<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Google เปิดตัวชิปควอนตัม ‘Willow’ แรงแซงซูเปอร์คอมฯ แล้ว Bitcoin จะรับมือยังไง?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Google เปิดตัวชิปควอนตัมรุ่นใหม่ ‘Willow’ ที่สามารถประมวลผลงานที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลาถึง 10 septillion ปี (10^25 ปี) ให้เสร็จภายใน 5 นาทีเท่านั้น ตามคำกล่าวของ Hartmut Neven ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าทีม Google Quantum AI

ชิป Willow มาพร้อมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่โดดเด่น เช่น ความสามารถในการแก้ไขข้อผิดพลาดเชิงควอนตัมและจำนวนคิวบิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับอนาคตของการประมวลผลควอนตัมแบบขยายตัวได้

หลังจากการเปิดตัว ชุมชนคริปโตหลายคนออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามที่ชิปนี้อาจเป็นส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของ Bitcoin โดยหลายคนเกรงว่า แฮ็กเกอร์อาจใช้พลังการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นทำลายการเข้ารหัสที่ปกป้องกระเป๋าเงินคริปโตและแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตต่างๆ

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ชี้ว่าแม้ชิปควอนตัม ‘Willow’ ของ Google จะทรงพลัง แต่ยังไม่สามารถเป็นภัยคุกคามต่อการเข้ารหัสของ Bitcoin ได้ เนื่องจากต้องใช้ความสามารถระดับหลายล้าน qubits ในขณะที่ Willow ปัจจุบันมีเพียง 105 qubits เท่านั้น พวกเขาคาดว่าเทคโนโลยีควอนตัมจะใช้เวลาอีกหลายทศวรรษก่อนที่จะพัฒนาถึงจุดที่สามารถเจาะระบบ Bitcoin ได้ มิหน้ำซ้ำเครือข่าย Bitcoin ยังคงปลอดภัยและไม่เคยถูกแฮ็กแม้แต่ครั้งเดียว

ในขณะเดียวกัน Vitalik Buterin ผู้ก่อตั้ง Ethereum ตั้งคำถามต่อ Google ว่า “จำนวนกึ่งเฉพาะที่ใหญ่ที่สุดที่ชิปควอนตัมอย่าง Willow สามารถแยกตัวประกอบได้คือเท่าใด?” คำถามนี้สำคัญเพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการแยกตัวประกอบของจำนวนกึ่งเฉพาะ ซึ่งเป็นหัวใจของการเข้ารหัส RSA ที่ใช้แพร่หลายในระบบความปลอดภัยดิจิทัล 

ประการแรก: การแยกตัวประกอบของ “จำนวนกึ่งเฉพาะ” (ตัวเลขที่ได้จากการคูณจำนวนเฉพาะสองตัว เช่น 15 = 3 x 5) เป็นพื้นฐานสำคัญของระบบความปลอดภัย RSA ที่เราใช้ในการเข้ารหัสข้อมูล เช่น ในการสื่อสารออนไลน์หรือการทำธุรกรรมที่ต้องการความปลอดภัย หากควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถแยกตัวประกอบจำนวนขนาดใหญ่นี้ได้เร็วพอ ระบบเข้ารหัส RSA จะถูกทำลายทันที เพราะมันพึ่งพาการที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปต้องใช้เวลามากในการคำนวณแบบนี้

ประการที่สอง: จำนวนกึ่งเฉพาะที่ใหญ่ที่สุดที่ชิปควอนตัม เช่น Willow ของ Google สามารถแยกตัวประกอบได้ แสดงถึงศักยภาพของเทคโนโลยีควอนตัมในการเจาะระบบ RSA หากควอนตัมคอมพิวเตอร์พัฒนาให้รองรับการคำนวณที่ใหญ่ขึ้น โอกาสในการทำลายระบบเข้ารหัสก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การพัฒนา “เทคโนโลยีต่อต้านควอนตัม” (Post-Quantum Cryptography) จะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันภัยคุกคามเหล่านี้ในอนาคต

สุดท้ายนี้ แม้ว่าเทคโนโลยีควอนตัมจะสามารถแฮ็ก Bitcoin ได้ในอนาคต แต่มันยังจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการพัฒนา ทำให้ภัยคุกคามนี้ยังไม่น่ากังวลมากนักในปัจจุบัน เพราะหากมันทรงพลังพอที่จะเจาะเครือข่าย Bitcoin ได้ ระบบความปลอดภัยอื่นๆ ทั่วโลกก็จะเผชิญภัยคุกคามในรูปแบบเดียวกัน 

ที่มา : Decrypt