นางสาวจอมขวัญ คงสกุล รองเลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต.ไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการส่งเสริมตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลว่า ก.ล.ต. ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 4 เรื่องและมีผลบังคับใช้เพื่อรองรับการเติบโตของตลาด พร้อมสรุปไทม์ไลน์การปรับปรุงกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย
4 หลักเกณฑ์สำคัญและมีผลบังคับใช้แล้วในเดือนสิงหาคม!
เพื่อให้การออกโทเคนลงทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ก.ล.ต. ได้กำหนดหลักเกณฑ์สำคัญ 4 เรื่องดังนี้
- โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้ (Utility Token): กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถออกโทเคนประเภทนี้ได้อย่างถูกต้อง
- โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรม (Digital Asset Regulatory Sandbox) : โดยปัจจุบันมีผู้ที่สนใจยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการแล้ว 3-4 ราย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถทดสอบการให้บริการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้การกํากับดูแลของ ก.ล.ต. ผู้ที่สนใจสามารถยื่นคําขอเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2567 (เป็นโครงการต่อเนื่องไม่มีกําหนดปิด)
- การบริหารกิจการ (Governance) :หลักเกณฑ์สำหรับผู้ประกอบการสินทรัพย์ดิจิทัล โดยกําหนดให้ต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน โดยต้องเป็นกรรมการอิสระอย่างน้อย 2 คน และต้องมีคณะกรรมการตรวจสอบ
2 คน และต้องมีคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเหมาะสม
- การกำกับดูแลศูนย์ซื้อขาย: ยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ในปัจจุบันกฎเกณฑ์ของ ก.ล.ต. มีทั้งหมด 17 เรื่อง มีผลบังคับใช้แล้ว 7 เรื่อง และอีก 10 เรื่องกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการซึ่งคาดว่าจะทยอยออกมาชัดเจนอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ถึงภายในปี 2568
ปัจจุบันมีโครงการระดมทุน ICO ที่ประสบความสำเร็จแล้วที่ผ่านมาในไทยมี 3 โครงการ ได้แก่ โครงการ Real estate-backed Token มูลค่า 2,400 ล้านบาท จาก SPV 77, โครงการ Project-based Token มูลค่า 265 ล้านบาท จากบริษัท สเปเชียล เดสทินี, และโครงการ Real estate-backed Token มูลค่า 2,400 ล้านบาท จากบริษัท เรียล เอสเตท เอกซ์โพเนนเชียล
นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนจำนวน 15-16 รายที่แสดงความสนใจและเข้ามาหารือกับ ก.ล.ต. เกี่ยวกับการขออนุญาตออก Investment Token โดยมีโครงการที่น่าสนใจหลายโครงการ เช่น โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต,โครงการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และธุรกิจด้าน Soft Power ที่เป็นค่ายเพลง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ก.ล.ต. กำลังวางแนวปฏิบัติด้านการโฆษณา การส่งเสริมการขาย แนวปฏิบัติ KYC และการจัดส่งข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล คาดว่าจะออกเกณฑ์ใหม่ภายในไตรมาส 2/68 พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุน Investment Token และเปิดศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มเติม