<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

‘ทรัมป์’ ปัดข่าวลือ ! ไม่เคยคิดไล่ ‘เจอโรม โพเวลล์’ ออกจากเฟด

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ยุติข่าวลือเกี่ยวกับการปลด เจอโรม โพเวลล์ จากตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งข่าวลือนี้เกิดขึ้นมาจากคำพูดของเขาในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ที่บอกว่าจะเข้าควบคุมธนาคารกลางสหรัฐฯ และบริหารเศรษฐกิจด้วยตัวเอง

แต่ล่าสุด ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ในรายการ Meet the Press ทางช่อง NBC ว่า “ปลดเขาเหรอ? ไม่ล่ะ ผมไม่คิดจะทำแบบนั้น” พร้อมเสริมว่า “ผมคิดว่าถ้าผมสั่ง เขาก็คงทำตาม แต่ถ้าผมแค่ขอร้อง เขาอาจจะไม่ทำ” คำพูดนี้แสดงให้เห็นว่า ทรัมป์รู้จักโพเวลล์ดี เพราะเขาเองเป็นคนแต่งตั้งพาวเวลล์เข้ามา และพาวเวลล์ก็ยืนยันชัดเจนว่าจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง

ไม่นานหลังทรัมป์ชนะเลือกตั้ง โพเวลล์ได้ย้ำถึงความเป็นอิสระของธนาคารกลาง โดยบอกผู้สื่อข่าวว่าเขาจะไม่ลาออกแม้จะถูกขอให้ทำ และประธานาธิบดีเองก็ไม่มีอำนาจปลดเขาหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารกลางได้

ทำไมธนาคารกลางสหรัฐฯ​ (Fed) ถึงควรเป็นอิสระจากการเมือง?

บทบาทของ Fed คือการบริหารจัดการเรื่องเงินเฟ้อและการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจโดยปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง ซึ่ง เจอโรม พาวเวลล์ เชื่อว่านี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการรักษาความน่าเชื่อถือจากนักลงทุนและประชาชน 

ด้วยเหตุนี้ พาวเวลล์กล่าวไว้เมื่อต้นปี 2024 ว่า “Fed ต้องคงความเป็นกลางทางการเมือง อย่างไม่ต้องสงสัย”

แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันซับซ้อนกว่านั้นมาก เพราะธนาคารกลางสหรัฐฯ มักดำเนินการอยู่ในบริบททางการเมือง เช่น การร่วมมือกับกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากนโยบายของรัฐบาล เช่น การลดภาษีหรือการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน

นักวิจารณ์มองว่า การมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้ทำให้ธนาคารกลางไม่สามารถคงความเป็นกลางทางการเมืองได้อย่างแท้จริง 

นักเศรษฐศาสตร์อย่าง ปีเตอร์ คอนติ-บราวน์ ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ด้านธนาคารกลางจาก Wharton School อธิบายว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็น “สถาบันที่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างลึกซึ้ง”เขาได้แยกแยะระหว่างคำว่า “เรื่องการเมือง” และ “การเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” ออกจากกัน โดยเน้นย้ำว่า การตัดสินใจของ Fed มักสะท้อนถึงความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ หลายฝ่าย แม้จะมีความท้าทายเหล่านี้อยู่ แต่ Fed ก็สามารถรักษาความเป็นอิสระทางการเมืองมาได้นานกว่าศตวรรษแล้ว 

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางทั่วโลกต่างใช้โมเดลนี้ในการตัดสินใจเรื่องที่ยากลำบาก เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ โดยไม่จำเป็นต้องเกรงกลัวอิทธิพลทางการเมืองที่จะเข้ามาแทรกแซง