ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา กรณีธุรกิจขายตรงของดิไอคอนกรุ๊ป (the Icon Group) ได้กลายเป็นที่พูดถึงในสังคมออนไลน์และกระแสข่าวทั่วประเทศ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า โมเดลธุรกิจของบริษัทนี้เข้าข่ายเป็น “แชร์ลูกโซ่” หรือไม่ ?
เพื่อหาคำตอบของเรื่องนี้ ทางเราจึงได้หันมาใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่าง ChatGPTเพื่อเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และให้คำตอบ
เมื่อเรานำคำถาม “กรณีของ The iCon group ถือว่าเข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่หรือไม่?” ไปถาม AI นั้น AI ได้ให้ข้อมูลและวิเคราะห์กลับมาอย่างน่าสนใจ
โดยเบื้องต้น ChatGPT ให้ หลักเกณฑ์ที่บ่งบอกลักษณะของแชร์ลูกโซ่ ออกมาได้ 3 อย่างดังนี้
- การจ่ายผลตอบแทนจากการชักชวนคนใหม่: ระบบแชร์ลูกโซ่มักให้ผลตอบแทนกับสมาชิกโดยการนำเงินจากสมาชิกใหม่มาจ่ายให้กับสมาชิกเดิม ไม่ได้มาจากกำไรหรือรายได้ที่แท้จริงของบริษัท
- ไม่มีสินค้า/บริการที่แท้จริง: ในบางกรณี บริษัทแชร์ลูกโซ่อาจมีสินค้าหรือบริการ แต่เป็นเพียงการสร้างภาพลักษณ์เพื่อชักชวนให้คนเข้าร่วม แต่สินค้าอาจไม่มีมูลค่าจริง หรือเป็นสินค้าที่ไม่สามารถขายได้จริง
- การเน้นชักชวนสมาชิกใหม่มากกว่าการขายสินค้า: บริษัทที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่มักเน้นที่การชักชวนสมาชิกใหม่เพื่อให้ได้เงินเข้ามามากกว่าการสร้างมูลค่าจากการขายสินค้าอย่างแท้จริง
คำตอบของ ChatGPT
ChatGPT ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “การตัดสินว่าบริษัทนี้เป็นแชร์ลูกโซ่หรือไม่ ควรพิจารณาจากรายละเอียดการดำเนินงานของบริษัท และตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)”
ถึงแม้ว่า ChatGPT จะไม่ได้ให้คำตอบแบบฟันธงชัดเจน แต่มันก็ได้มอบแนวทางที่ทำให้คุณสามารถนำไปพิจารณาต่อเองได้ จากการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหาร The iCon group หรือที่หลายคนรู้จักกันในนาม “บอสพอล” ที่เพิ่งไปออกรายการโหนกระแส เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม คำตอบที่แท้จริงของเรื่องนี้ยังคงต้องรอการตัดสินจากหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งพวกเขาจะเป็นคนให้คำตอบในเรื่องนี้ได้อย่างดีที่สุด