศ โดยการส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรกในปี 1969 ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายชนะการแข่งขันทางอวกาศ และท้ายที่สุดก็เป็นผู้ชนะในสงครามเย็น

บทเรียนจากการแข่งขันทางอวกาศครั้งนั้น มีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งในปัจจุบันเมื่อพิจารณาถึงการแข่งขันที่เกิดขึ้นใหม่ในอุตสาหกรรมใหม่อย่าง Blockchain และอดีตประธานาธิบดี Donald Trump ก็ดูเหมือนให้ความสำคัญกับบทเรียนเหล่านี้เป็นอย่างมาก

ในโพสต์บนโซเชียลมีเดีย Truth Social นาย Donald Trump ได้เตือนถึงอันตรายของการปล่อยให้จีนและรัสเซียเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคริปโตเคอร์เรนซี เพื่อรับมือกับภัยคุกคามนี้ Trump กล่าวว่า “เราต้องการให้ Bitcoin ที่เหลืออยู่ทั้งหมด ถูกผลิตในสหรัฐอเมริกา” 

Trump อธิบายเพิ่มเติมถึงข้อความที่เขาโพสต์ ในการสัมภาษณ์กับ Bloomberg เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมันเป็นเตือนถึงผลที่จะตามมา หากสหรัฐฯ ไม่สามารถเอาชนะการแข่งขันครั้งใหม่เพื่อชิงความเป็นใหญ่ใน Bitcoin 

“หากเราไม่ทำ จีนก็จะเข้ามาทำแทน ผมไม่อยากรับผิดชอบในการปล่อยให้ประเทศอื่นเข้ามาครอบครองอุตสาหกรรมคริปโต” Trump กล่าว

การยอมรับ Bitcoin ของ Trump และการรับรู้ถึงความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของมัน กำลังจุดประกายการพูดคุยในหมู่ผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดประเภท Bitcoin ให้เป็น “สินทรัพย์สำรองทางยุทธศาสตร์”

“สินทรัพย์สำรองทางยุทธศาสตร์” คืออะไร? 

สินทรัพย์สำรองยุทธศาสตร์คือ ทรัพยากรที่รัฐสะสมเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือประเทศอื่นๆ ตัวอย่างของสินทรัพย์สำรองยุทธศาสตร์รวมไปถึงสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิเช่น ทองคำ น้ำมัน สินค้าเกษตร และแร่ธาตุที่สำคัญ โดยประเทศต่างๆ มักจะใช้ทรัพยากรสำรองเหล่านี้ในช่วงสงคราม, การระบาดของโรค, ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, วิกฤตเศรษฐกิจ หรือเหตุวิกฤตแห่งชาติอื่น ๆ 

การเข้าใจบทบาทของทองคำในฐานะเครื่องมือเจรจาต่อรองระหว่างประเทศ เป็นสิ่งสำคัญในการเข้าใจบทบาทที่ Bitcoin อาจมีในฐานะ “สินทรัพย์สำรองยุทธศาสตร์” รวมไปถึงวิธีที่มันอาจให้ความได้เปรียบแก่สหรัฐอเมริกาเหนือศัตรูของตน

ทองคำแท่ง vs. Bitcoin 

หลายประเทศต่างแห่สะสมทองคำแท่งในช่วงก่อนสงครามและในช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทั่วโลก ในฐานะที่มันเป็นแหล่งเก็บรักษามูลค่าที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ทองคำทำหน้าที่เป็นเครื่องป้องกันภาวะเงินเฟ้อและเป็นทางเลือกในการถือครองสกุลเงินต่างประเทศและสินทรัพย์อื่น ๆ โลหะสีทองนี้ ทำให้ธนาคารกลางมีความเป็นอิสระมากขึ้นจากระบบการเงินโลก ซึ่งถูกครอบงำโดยสหรัฐอเมริกา

ด้วยเหตุนี้ จีนและรัสเซียจึงได้ลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลายพันล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกันก็เพิ่มการถือครองทองคำอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งจีนและรัสเซียมีการถือครองทองคำประมาณ 2,300 ตัน และเป็นผู้ผลิตทองคำอันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลกตามลำดับ

การสะสมทองคำของจีนและรัสเซียเป็นความพยายามลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์สำรองยุทธศาสตร์ที่ประเทศเหล่านี้พึ่งพาเพื่อให้ตนเองมีความเป็นอิสระจากระบบการเงินของอเมริกา และประเทศเหล่านี้น่าจะทำการสะสมทองคำให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อพยายามท้าทายการครอบงำของเงินดอลลาร์

แต่ถ้ามีสินทรัพย์ทางเลือกที่สามารถบั่นทอนการย้ายจากดอลลาร์ไปยังทองคำของจีนและรัสเซียได้ล่ะ?

