<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Slippage คืออะไร? ทำไมนักเทรดคริปโตและเหรียญมีม ต้องรู้ก่อนทำธุรกรรม

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ปี 2024 นี้ถือเป็นปีทองของตลาดคริปโตที่กำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง มีนักเทรดหน้าใหม่และเก่ากลับเข้ามาในตลาดกันเพียบ แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนมักมองข้ามไป ก็คือ “ค่า Slippage” ที่อาจฟังดูไม่สำคัญ แต่จริง ๆ แล้วมันมีผลกระทบต่อการเทรดของคุณมากกว่าที่คิด

อะไรคือ Slippage?

Slippage คือสถานการณ์ที่คำสั่งซื้อหรือขายของเรา ไม่ได้ราคาตามที่ตั้งใจไว้ เช่น คุณกดซื้อ Bitcoin ที่ราคา 1 ล้านบาท แต่พอคำสั่งถูกดำเนินการจริง ราคาอาจขยับเป็น 1.01 ล้านบาท หรือ 9.99 แสนบาท แบบนี้แหละคือ Slippage หรือราคาที่ “คลาดเคลื่อน” นั่นเอง

ตลาดไหนก็เจอได้ ไม่ว่าจะหุ้นหรือฟอเร็กซ์ แต่กับคริปโต ปัญหานี้มักจะหนักกว่า โดยเฉพาะใน DEX (Decentralized Exchanges) อย่าง Uniswap สาเหตุมาจากความผันผวนของราคา แถมบางเหรียญที่เทรดยาก ๆ เช่น Altcoin ก็ยังมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องต่ำหรือปริมาณการซื้อขายน้อย ทำให้ Slippage ยิ่งหนักเข้าไปอีก

ตัวอย่างง่าย ๆ ของ Slippage

ลองนึกภาพว่าคุณอยากซื้อ Bitcoin ที่ราคา $100,000 บนเว็บเทรด B แล้วตั้งค่า Slippage ไว้ที่ 0.5% นั่นหมายความว่าคุณอาจซื้อ Bitcoin ได้ในช่วงราคา $99,500 – $100,500 ถ้าราคาผันผวนไม่เกินนี้ คำสั่งก็จะสำเร็จ แต่ถ้าราคาขยับแรงเกินช่วงนี้ คำสั่งอาจล้มเหลว และคุณอาจต้องเพิ่ม Slippage เพื่อให้ซื้อขายได้ทัน

แค่ 0.5% ของ Bitcoin ก็เท่ากับ $500 ซึ่งอาจทำให้คุณ ประหยัดเงิน หรือ เสียเงิน ได้ในพริบตา แต่ถ้าเป็นการซื้อขายบนเว็บเทรดแบบรวมศูนย์ (CEX) เหตุการณ์ที่คำสั่งไม่สำเร็จก็มักจะไม่ค่อยเกิดขึ้น

แต่ถ้าเป็นการเทรดเหรียญสายมีมบน DEX (Decentralized Exchange) เช่นบน Dexscreener นี่แหละที่ Slippage อาจพุ่งไปถึง 10% หรือมากกว่า เพราะเหรียญพวกนี้มักมีวอลุ่มและสภาพคล่องต่ำถ้าตั้ง Slippage ต่ำเกินไป คำสั่งอาจไม่ทันเวลา และอาจพลาดจังหวะทำกำไรไปเลย

อย่างไรก็ตามการกำหนดค่า Slippage ให้เหมาะสมกับการเทรดในแต่ละครั้งนั้นจะเห็นได้ว่ามันมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งตามปกติแล้วจะมีการตั้งไว้ที่ 0.1-0.5% แต่อย่าตั้งค่า Slippage Tolerance ต่ำเกินไป เพราะถ้าต่ำไป อาจทำให้คำสั่งซื้อขายไม่สำเร็จ แล้วพลาดจังหวะสำคัญตอนราคาขึ้นหรือลงแรง ๆ แต่ถ้าตั้งสูงเกินไป อาจเจอปัญหาคนดักหน้า (Frontrunning) เอาได้

ที่มา : Coinmarketcap