นาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ออกแถลงภายหลังการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 4/2567 ถึงข้อสรุปโครงการ ว่ารายละเอียดที่ชี้แจงทำให้กระจ่างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประเภทสินค้าหลายๆ อย่าง โดยมอบหมายนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ผู้เป็นผู้แถลงข่าว
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 4/2567 มีมติเห็นชอบโครงสร้างแหล่งที่มาของเงิน ย้ำกรอบวงเงินที่ตัวเลข 4.5 แสนล้านบาท ถึงประชาชนยังเป็น 50 ล้านคน
ซึ่งมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ผู้มีสิทธิสามารถลงทะเบียนเงินดิจิทัล ผ่านแอป “ทางรัฐ” จะต้องอายุ 16 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2567
- เงินได้จะต้องไม่เกิน 840,000 บาท หรือมีเงินเดือนไม่เกิน 70,000 บาท ซึ่งเกณฑ์รายได้วัดจากฐานข้อมูลเงินได้ของกรมสรรพากร ปี 2566
- เงินฝากในบัญชีไม่เกิน 500,000 บาท โดยนับเฉพาะเงินฝากสกุลบาท รวมกันทุกบัญชี ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เช่น บัญชีเงินฝากประจำ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัตรเงินฝาก ใบรับเงินฝาก เงินฝากกระแสรายวัน ไม่นับรวมสลากออมทรัพย์สลากออมสิน หุ้น พันธบัตร โดยนับวันสิ้นสุด 31 มี.ค. 2567
- ช่องทางการรับเงิน และใช้จ่าย เงินดิจิทัล 10,000 บาท จะใช้แอปพลิเคชั่นทางรัฐ ซึ่งถ้าหากยังไม่เคยลงทะเบียนหรือใช้บริการก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่ App Store และ Google Play เตรียมพร้อมไว้ก่อนได้
ทั้งนี้ประชาชนที่ดาว์นโหลดแอป “ทางรัฐ” จำเป็นที่จะต้องผ่านขั้นตอนการยืนยันตัวตน “KYC” จึงจะสามารถเข้าใช้งานได้ ส่วนกำหนดการลงทะเบียนคาดว่าจะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม 2567 และเริ่มรับเงินเพื่อใช้จ่ายในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2567
สำหรับการใช้งานนั้นเงินจำนวน 10,000 บาทนั้นถูกโอนให้นำไปซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคและบริโภคได้เท่านั้น โดยมันจะไม่สามารถนำไปซื้อหรือใช้งานกับ สลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม บัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ เพชร พลอย อัญมณี น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ร้านทำผม ร้านนวด และ ร้านเสริมสวย ส่วนโทรศัพท์มือถือยังไม่มีการสรุปแน่ชัดว่าใช้ได้หรือไม่ ต้องรอข้อสรุปในภายภาคหน้า
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