<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ราคา Solana ร่วงลงกว่า 11% หลังจากพบ Bug ที่ทำให้เครือข่ายล่มนานกว่า 4 ชั่วโมง

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ราคาของ SOL ลดลงกว่า 11% หลังจาก เครือข่าย Solana ล่มไปนานกว่า 4 ชั่วโมง อันเป็นผลมาจากพบ bug ที่เกิดขึ้นกับ blocked consensus   

ตามข้อมูลจาก Anatoly Yakovenko ผู้ร่วมก่อตั้ง Solana และนักพัฒนารายอื่นบน Twitter อ้างว่าปัญหานี้เกิดจากข้อบกพร่องของฟีเจอร์ nonce ของบล็อคเชน Yakovenko ได้ทวีตว่าปัญหานี้ “ทำให้ validator ของ Solana ไม่ได้ประมวลผลอย่างถูกต้อง”

” และผลลัพธ์ก็คือ “ไม่สามารถสร้างฉันทามติได้”

Validator ได้ทำงานร่วมกันเพื่อรีสตาร์ทเครือข่าย Solana โดยปิดใช้งานฟีเจอร์ nonce โดยทาง Yakovenko เสริมว่า จุดบกพร่องจะได้รับการแก้ไขในการอัปเดตอนาคต ซึ่งหน้าสถานะของ Solana ได้รายงานว่าเครือข่ายได้หยุดทำงานเป็นเวลา 4 ชั่วโมง 10 นาที ในขณะที่เขียนนี้ โหนด Solana RPC บางโหนดพึ่งกลับมาออนไลน์

ปัจจุบัน Solana เป็นเครือข่ายที่เรียกได้ว่าเป็นคู่แข่งของ Ethereum ซึ่งกลายเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมสำหรับของสะสม NFT และ dapps รวมถึงทางด้าน GameFi และ DeFi ด้วย

สกุลเงินดิจิทัล SOL ของเครือข่ายมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากในกลางปีที่แล้ว แต่ราคาได้ร่วงลงในหลายเดือนที่ผ่านมา ควบคู่ไปกับตลาด crypto ที่เป็นขาลงมาช่วงเวลาหนึ่ง ปัจจุบันราคา Solana ได้ร่วงลงราว ๆ 11% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยข้อมูลจาก CoinMarketCap แสดงให้เห็นว่า ราคาอยู่ในระดับ $40 ซึ่งลดลงถึง 84% จากระดับสูงสุดในเดือนพฤศจิกายนที่ $260 ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

Solana ประสบปัญหาเครือข่ายล่มนานที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึงสองครั้งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เมื่อเดือนกันยายนเมื่อปีที่แล้ว เครือข่ายได้หยุดทำงานเกือบ 18 ชั่วโมงหลังจากธุรกรรมที่ถูกส่งไปยังโปรโตคอล DeFi สำหรับการเปิดตัวโทเค็นใหม่ ซึ่งทาง Solana Labs ได้อธิบายว่าเป็นการโจมตีแบบ “การปฏิเสธการให้บริการ”  โดยมีจุดมุ่งหมายทำให้ระบบไม่สามารถให้บริการได้

และเมื่อเร็วๆ นี้ วันที่ 30 เมษายน เครือข่ายได้เกิดขัดข้องอีกครั้ง จากบอทที่ทำการ Mint เหรียญ NFT ซึ่งเป็นโปรแกรมอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อเปิดตัวโครงการ NFT ใหม่ ซึ่งทำให้เครือข่าย Solana เกิดความแออัดขึ้นเพราะการทำธุรกรรม 6 ล้านรายการต่อวินาที ต่อมาทาง Metaplex ผู้ผลิตโปรโตคอล NFT ของ Solana ได้ใช้บทลงโทษ “ภาษีบอท” เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวในอนาคต