<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ส่องอนาคตประเทศไทยในมุมมองของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ในงาน Bitkub Summit 2024

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ทางสยามบล็อกเชนได้รับเกียรติในการร่วมงาน Bitkub summit 2024 ซึ่งเป็นหนึ่งในงานสัมมนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีนี้ โดยอีเว้นต์จะจัดขึ้นในวันที่ 19-20 ตุลาคม ซึ่งภายในงานก็มีหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจมากมาย ทางทีมงานจึงยากจึงนำเสนอเรื่องราวให้กับผู้ติดตามทุกท่านได้รับทราบข่าวสารทันเหตุการณ์

โดย หนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจที่สุดของการสัมมนาในวันที่ 19 ของอีเว้นต์ Bitkub summit 2024 นี้จะเป็นการพูดคุยกันในหัวข้อ ‘The future of Thailand’ ซึ่งเป็นการถกเถียงกันระหว่าง คุณ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมด้วย คุณ วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ คุณ ท๊อป จิรายุส ทรัพยศรีโสภา ผู้ก่อตั้ง Bitkub โดยมีคุณ สุทธิชัย หยุ่น เป็นผู้ดำเนินรายการ

คุณสุทธิชัยเริ่มต้นการสนทนาที่ว่าถ้าเลือกปัญหาที่จะแก้ไขได้หนึ่งอย่างจะแก้อะไร ซึ่งคุณ อภิสิทธิ์ กล่าวว่าเลือกการสร้างทักษะ เพราะในปัจจุบันสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย คือการเร่งพัฒนาทักษะของคนให้สามารถแข่งขันกับทั่วโลกได้ โดยทักษะที่ว่านั้นคือ ความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะปัญหาใหญ่คือการที่คนที่มีอายุมากนั้นหยุดเรียนรู้ ทำให้มีความเชี่ยวชาญแค่เฉพาะด้านเพียงเท่านั้นและไม่ทันกับทักษะสมัยใหม่

ส่วนทางด้าน คุณ วราวุธ คิดว่าควรที่จะแก้กฎระเบียบที่ขัดขวางไม่ให้ดึงศักยภาพของคนไทยออกมาได้ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวประเทศไทยต้องรับมือสังคมผู้สูงอายุ โดยต้องหาทางเปลี่ยนวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส ขณะเดียวกันคุณอภิสิทธิ์ ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันมูลค่าตลาดของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอันดับต้น ๆ  นั้นไม่มีบริษัทใดเลยที่ทำเกี่ยวกับเทคโนโลยี อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่ต้องพึ่งพาภาครัฐแบบผูกขาด ทำให้เราไม่สามารถเทียบเคียงเวทีโลกได้ซึ่งต้องเร่งแก้ไขปัญหานี้

ทั้งนี้ในด้านของมุมมองวิสัยทัศน์ของประเทศไทย คุณ อภิสิทธิ์ เผยว่าอยากเห็นประเทศไทยเติบโตขึ้นผ่านการรวมตัวกันกับอาเซียนให้มีความเหนียวแน่นขึ้น และช่วยคลี่คลายความขัดแย้งจากมหาอำนาจ ดังนั้นเมื่อรวมตัวกันได้เราจะไม่จำเป็นจะต้องถูกบีบให้เลือกข้าง อีกทั้งยังเป็นการเสริมบทบาทให้กับภูมิภาคอีกด้วย 

ประเด็นที่สองคือเทคโนโลยี ไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบนิเวศเพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงต้องแก้ไขเรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์ เป็นการสร้างการแข่งขันให้กับคนไทย

ถัดมาในด้านคุณท๊อป จิรายุส ก็เห็นด้วยกับวิสัยทัศน์ของคุณอภิสิทธิ์ และอยากให้อาเซียนเข้าสู่ยุคทองเพื่อทำให้ภูมิภาคของเราทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ระประเทศไทยต้องปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์โลกทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ กรีน หรือสังคม รวมไปถึงเปลี่ยนผ่านจากการค้าขายแบบดั้งเดิมไปเป็นดิจิทัล  หมายความว่าต้องพัฒนาทุกด้านไปพร้อม ๆ กันถึงจะอยู่รอดในยุคสมัยใหม่

ขณะที่ คุณ วราวุธ ได้มองมุมมองในฝั่งของการรับมือทางด้านสังคมเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาไม่อยากมีบุตรของคนรุ่นใหม่ที่ต้องเร่งแก้ไข และประเด็นเรื่องแรงงานต่างชาติที่ควรมีการเปิดรับมากขึ้น โดยท่านมองว่ามันจะไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งงาน แต่จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้นมากกว่า แต่ในประเด็นนี้คุณ อภิสิทธิ์ก็ได้เตือนว่าปัญหาดังกล่าวต้องได้รับการดูแลอย่างละเอียดอ่อน เพื่อไม่ให้มันก่อเกิดกลายเป็นปัญหาเหมือนกับประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบัน

ทั้งนี้คุณ อภิสิทธิ์ ฟันธงว่าการมาของยุคดิจิทัลจะไม่ทำให้ความเหลื่อมล้ำเลือนหายไป กลับกันจะยิ่งทำให้เกิดความผูกขาดโดยผู้ที่ครอบครองเทคโนโลยี ดังนั้นแม้การ digitize จะช่วยให้เกิดการแข่งขันที่ยุติธรรมมากขึ้น แต่มันก็มาพร้อมกับปํญหาที่ต้องระมัดระวัง แต่คุณท๊อปมองว่าอย่างไรก็ต้องทำเศรษฐกิจดิจิทัล มิเช่นนั้นจะถูกคนต่างประเทศชิงตัดหน้าไปทั้งหมด และทำให้เมืองไทยขาดดุลมหาศาล โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนให้ธุรกิจไทยสามารถส่งออกไปแข่งกันในระดับโลกได้ 

โดยสุดท้ายแล้วเศรษฐกิจดิจิทัล ก็จะช่วยให้ประเทศไทยได้หลุดพ้นจากความยากจน หรือ absolute poverty ที่แม้จะไม่ได้ช่วยให้คนร่ำรวยขึ้นมหาศาล แต่ความยากจนนั้นจะถูกขจัดไปได้มากขึ้น