<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

นักสร้าง NFT ชื่อดัง Beeple เผย! ปัจจุบันนักเก็งกำไรจากไปแล้ว เหลือแค่กลุ่มผู้รัก NFT

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Mike “Beeple” Winkelmann ศิลปินดิจิทัลชื่อดัง ผู้ที่ทำลายสถิติในปี 2021 ด้วยการขาย ผลงานศิลปะ NFT : “Everydays: The First 5,000 Days”  ในราคา 69.3 ล้านดอลลาร์ ผ่านการประมูล

นับตั้งแต่นั้นมา ความสนใจเกี่ยวกับ NFT ก็ลดน้อยลงอย่างมาก โดยปริมาณการซื้อขายลดลงมากกว่า 90 %

Mike Winkelmann หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Beeple” และTim Marlow OBE. ภาพ: Decrypt

ในการสัมภาษณ์บนเวที กับ Tim Marlow OBE ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของพิพิธภัณฑ์การออกแบบ ที่ Royal Academy of Arts ในลอนดอน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Beeple เล่าว่า “ผมรู้สึกบ้ามาก เมื่อคิดถึงช่วงเวลานั้น เพราะ NFT ถูกเกลียดมานานกว่าที่พวกเรารักเสียอีก”

Beeple กล่าวเสริมว่า “เราสูญเสียคนที่สนใจใน NFT ไปมาก ซึ่งคนเหล่านั้นไม่เคยทำ เพื่องานศิลปะ”

ในช่วงเวลาที่ขาย NFT  “Everydays” นั้น Beeple รู้อยู่แล้วว่า ตลาดอยู่ในภาวะฟองสบู่ “100%”

Beeple กล่าวว่า “ก่อนหน้านั้นผมทำศิลปะดิจิทัลอยู่ 20 ปี และผมเห็นคนซื้อของไร้สาระ โดยคิดว่า ‘ไม่มีทางหรอกที่มันจะมีมูลค่า นั่นถือเป็นขยะ และมันจะไม่คงอยู่ตลอดไป ’

แม้จะยอมรับว่าตลาด NFT ‘กำลังจะกลับสู่โลกแห่งความจริง และนักเก็งกำไรได้ “ออกจากตลาดไปแล้ว” แต่ Beeple กล่าวว่า “ยังคงมีผู้คนจำนวนมากที่ให้ความสนใจกับสิ่งนี้” เขาชี้ให้เห็นถึงยอดขายหลายล้านดอลลาร์ของ CryptoPunks เมื่อต้นปี 2024 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การซื้อขาย NFT ในราคาสูง ได้กลายเป็นเรื่องปกติในวงการศิลปะ

Beeple เปิดเผยว่า ทีมงานของเขาได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การขายผลงาน โดยคำนึงถึงอุปสงค์และอุปทาน และมุ่งเน้นการขายแบบส่วนตัว ให้กับนักสะสมที่จริงจัง เพื่อป้องกันการเก็งกำไรระยะสั้น

ตลาดแห่งความแท้จริงที่แตกแยก

Beeple ชี้ให้เห็นถึง “การแบ่งกลุ่ม” ในตลาด NFT โดยมีบางโปรเจกต์ที่หลงลืมวิสัยทัศน์ดั้งเดิมของเทคโนโลยีนี้ไป

Beeple กล่าวว่า เทคโนโลยี NFT นั้น ‘ไม่จำกัดรูปแบบ’ เขาอธิบาย โดยเปรียบเทียบกับเว็บเพจว่าเว็บเพจสามารถเป็นอะไรก็ได้มากมาย และ NFT เป็นวิธีการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของเสมือนจริงของสิ่งต่าง ๆ มากมาย

ภาพ: Decrypt

Beeple กล่าวว่า “ส่วนตัวผมคิดว่าในอนาคต ภาพวาดทุกชิ้นจะมี NFT เป็นใบรับรองความเป็นของแท้ เนื่องจากเป็นวิธีที่ดีกว่าการใช้เอกสารจากกระดาษในการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของผลงาน และประวัติของผลงานศิลปะ อย่างไรก็ตาม เขาเน้นย้ำว่า จำเป็นต้องมีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันสำหรับ NFT ประเภทนี้

ศิลปะ NFT แบบไดนามิก

“แม้ว่าตลาด NFT จะไม่ค่อยคึกคัก แต่ก็ยังคงมีกลุ่มคนรัก NFT ที่ยังหลงใหล เข้าใจเทคโนโลยีนี้ และเข้าใจว่าเป็นสื่อกลางในการแสดงออกทางศิลปะในรูปแบบที่ไม่เคยเป็นไปได้มาก่อน” Beeple กล่าว

เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ทำให้ Beeple สร้างผลงานศิลปะแบบไดนามิก ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา โดยการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งจะถูกบันทึกลงบนบล็อกเชน เขาอธิบายถึงผลงานล่าสุดของเขาอย่าง “Human One” และ “The Tree of Knowledge” ซึ่งเป็นงานศิลปะดิจิทัลที่แสดงผลบนจอภาพสี่จอที่จัดเรียงเป็นเสาสี่เหลี่ยม

Beeple กล่าวว่า ศิลปะแบบไดนามิกนี้เปิดโอกาสให้เกิดการสนทนาระหว่างศิลปินและผู้ชม ในลักษณะที่งานศิลปะกายภาพไม่สามารถทำได้ เนื่องจากสามารถเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและสถานการณ์ปัจจุบัน

ที่มา : decrypt