<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

อิหร่านตอบโต้ SWIFT หลังจากถูกยกเลิกบริการโอนเงินระหว่างประเทศ สร้างเหรียญ Cryptocurrency ของตนเอง

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

หลังจากที่ประเทศอิหร่านถูก SWIFT ประกาศยกเลิกให้บริการ พวกเขาก็วางแผนที่จะสร้าง Cryptocurrency ของประเทศเพื่อต่อกรกับการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ

รายงานจาก Ethereumworldnews เผยว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา SWIFT เครือข่ายการชำระเงินระดับโลก ได้ประกาศว่าจะหยุดให้บริการทางการเงินกับประเทศอิหร่านแล้ว เนื่องจากบริษัทถูกบังคับและกดดันจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ

ก่อนหน้านี้นาย Mike Pompeo เลขาธิการของสหรัฐฯ ขู่ว่าหากผู้ให้บริการคนใดไม่ยอมทำตามกฎของการคว่ำบาตร พวกเขาจะเจอโทษสถานหนัก

หลังจากที่ไม่สามารถใช้บริการ SWIFT ได้ ชาวอิหร่านพบกับความยากลำบาในการส่งเงินออกหรือเข้าประเทศ ทำให้พวกเขาตัดสินใจที่จะสร้างคริปโตของประเทศขึ้นมา เช่นเดียวกับประเทศเวเนซุเอลา ที่สร้างคริปโตของพวกเขาเองขึ้นมาก่อนหน้านี้

รายงานได้เผยว่าบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศอิหร่านนามว่า Informatics Services Corporatin (ISC) ได้ทำการพัฒนาและออกแบบเหรียญคริปโตของประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถึงแม้ว่ามันจะอยู่ในช่วงทดลองเท่านั้น แต่คริปโตดังกล่าวนี้จะถูกค้ำโดยเงินเรียลอิหร่าน ซึ่งโปรเจกต์ดังกล่าวกำลังรอการอนุมัติจากธนาคารกลาง

CEO ของ ISC บริษัทผู้อยู่เบื้องหลังโทเคนใหม่นี้ ได้ออกมายืนยันด้วยเช่นกันว่า ธนาคารกลางของอิหร่านจะสร้าง Cryptocurrency ของพวกเขาเอง ซึ่งโทเคนใหม่นี้ถูกออกแบบมาให้ใช้ในการชำระเงิน และการทำธุรกรรมของธนาคารเป็นหลัก

ความขัดแย้ง

ก่อนหน้านี้อิหร่านได้มีท่าทีต่อต้านคริปโต เนื่องจาก พวกเขาได้ออกกฏมาทำให้ประชาชนในประเทศเข้าถึงเว็บเทรดคริปโตได้ยากลำบาก

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้พวกเขามีแผนที่จะพัฒนาเงินดิจิทัลของประเทศอยู่แล้ว เช่นเดียวกับรัสเซียและเวเนซุเอลา เพื่อที่จะหลบเลี่ยงและลดผลกระทบของการคว่ำบาตรสหรัฐฯ

การที่อิหร่านสร้างคริปโตของพวกเขาขึ้นมาเองจะทำให้ลดผลกระทบต่าง ๆ ของการคว่ำบาตรได้ แต่ในทางกลับกัน มีหลาย ๆ คนเชื่อว่าคริปโตที่ออกมาใหม่นี้ถูกควบคุมโดยรัฐบาล ทำให้หมดความเป็นคริปโตที่มีจุดเด่นที่การ Decentralized ไป รวมทั้งยังขาดความเป็นส่วนตัวอีกด้วย เนื่องจากหากถูกควบคุมโดยรัฐบาลจริง พวกเขาจะสามารถตรวจสอบผ่าน Blockchain ได้ง่ายยิ่งกว่าเดิมอีกด้วย หากคริปโตของอิหร่านถูกสร้างขึ้นมาจริง ต้องติดตามว่าผู้ใช้งานในประเทศจะยอมหันมาใช้หรือไม่ อย่างไร

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น