ในยุคที่ “ข้อมูล” คือทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด การปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลกลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทั้งองค์กรและผู้ใช้งานทั่วไป และนั่นคือสิ่งที่โปรเจกต์อย่าง Nillion (NIL) กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลง ด้วยแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า Blind Computation ซึ่งช่วยให้สามารถประมวลผลข้อมูลที่เข้ารหัสได้โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลต้นฉบับเลยแม้แต่น้อย
ในบทความนี้ ทางสยามบล็อกเชนจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Nillion (NIL) ว่าคืออะไร? มีจุดเด่นตรงไหน? และทำไมเหรียญนี้ถึงน่าจับตามองในฐานะโปรเจกต์ใหม่ที่ปฏิวัติการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในโลกคริปโต
Nillion คืออะไร
Nillion คือเครือข่ายการประมวลผลข้อมูลที่ปลอดภัย (Secure Computation Network) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อกระจายความไว้วางใจในการจัดการข้อมูลที่มีความสำคัญสูง เป็นส่วนตัว และมีความละเอียดอ่อน ในลักษณะเดียวกับที่บล็อกเชนกระจายศูนย์การทำธุรกรรม
โปรเจกต์นี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่การจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายในการสร้างระบบนิเวศที่ช่วยให้สามารถ “ใช้” ข้อมูลนั้นได้อย่างปลอดภัย โดยไม่เปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงให้กับใครแม้แต่ผู้ดูแลระบบ
หัวใจหลักของ Nillion ของ “Nil Message Compute (NMC)” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถแยกข้อมูลออกเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ และกระจายไปยังเครือข่าย แล้วค่อยนำกลับมารวมกันโดยที่ไม่มีใครในระบบสามารถเห็นข้อมูลต้นฉบับได้
Blind Computation คืออะไร?
แนวคิดของ Blind Computation เป็นหัวใจสำคัญของ Nillion โดยปกติแล้ว เมื่อต้องการใช้ข้อมูลที่เข้ารหัส เรามักต้อง ถอดรหัส – ประมวลผล – เข้ารหัสใหม่ ซึ่งเสี่ยงต่อการที่ข้อมูลจะถูกเปิดเผยในระหว่างขั้นตอนนั้น
แต่ Blind Computation เข้ามาเปลี่ยนเกม โดยเปิดโอกาสให้สามารถ “ประมวลผล” ข้อมูลได้โดยที่ข้อมูลยังคงอยู่ในรูปแบบเข้ารหัส นั่นหมายความว่า แม้แต่คนที่ทำการประมวลผลเองก็ไม่สามารถเห็นข้อมูลต้นฉบับได้
นี่คือการปกป้องความเป็นส่วนตัวระดับใหม่ ที่เหมาะอย่างยิ่งกับองค์กรที่ต้องการทำงานกับข้อมูลอย่างปลอดภัยและเป็นความลับ
Blind Modules: เครื่องมือเปลี่ยนความซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่าย
เพื่อให้ Blind Computation เข้าถึงได้ง่ายสำหรับนักพัฒนา Nillion ได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า Blind Modules ซึ่งเป็นโมดูลที่รวมเทคโนโลยีเสริมความเป็นส่วนตัว (Privacy-Enhancing Technologies: PETs) ไว้ภายใน ยกตัวอย่างเช่น
- Secure Multi-Party Computation (MPC)
- Homomorphic Encryption (HE)
พูดง่าย ๆ ก็คือ Blind Modules ช่วยให้เทคโนโลยีระดับสูงเหล่านี้สามารถนำไปใช้งานได้จริงในวงกว้างโดยไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการเข้ารหัส
ข้อมูลโทเคน NIL
NIL เป็นโทเคนที่ Base on อยู่บนเครือข่าย Niliion ซึ่งสามารถนำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าธรรมเนียมบนเครือข่าย หรือจะนำไป stake ไว้เพื่อเสริมความปลอดภัยให้กับเครือข่าย รวมไปถึงใช้ในการออกเสียงโหวตในการกำกับดูแลชุมชน
รายละเอียดของโทเคน
อุปทานสูงสุด : 1 พันล้าน $NIL
อุปทานหมุนเวียนในปัจจุบัน : 195 ล้าน $NIL (19.52%)
อัตราเงินเฟ้อ : ประมาณ 1% ต่อปี (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
ระยะเวลาการปลดล็อกโทเคนทั้งหมด : 48 เดือน
การจัดสรรโทเคน
โทเคนของ NIL จะถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน อันประกอบไปด้วย ระบบนิเวศและการวิจัยพัฒนา 29%, นักลงทุนกลุ่มแรก 21%, ผู้มีส่วนร่วมหลัก 20%, คอมมูนิตี้ 20% และ การพัฒนาโปรโตคอล 10%

ทั้งนี้ Nillion ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ของเหรียญ AI และเป็นหนึ่งในโปรเจกต์จาก Binance Launchpool อย่างไรก็ตาม ราคาของเหรียญกลับปรับตัวลดลงกว่า 16% ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา อ้างอิงจากข้อมูลบน CoinMarketCap ซึ่งนักลงทุนควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ก่อนตัดสินใจเข้าลงทุน

ที่มา : Nillion