นี่คือจุดที่ Bitcoin อาจเข้ามามีบทบาทสำคัญ

การตอบโต้จีนและรัสเซียด้วย Bitcoin

ในฐานะ “ทองคำดิจิทัล” ที่มีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าสำหรับผู้ซื้อ โดย Bitcoin มีตำแหน่งที่ไม่เหมือนใครในการส่งเสริม ทองคำแบบกายภาพ ในฐานะ “สินทรัพย์สำรองยุทธศาสตร์”

เช่นเดียวกับ “ทองคำ” มูลค่าของ Bitcoin มาจากความหายากและการใช้งานที่เกิดขึ้นใหม่ในฐานะที่มันเป็นแหล่งเก็บรักษามูลค่าและเครื่องป้องกันภาวะเงินเฟ้อ แต่ทว่า Bitcoin ยังมีคุณสมบัติหลายประการที่ทำให้เหนือกว่าทองคำ เช่น Bitcoin สามารถทำการขนส่งได้ง่ายกว่า ,มีความสามารถในการตรวจสอบได้มากกว่า และมีรูปแบบของความเป็น “เงินสด” ที่แข็งกว่าทองคำ เนื่องจาก Bitcoin มีความหายากมากกว่าและขุดได้ยากกว่า

อเมริกาสามารถใช้คุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของ Bitcoin ในฐานะ “ทองคำดิจิทัล” เพื่อขัดขวางจีน รัสเซีย และคู่แข่งอื่น ๆ จากการใช้ประโยชน์จากทองคำสำรองของพวกเขาในการบั่นทอนการครอบงำของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

การจัดประเภท Bitcoin เป็นสินทรัพย์สำรองยุทธศาสตร์ จะเป็นการเริ่มต้นการแข่งขันทาง Bitcoin ถ้าหากอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกและเป็นแหล่งทุนทั่วโลก เริ่มสะสม Bitcoin ในงบดุลของตน ประเทศอื่น ๆ ก็จะมีแรงจูงใจอย่างมากที่จะทำเช่นเดียวกัน 

ในทางปฎิบัติจริงแล้ว สหรัฐอเมริกาสามารถชะลอ และอาจจะย้อนกลับกระแสความนิยมในการถือครองทองคำแท่งได้ ด้วยการเริ่มต้นกระแสสะสมทองคำดิจิทัล

Matthew Pines นักวิชาการด้านความมั่นคงแห่งชาติ จากสถาบันนโยบาย Bitcoin ได้เขียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้นี้ในรายงานล่าสุด ที่อธิบายถึงศักยภาพของ Bitcoin ในฐานะเครื่องมือด้านเศรษฐกิจ

Pines อธิบายว่า “จากมุมมองด้านความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ตัดสินใจระดับสูงอาจตระหนักว่า การอนุญาตให้ Bitcoin กลายเป็นเงินตราควบคู่ไปกับ (หรือแซงหน้า) ทองคำ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสหรัฐอเมริกา ดังนั้นในขณะที่จีนและรัสเซียให้ความสำคัญกับทองคำแบบเดิม สหรัฐอเมริกาสามารถตอบโต้ด้วยการเน้นทองคำดิจิทัลอย่าง Bitcoin ”

Bitcoin “ไพ่เด็ด”ของ Trump ในการตอบโต้ จีนกับรัสเซีย

อีกวิธีหนึ่งในการมองเรื่องนี้คือ: ผู้กำหนดนโยบายของอเมริกาอาจใช้ Bitcoin เป็นเครื่องมือในการตอบโต้การที่ประเทศต่าง ๆ นำ “ทองคำ” มาเป็นอาวุธเพื่อต่อต้านอเมริกา 

Luke Gromen ในฐานะที่เป็นนักลงทุนระดับมหภาคและนักเขียนการเงิน อธิบายว่า “จีนและรัสเซียอาจพยายามใช้ประโยชน์จากการสำรองทองคำของพวกเขาเพื่อต่อต้านสกุลเงินดอลลาร์ แต่ทว่าอเมริกาอาจมี ‘ไพ่เด็ด’ อยู่ใน Bitcoin”

“ไพ่เด็ด” ของ Trump เป็นการเปรียบเทียบที่เหมาะสม เนื่องจากการรับรองของอดีตประธานาธิบดี Donald Trump ต่อสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก คำแถลงของ Trump ได้กระตุ้นความสนใจใหม่ใน Bitcoin ในฐานะสินทรัพย์สำรองยุทธศาสตร์บน Capitol Hill เพื่อประเมินความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในเรื่องนี้  Luke ได้ติดต่อ ส.ส. Tom Emmer เพื่อขอความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับข้อดีที่อาจเกิดขึ้นจากการนำ Bitcoin มาเป็นงบดุลของชาติ

ส.ส. Tom Emmer กล่าวว่า “เนื่องจากสหรัฐอเมริกายังคงยอมรับ ‘เศรษฐกิจการเป็นเจ้าของ’ การกระจายการลงทุนของเราเป็นขั้นตอนที่สมเหตุสมผลต่อไป โดยเรากำลังสำรวจประเด็นนี้มาหลายปีและหวังว่าจะได้พูดคุยกับประธานาธิบดี Trump ต่อไปเมื่อเขาได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน”

Tom Emmer เข้าร่วมกับประธานาธิบดี Trump, วุฒิสมาชิก Lummis และกลุ่มผู้กำหนดนโยบายที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นผู้ตระหนักว่า Bitcoin เป็นมากกว่าแค่การทดลองทางการเงิน มันเป็นเครื่องมือในการแสดงพลังทางเศรษฐกิจของอเมริกา

อย่างไรก็ตามที สหรัฐอเมริกาจะใช้เครื่องมือนี้ได้อย่างเต็มที่หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับผลการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนที่จะมาถึง