ethereum คืออะไร

ก่อนที่คุณจะลองทำความเข้าใจ Ethereum นั้น ลองทำความเข้าใจอินเทอร์เนตก่อน

วันนี้ ข้อมูลส่วนตัวของเราไม่ว่าจะเป็นรหัสผ่านไปจนถึงข้อมูลทางด้านการเงินต่างก็ถูกเก็บเอาไว้ในคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลของคนอื่นในระบบคลาวด์ โดยคนเหล่านี้ก็คือ Facebook, Google หรือ Amazon หรือแม้แต่เว็บสยามบล็อกเชนนี้ที่ถูกเก็บข้อมูลอยู่บนเซอเวอร์ที่มีผู้ให้บริการอยู่เป็นเจ้าของ

การใช้งานเหล่านี้มีข้อดีมากมาย แต่มันก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน โดยที่เราเคยได้ยินกันมานั้น นักแฮคเกอร์หรือรัฐบาลสามารถที่จะเจาะระบบฐานข้อมูลเข้ามาในคอมพิวเตอร์หรือไฟล์ของคุณได้โดยที่คุณอาจจะไม่รู้ตัว โดยใช้วิธีการโจมตีเจ้าของฐานข้อมูลบุคคลที่สามที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั้น โดยนั่นหมายความว่าพวกนักแฮคเกอร์หรือรัฐบาลนั้นสามารถที่จะขโมย, ทำซ้ำ ลบ หรือดัดแปลงข้อมูลสำคัญของคุณได้

นาย Brian Behlendorf ผู้สร้าง Apache Web Server (ระบบฐานข้อมูลที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลกตอนนี้) ออกมากล่าวประนามระบบศูนย์กลาง (centralize) ว่าเป็น “ตราบาป” แห่งอินเทอร์เนต พร้อมกับบอกว่าอินเทอร์เน็ตนั้นมันควรที่จะตั้งอยู่บนระบบกระจาย (decentralize) โดยหลังจากนั้นก็มีการเคลื่อนไหวทั้งทางสัญลักษณ์และการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้

โดย Ethereum นั้นก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีล่าสุดที่มาเข้าร่วมการเคลื่อนไหวนี้ด้วย

โดยในขณะที่บิทคอยน์นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำจัดตัวกลางอย่างธนาคารและ PayPal นั้น Ethereum ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนมาแทนที่บุคคลที่สามบนอินเทอร์เนต โดยบุคคลที่ว่านี้คือผู้ที่ตั้งตนเป็นผู้เก็บข้อมูลสำคัญๆเหล่านั้นที่พูดถึงไปแล้วข้างต้นนั่นเอง

เครื่องคอมพิวเตอร์ของโลกใบนี้

หากจะให้อธิบายแบบสั้นๆง่ายๆนั้น Ethereum ก็คือคอมพิวเตอร์ของโลกใบนี้ที่สามารถที่จะทำให้ทุกอย่างกระจาย (decentralize) และอาจถึงขั้นทำให้ระบบโมเดลของเซอเวอร์มาตรฐานต้องเปลี่ยนโฉมไปตลาดกาล

ด้วย Ethereum นั้น ระบบเซอเวอร์และ cloud จะถูกแทนที่ด้วยระบบที่เรียกว่า node นับพัน โดย node เหล่านี้จะถูกติดตั้งและเปิดให้ทำงานด้วยอาสาสมัครจากทั่วโลก (จนกระทั่งกลายเป็นคอมพิวเตอร์ของโลกใบนี้)

วิสัยทัศน์นี้ได้แสดงให้เห็นว่า Ethereum สามารถที่จะทำให้ผู้คนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นใครที่ไหนบนโลกนี้ ต่างก็สามารถที่จะสร้างบริการและระบบดีๆผ่าน Ethereum ได้

ยกตัวอย่างเช่นถ้าหากคุณลองเข้าไปใน App store คุณจะได้เห็นแอพหลายๆประเภท หลายๆหมวดหมู่ที่มีไปตั้งแต่แอพสำหรับฟิตเนสไปจนกระทั่งแอพสำหรับส่งข้อความ โดยแอพเหล่านี้ยังต้องพึ่งพาบริษัท (หรือผู้ให้บริการบุคคที่สามอื่นๆ) เพื่อเก็บข้อมูลสำคัญของคุณอย่างเช่นหมายเลขบัตรเครดิต, ประวัติการซื้อ และข้อมูลส่วนตัวไว้บนเซอเวอร์ของบริษัทเหล่านั้น และถูกควบคุมโดยพวกเขา

ตัวเลือกของแอพที่มีให้ดาวน์โหลดต่างๆก็ถูกควบคุมโดยพวกเขาเช่นกัน อย่างเช่น Apple และ Google เป็นต้น

ลองนึกถึงตัวอย่างง่ายๆอย่างเช่นผู้ให้บริการระบบเอกสารออนไลน์อย่าง Evernote หรือ Google Docs

ถ้าหากมี Ethereum นั้น มันสามารถที่จะคืนความเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะทั้งข้อมูลและการควบคุมไปสู่เจ้าของที่แท้จริงได้

ไอเดียที่ว่านี้ถ้าหากพูดง่ายก็คือ พวกเขาจะไม่สามารถควบคุมระบบ เอกสารของคุณ โดยคุณไม่ต้องกังวลว่าแอพเอกสารที่คุณใช้อยู่จะถูกแบนเมื่อไร หรือจะถูกปิดตัวลงตอนไหน โดยมีเพียงแค่คุณหรือผู้ใช้งานที่เป็นผู้ควบคุมทุกอย่างได้เอง

ในทางทฤษฎีแล้ว มันเป็นการผสมผสานกันระหว่างการควบคุมข้อมูลแบบเก่าในอดีตกับระบบข้อมูลแบบง่ายที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน โดยทุกครั้งที่คุณทำการบันทึก, เพิ่ม หรือลบข้อมูลนั้น ทุกๆ node บนเครือข่ายจะทำการอัพเดตหมด

ไอเดียที่ว่านี้ต่างก็มีผู้คนให้ความสงสัยไม่น้อยว่ามันจะสามารถทำได้จริงหรือไม่

ถึงแม้ว่าแอพบนรูปภาพข้างบนจะดูเหมือนว่าน่าจะทำให้เป็นไปได้ แต่มันก็อาจจะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าแอพของบล็อกเชนตัวไหนที่สามารถที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่ามันสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง